การแก้ปัญหาการแตกของผลลองกองในภาคใต้ / มงคล แซ่หลิม, สายัญห์ สดุดี, สุภาณี ยงค์

By: มงคล แซ่หลิมContributor(s): สายัณห์ สดุดี | สุภาณี ยงค์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ลองกอง -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2542) หน้า 301 - 308Summary: การแก้ปัญหาผลแตกของลองกองในภาคใต้ เริ่มทำการทดลองที่ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ อำเภอหาดใหญ่ และที่สวนเกษตรกร อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ในระหว่างเดือนมีนาคม 2538 ถึงเดือนตุลาคม 2539 โดยศึกษาสภาพแวดล้อมในช่วงการเจริญเติบโตของผลที่ระยะ 9-11สัปดาห์หลังการติดผล ซึ่งเป็นระยะที่ผลมีการเปลี่ยนสีผิวผล จำนวน 7ต้น โดยการวัดความชื้นในดินระดับ 30และ60 ซม. เปรียบเทียบกับความชื้นในบรรยากาศ (ปริมาณน้ำฝน) และคลุมโคนต้น (มีต่อ)Summary: เพื่อสร้างสภาพแห้งและสังเกตผลกระทบของสภาพแห้งที่มีต่อการร่วงและการเจริญเติบโตของผล และการศึกษาผลของความชื้นในดินที่ระดับความลึก 30ซม. จากผิวดิน ให้มีค่าศักย์ของน้ำในดิน 3ระดับ คือ ต่ำ (-1.7 MPa) ปานกลาง (-0.6 MPa) และความชื้นสูง (-0.03 MPa) มีการฉีดพ่น CaCl2 4%, CaEDTA 0.2%, GA3 20 และ 30ppm ที่ช่อผลลองกองเมื่อผลอายุ 4และ9สัปดาห์ จากการทดลองพบว่า สภาพแห้งแล้งมีค่าศักย์ของน้ำในดินเท่ากับ -1.7 MPa มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการร่วงของผลลองกอง (มีต่อ)Summary: และทำให้เกิดอาการผลแตกเฉลี่ย 17.75% ผลของสภาพความชื้นในดินและสารเคมีต่อการแตกของผล พบว่าที่สภาพความชื้นในดินต่ำ (สภาพแห้ง) มีเปอร์เซ็นต์ผลแตกเฉลี่ย 9.24% ซึ่งมีค่าสูงกว่าในสภาพดินชื้นปานกลาง (7.32%) และสภาพความชื้นในดินสูง (5.61%) การใช้สาร CaCl2 อัตรา 4% กับช่อผลลองกองอายุ 4สัปดาห์ และ GA3 อัตรา 30ppm กับช่อผลลองกองอายุ 4 และ9สัปดาห์ พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ผลแตกเฉลี่ย 5.66, 6.22 และ5.19% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าทรีตเมนต์ควบคุม ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ผลแตกสูงเฉลี่ย 9.40% นอกจากนี้การฉีดพ่นด้วยสารประกอบแคลเซียม มีแนวโน้มที่จะเพิ่มคุณภาพผลในบางลักษณะ แม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การแก้ปัญหาผลแตกของลองกองในภาคใต้ เริ่มทำการทดลองที่ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ อำเภอหาดใหญ่ และที่สวนเกษตรกร อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ในระหว่างเดือนมีนาคม 2538 ถึงเดือนตุลาคม 2539 โดยศึกษาสภาพแวดล้อมในช่วงการเจริญเติบโตของผลที่ระยะ 9-11สัปดาห์หลังการติดผล ซึ่งเป็นระยะที่ผลมีการเปลี่ยนสีผิวผล จำนวน 7ต้น โดยการวัดความชื้นในดินระดับ 30และ60 ซม. เปรียบเทียบกับความชื้นในบรรยากาศ (ปริมาณน้ำฝน) และคลุมโคนต้น (มีต่อ)

เพื่อสร้างสภาพแห้งและสังเกตผลกระทบของสภาพแห้งที่มีต่อการร่วงและการเจริญเติบโตของผล และการศึกษาผลของความชื้นในดินที่ระดับความลึก 30ซม. จากผิวดิน ให้มีค่าศักย์ของน้ำในดิน 3ระดับ คือ ต่ำ (-1.7 MPa) ปานกลาง (-0.6 MPa) และความชื้นสูง (-0.03 MPa) มีการฉีดพ่น CaCl2 4%, CaEDTA 0.2%, GA3 20 และ 30ppm ที่ช่อผลลองกองเมื่อผลอายุ 4และ9สัปดาห์ จากการทดลองพบว่า สภาพแห้งแล้งมีค่าศักย์ของน้ำในดินเท่ากับ -1.7 MPa มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการร่วงของผลลองกอง (มีต่อ)

และทำให้เกิดอาการผลแตกเฉลี่ย 17.75% ผลของสภาพความชื้นในดินและสารเคมีต่อการแตกของผล พบว่าที่สภาพความชื้นในดินต่ำ (สภาพแห้ง) มีเปอร์เซ็นต์ผลแตกเฉลี่ย 9.24% ซึ่งมีค่าสูงกว่าในสภาพดินชื้นปานกลาง (7.32%) และสภาพความชื้นในดินสูง (5.61%) การใช้สาร CaCl2 อัตรา 4% กับช่อผลลองกองอายุ 4สัปดาห์ และ GA3 อัตรา 30ppm กับช่อผลลองกองอายุ 4 และ9สัปดาห์ พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ผลแตกเฉลี่ย 5.66, 6.22 และ5.19% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าทรีตเมนต์ควบคุม ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ผลแตกสูงเฉลี่ย 9.40% นอกจากนี้การฉีดพ่นด้วยสารประกอบแคลเซียม มีแนวโน้มที่จะเพิ่มคุณภาพผลในบางลักษณะ แม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างทางสถิติ