นโยบายโครงการสาธารณูปโภค (ว่าที่) ผู้ว่ากรุงเทพมหานครคนใหม่

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | กรุงเทพมหานคร -- การเลือกตั้ง | กรุงเทพหมานคร -- ผู้ว่าราชการจังหวัด In: ข่าวช่าง ปีที่ 28 ฉบับที่ 338 (กรกฎาคม 2543) หน้า 39 - 42Summary: นโยบายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในส่วนการพัฒนางานด้านการก่อสร้างของกรุงเทพฯ ที่คาดว่าจะได้รับการเลือกตั้งคือ 1.สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยรักไทย "คิดใหม่ ทำใหม่กับกรุงเทพมหานคร" ได้กำหนดนโยบายการบริหารกรุงเทพมหานครไว้ 3ประการ ในการหาเสียงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คือ 1.แก้ปัญหาคุณภาพชีวิต 2.แก้ปัญหาเศรษฐกิจ 3.เตรียมกรุงเทพให้พร้อมที่จะแข่งขันกับมหานครอื่นๆ ของโลกในอนาคต (มีต่อ)Summary: 2.ปวีณา หงสกุล พรรคชาติพัฒนา "ปวีณา 24ชั่วโมง พัฒนาคน พัฒนาเมือง" ได้กำหนดกรอบนโยบายในการหาเสียงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไว้ โดยเน้นหนักในนโยบายการพัฒนากรุงเทพมหานคร ว่าจะต้องเป็นเมืองที่มีองค์ประกอบ 3ประการคือ 1.ความเป็นเมืองแห่งคุณภาพชีวิต 2.ความเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจดี 3.ความเป็นเมืองของเรา ประเด็นหลักที่ปวีณาใช้สำหรับโชว์ในการหาเสียงนั้น ส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการพัฒนาคนเป็นหลัก (มีต่อ)Summary: 3.ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช "อิสระทางความคิด ไม่ยึดติดผลประโยชน์" เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ราชการกรุงเทพมหานคร ผู้สมัครอิสระ ได้กำหนดกรอบนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงในการรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคือ "4พัฒนา" และการ "ร่วมคิด ร่วมทำ" ระหว่างประชาคมกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามกรอบนโยบาย 4พัฒนาไว้ 9แนวทางคือ 1.แนวทางการศึกษา 2.แนวทางด้านสาธารณสุข 3.แนวทางด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มีต่อ)Summary: 4.แนวทางด้านสิ่งแวดล้อม 5.แนวทางการกระจายอำนาจ 6.แนวทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 7.แนวทางการจัดการเงินการคลัง 8.แนวทางการพัฒนาประชาคมเมือง และ 9.แนวทางการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ซึ่งนโยบายของ ดร.คุณหญิงกัลยา ในด้านงานก่อสร้างโครงการใหม่ นโยบายที่เด่นชัดคือ จัดสร้างโรงพยาบาลเพิ่มเพื่อรองรับประชากรได้ทุกพื้นที่เขต และงานก่อสร้างอาคารสนับสนุนสถานพยาบาลต่อเนื่องจากแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่5 (2540-2544) (มีต่อ)Summary: 4.ธวัชชัย สัจจกุล "คุณภาพเมือง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต" สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้กำหนดนโยบายในการหาเสียงในครั้งนี้คือ ให้กรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่แบบ 5ส. และพัฒนาเมืองยั่งยืนแบบ 5พ. ธวัชชัยผู้มีประสบการณ์ด้านวิศวกรรมและการบริหารเชิงธุรกิจ ดังนั้นประเด็นหาเสียงที่เด่นชัดคือ การทำให้กรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองสะดวก เดินทางคล่องตัวด้วยระบบขนส่งมวลชนที่ได้รับการเชื่อมต่อชานเมือง (มีต่อ)Summary: 5.สมัคร สุนทรเวช พรรคประชากรไทย "ถ้าจะใช้ผม...กรุณาเลือกผม" เป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทยผู้สมัครรับเลือกตั้งตัวเต็งที่คาดว่าจะได้รับเลือกตั้ง ได้กำหนดกรอบนโยบายในการหาเสียงครั้งนี้ จะเน้นให้เห็นถึงปัญหาของกรุงเทพฯ ที่จะต้องมีการกำหนดพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน โดยเฉพาะการพัฒนาวงแหวนออกทางด้านทะแยงทั้ง 3ทิศ เป็นลักษณะใยแมงมุม ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่างหยิบยกโครงการพัฒนาที่หลากหลาย ทั้งโครงการขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ แต่ทั้งหมดนี้ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ โดยงบประมาณของกรุงเทพมหานครนั้นได้มา 2ทางคือ งบประมาณจากรัฐบาลและงบประมาณของกรุงเทพมหานครเอง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

นโยบายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในส่วนการพัฒนางานด้านการก่อสร้างของกรุงเทพฯ ที่คาดว่าจะได้รับการเลือกตั้งคือ 1.สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยรักไทย "คิดใหม่ ทำใหม่กับกรุงเทพมหานคร" ได้กำหนดนโยบายการบริหารกรุงเทพมหานครไว้ 3ประการ ในการหาเสียงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คือ 1.แก้ปัญหาคุณภาพชีวิต 2.แก้ปัญหาเศรษฐกิจ 3.เตรียมกรุงเทพให้พร้อมที่จะแข่งขันกับมหานครอื่นๆ ของโลกในอนาคต (มีต่อ)

2.ปวีณา หงสกุล พรรคชาติพัฒนา "ปวีณา 24ชั่วโมง พัฒนาคน พัฒนาเมือง" ได้กำหนดกรอบนโยบายในการหาเสียงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไว้ โดยเน้นหนักในนโยบายการพัฒนากรุงเทพมหานคร ว่าจะต้องเป็นเมืองที่มีองค์ประกอบ 3ประการคือ 1.ความเป็นเมืองแห่งคุณภาพชีวิต 2.ความเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจดี 3.ความเป็นเมืองของเรา ประเด็นหลักที่ปวีณาใช้สำหรับโชว์ในการหาเสียงนั้น ส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการพัฒนาคนเป็นหลัก (มีต่อ)

3.ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช "อิสระทางความคิด ไม่ยึดติดผลประโยชน์" เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ราชการกรุงเทพมหานคร ผู้สมัครอิสระ ได้กำหนดกรอบนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงในการรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคือ "4พัฒนา" และการ "ร่วมคิด ร่วมทำ" ระหว่างประชาคมกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามกรอบนโยบาย 4พัฒนาไว้ 9แนวทางคือ 1.แนวทางการศึกษา 2.แนวทางด้านสาธารณสุข 3.แนวทางด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มีต่อ)

4.แนวทางด้านสิ่งแวดล้อม 5.แนวทางการกระจายอำนาจ 6.แนวทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 7.แนวทางการจัดการเงินการคลัง 8.แนวทางการพัฒนาประชาคมเมือง และ 9.แนวทางการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ซึ่งนโยบายของ ดร.คุณหญิงกัลยา ในด้านงานก่อสร้างโครงการใหม่ นโยบายที่เด่นชัดคือ จัดสร้างโรงพยาบาลเพิ่มเพื่อรองรับประชากรได้ทุกพื้นที่เขต และงานก่อสร้างอาคารสนับสนุนสถานพยาบาลต่อเนื่องจากแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่5 (2540-2544) (มีต่อ)

4.ธวัชชัย สัจจกุล "คุณภาพเมือง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต" สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้กำหนดนโยบายในการหาเสียงในครั้งนี้คือ ให้กรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่แบบ 5ส. และพัฒนาเมืองยั่งยืนแบบ 5พ. ธวัชชัยผู้มีประสบการณ์ด้านวิศวกรรมและการบริหารเชิงธุรกิจ ดังนั้นประเด็นหาเสียงที่เด่นชัดคือ การทำให้กรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองสะดวก เดินทางคล่องตัวด้วยระบบขนส่งมวลชนที่ได้รับการเชื่อมต่อชานเมือง (มีต่อ)

5.สมัคร สุนทรเวช พรรคประชากรไทย "ถ้าจะใช้ผม...กรุณาเลือกผม" เป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทยผู้สมัครรับเลือกตั้งตัวเต็งที่คาดว่าจะได้รับเลือกตั้ง ได้กำหนดกรอบนโยบายในการหาเสียงครั้งนี้ จะเน้นให้เห็นถึงปัญหาของกรุงเทพฯ ที่จะต้องมีการกำหนดพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน โดยเฉพาะการพัฒนาวงแหวนออกทางด้านทะแยงทั้ง 3ทิศ เป็นลักษณะใยแมงมุม ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่างหยิบยกโครงการพัฒนาที่หลากหลาย ทั้งโครงการขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ แต่ทั้งหมดนี้ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ โดยงบประมาณของกรุงเทพมหานครนั้นได้มา 2ทางคือ งบประมาณจากรัฐบาลและงบประมาณของกรุงเทพมหานครเอง