โครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและพืชป่ามิติใหม่แห่งความร่วมมือ...จากเมืองไทยไปทั่วโลก / ยงยุทธ ขำคง, ธิติวุฒิ คชสารศีล

By: ยงยุทธ ขำคงContributor(s): ธิติวุฒิ คชสารศีลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การอนุรักษ์สัตว์ป่า In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2543) หน้า 46 - 47Summary: "การค้าสัตว์ป่าในเมืองไทยมีให้เห็นน้อยลง คงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้เอาจริงเอาจังมากขึ้น และจำนวนสัตว์ป่าหายากก็หายากมากขึ้นจริงๆ แต่ในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างชายแดนพม่า การค้าสัตว์ป่ายังมีอยู่อย่างโจ๋งครึ่ม ทั้งริมถนน ในตลาดหรือแม้แต่ตามบ้านเรือน" จุดเริ่มต้นของโครงการ (มีต่อ)Summary: ใหญ่ที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Wildlife Trade Campaign Project หรือโครงการรณรงค์ต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์ต่อเนื่อง 3ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2543 ถึงเดือนกรกฎาคม 2546 ดำเนินโครงการโดยกองทุนสัตว์ป่าโลกสำนักงานประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานโครงการความร่วมมือ (มีต่อ)Summary: ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งเดนมาร์ก หรือที่รู้จักในแวดวงอนุรักษ์ว่า DANCED การรวมตัวกันเมื่อวันที่ 15กันยายน 2543 นับเป็นการรวมตัวครั้งประวัติศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะได้ร่วมมือกันอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสรรพชีวิตที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพราะคนเหล่านี้มี (มีต่อ)Summary: ความเกี่ยวพันกับธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวอยู่กับพืชป่าและสัตว์ป่าไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การดำเนินงานโครงการรณรงค์ต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและพืชจึงต้องมีกลยุทธ์ในการทำงาน 4ประการคือ 1.สร้างกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และระบบสำรวจตรวจสอบสภาพการค้าสัตว์ป่าและพืช 2.สร้างโปรแกรมการฝึกอบรมและทำการฝึกอบรม (มีต่อ)Summary: ให้แก่หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานรัฐบาลและผู้ร่วมดำเนินโครงการเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 3.สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า เพื่อให้ยุติการกระทำที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า 4.รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศเอเชียตะวันออกและกลุ่มนักท่องเที่ยวนอร์ดิก (มีต่อ)Summary: ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า ตลอดจนข้อมูลอนุรักษ์และสถานการณ์การคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง โครงการนี้นับว่าเป็นโครงการที่เกิดมาในสถานการณ์ที่สอดคล้องกับการรณรงค์ของกลุ่มอนุรักษ์ระดับ (มีต่อ)Summary: นานาชาติ ที่กำลังจะมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องการค้าสัตว์ป่าที่หายากและที่ใกล้สูญพันธุ์ขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจะเป็นการตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นครั้งที่สองของโลก เป็นเรื่องที่น่าติดตามสำหรับผู้มีจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

"การค้าสัตว์ป่าในเมืองไทยมีให้เห็นน้อยลง คงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้เอาจริงเอาจังมากขึ้น และจำนวนสัตว์ป่าหายากก็หายากมากขึ้นจริงๆ แต่ในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างชายแดนพม่า การค้าสัตว์ป่ายังมีอยู่อย่างโจ๋งครึ่ม ทั้งริมถนน ในตลาดหรือแม้แต่ตามบ้านเรือน" จุดเริ่มต้นของโครงการ (มีต่อ)

ใหญ่ที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Wildlife Trade Campaign Project หรือโครงการรณรงค์ต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์ต่อเนื่อง 3ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2543 ถึงเดือนกรกฎาคม 2546 ดำเนินโครงการโดยกองทุนสัตว์ป่าโลกสำนักงานประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานโครงการความร่วมมือ (มีต่อ)

ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งเดนมาร์ก หรือที่รู้จักในแวดวงอนุรักษ์ว่า DANCED การรวมตัวกันเมื่อวันที่ 15กันยายน 2543 นับเป็นการรวมตัวครั้งประวัติศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะได้ร่วมมือกันอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสรรพชีวิตที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพราะคนเหล่านี้มี (มีต่อ)

ความเกี่ยวพันกับธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวอยู่กับพืชป่าและสัตว์ป่าไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การดำเนินงานโครงการรณรงค์ต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและพืชจึงต้องมีกลยุทธ์ในการทำงาน 4ประการคือ 1.สร้างกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และระบบสำรวจตรวจสอบสภาพการค้าสัตว์ป่าและพืช 2.สร้างโปรแกรมการฝึกอบรมและทำการฝึกอบรม (มีต่อ)

ให้แก่หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานรัฐบาลและผู้ร่วมดำเนินโครงการเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 3.สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า เพื่อให้ยุติการกระทำที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า 4.รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศเอเชียตะวันออกและกลุ่มนักท่องเที่ยวนอร์ดิก (มีต่อ)

ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า ตลอดจนข้อมูลอนุรักษ์และสถานการณ์การคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง โครงการนี้นับว่าเป็นโครงการที่เกิดมาในสถานการณ์ที่สอดคล้องกับการรณรงค์ของกลุ่มอนุรักษ์ระดับ (มีต่อ)

นานาชาติ ที่กำลังจะมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องการค้าสัตว์ป่าที่หายากและที่ใกล้สูญพันธุ์ขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจะเป็นการตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นครั้งที่สองของโลก เป็นเรื่องที่น่าติดตามสำหรับผู้มีจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง