อุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันไทย 2ทศวรรษแห่งการไร้ข้อบังคับ / ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์

By: ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | อุตสาหกรรมน้ำมัน -- ไทย In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2543) หน้า 10 - 11Summary: การสำรวจและผลิตน้ำมันที่ลานกระบือ กำแพงเพชร ผ่านมา 20ปี โดยตลอดเวลาเหล่านั้นเติบโตอย่างอิสระและเป็นไทแก่ตนเองอย่างยิ่ง เนื่องด้วยกรมทรัพยากรธรณีไม่เคยออกข้อบังคับการขุดเจาะน้ำมันของรัฐไทยมาควบคุม เมื่อมีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจึงแก้ปัญหาด้วยการเทียบเคียงกับข้อบังคับของต่างชาติซึ่งก็อิงกับ (มีต่อ)Summary: การเลือกใช้ข้อบังคับของบริษัทน้ำมันนั้นๆ การเรียกร้องให้บริษัทไทยเชลล์ เอ็กซพลอเรชั่น แอนโปรดักชั่น จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันเขต อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร และอีก 4จังหวัดใกล้เคียงจำนวน 79บ่อ รับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2536 หรือ 11ปี นับจากเริ่มการผลิตในประเด็นที่ว่า (มีต่อ)Summary: น้ำเกลือและโคลนจากการผลิตปนเปื้อนน้ำบาดาล ในครั้งนั้นไทยเชลล์ฯ ยอมรับผิดโดยบอกว่าในช่วงแรกที่เริ่มผลิต บริษัทฯ ได้ขุดสระใหญ่ไว้ตามฐานขุดเจาะเพื่อทิ้งเศษหินเศษโคลนจากกระบวนการผลิตและเกิดฝนชะอีกทั้งในช่วง 2-3ปีแรก ยังไม่ได้สร้าง (มีต่อ)Summary: อุปกรณ์บำบัดจึงทิ้งน้ำที่ขึ้นมากับน้ำมันลงสู่ใต้ดินที่มีระดับน้ำใต้ดินเพียง 16เมตร ล่าสุดเมื่อเกิดการร้องเรียนขึ้นอีกครั้งเมื่อสิงหาคม 2543 นายลือชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมภายนอกบริษัทไทยเชลล์ฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้สูบน้ำเค็มขึ้นมาวันละ 2,500ลูกบาศก์เมตร รวม 750,000ลูกบาศก์เมตร (มีต่อ)Summary: โดยไม่ผ่านการบำบัด แต่มีกระบวนการนำน้ำที่แยกจากน้ำมันไปสู่บ่อพักน้ำที่มีน้ำจากแหล่งน้ำทิ้งอื่นๆ แล้วนำไปแยกน้ำมันขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตามในข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมของรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้มีการ (มีต่อ)Summary: บำบัดน้ำโคลนและของเสียที่ใช้ในหลุมขุดเจาะเพื่อหล่อลื่นระบายความร้อนหัวเจาะหรือของเสีย โดยหลุมที่ใช้สำหรับทิ้งของเสียต้องมีการกรุหลุมเพื่อกันการปนเปื้อนลงดิน แต่เหตุใดประเทศไทยจึงทำตัว (มีต่อ)Summary: เสมือนเจ้าบ้าน ใจกว้างยอมรับกฎของผู้อาศัยเป็นคำถามที่สำคัญที่นำไปสู่การเข้าถึงความจริงที่ลานกระบือ กำแพงเพชร ยิ่งขึ้น การบอกว่าอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันยังเยาว์เป็นได้เพียงข้ออ้างเท่านั้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การสำรวจและผลิตน้ำมันที่ลานกระบือ กำแพงเพชร ผ่านมา 20ปี โดยตลอดเวลาเหล่านั้นเติบโตอย่างอิสระและเป็นไทแก่ตนเองอย่างยิ่ง เนื่องด้วยกรมทรัพยากรธรณีไม่เคยออกข้อบังคับการขุดเจาะน้ำมันของรัฐไทยมาควบคุม เมื่อมีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจึงแก้ปัญหาด้วยการเทียบเคียงกับข้อบังคับของต่างชาติซึ่งก็อิงกับ (มีต่อ)

การเลือกใช้ข้อบังคับของบริษัทน้ำมันนั้นๆ การเรียกร้องให้บริษัทไทยเชลล์ เอ็กซพลอเรชั่น แอนโปรดักชั่น จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันเขต อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร และอีก 4จังหวัดใกล้เคียงจำนวน 79บ่อ รับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2536 หรือ 11ปี นับจากเริ่มการผลิตในประเด็นที่ว่า (มีต่อ)

น้ำเกลือและโคลนจากการผลิตปนเปื้อนน้ำบาดาล ในครั้งนั้นไทยเชลล์ฯ ยอมรับผิดโดยบอกว่าในช่วงแรกที่เริ่มผลิต บริษัทฯ ได้ขุดสระใหญ่ไว้ตามฐานขุดเจาะเพื่อทิ้งเศษหินเศษโคลนจากกระบวนการผลิตและเกิดฝนชะอีกทั้งในช่วง 2-3ปีแรก ยังไม่ได้สร้าง (มีต่อ)

อุปกรณ์บำบัดจึงทิ้งน้ำที่ขึ้นมากับน้ำมันลงสู่ใต้ดินที่มีระดับน้ำใต้ดินเพียง 16เมตร ล่าสุดเมื่อเกิดการร้องเรียนขึ้นอีกครั้งเมื่อสิงหาคม 2543 นายลือชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมภายนอกบริษัทไทยเชลล์ฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้สูบน้ำเค็มขึ้นมาวันละ 2,500ลูกบาศก์เมตร รวม 750,000ลูกบาศก์เมตร (มีต่อ)

โดยไม่ผ่านการบำบัด แต่มีกระบวนการนำน้ำที่แยกจากน้ำมันไปสู่บ่อพักน้ำที่มีน้ำจากแหล่งน้ำทิ้งอื่นๆ แล้วนำไปแยกน้ำมันขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตามในข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมของรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้มีการ (มีต่อ)

บำบัดน้ำโคลนและของเสียที่ใช้ในหลุมขุดเจาะเพื่อหล่อลื่นระบายความร้อนหัวเจาะหรือของเสีย โดยหลุมที่ใช้สำหรับทิ้งของเสียต้องมีการกรุหลุมเพื่อกันการปนเปื้อนลงดิน แต่เหตุใดประเทศไทยจึงทำตัว (มีต่อ)

เสมือนเจ้าบ้าน ใจกว้างยอมรับกฎของผู้อาศัยเป็นคำถามที่สำคัญที่นำไปสู่การเข้าถึงความจริงที่ลานกระบือ กำแพงเพชร ยิ่งขึ้น การบอกว่าอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันยังเยาว์เป็นได้เพียงข้ออ้างเท่านั้น