การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยเตาเผา ผลงานและประสบการณ์ของกรมอนามัย / สุวรรณา เตียรติ์สุวรรณ, นิรุติ คูณผล, วรวรรณ ประชาเกษม

By: สุวรรณา เตียรติ์สุวรรณContributor(s): นิรุติ คูณผล | วรวรรณ ประชาเกษมCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): กรมอนามัย -- การกำจัดของเสีย | SCI-TECH | ขยะ In: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ตุลาคม 2542) หน้า 31-34Summary: มูลฝอยจากสถานพยาบาล เป็นปัญหาที่รุนแรงกว่ามูลฝอยโดยทั่วไป เนื่องจากอันตรายที่เกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ หรือมูลฝอยที่เกิดจากการรักษาพยาบาล และวัสดุที่เหลือทางการแพทย์ เป็นที่ตระหนัก และมีการกล่าวถึงอยู่เสมอ การจัดการมูลฝอยเป็นภาระความรับผิดชอบของราชการส่วนท้องถิ่น แต่กรณีมูลฝอยติดเชื้อนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดนโยบายการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม (มีต่อ)Summary: การจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ มาสู่การกำจัดโดยการเผาในเตาเผา กรมอนามัยใช้เตาเผาในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข เป็นการติดตั้ง ณ แหล่งกำเนิด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคระหว่างการขนย้าย การใช้ความร้อนในการทำลายมูลฝอยติดเชื้อ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการว่าเป็นวิธีกำจัดที่ถูกต้องเหมาะสม สถานการณ์ปัจจุบันการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยเตาเผา ถูกแบ่งพื้นที่พิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ส่วนภูมิภาค (มีต่อ)Summary: การจัดการมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการหลายกลยุทธ์ประกอบกัน ทั้งด้านเทคโนโลยี การบริการจัดการได้แก่ คัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการเก็บรวบรวม ขนส่ง และกำจัด รวมถึงการใช้งานและบำรุงรักษาระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้บุคลากรเป็นส่วนสำคัญ ไม่เพียงเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับมูลฝอยติดเชื้อ แต่ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานสถานบริการสาธารณสุข สถานพยาบาลทุกแห่งต้องให้ความสำคัญ ตระหนักถึงอันตรายของมูลฝอยติดเชื้อ แม้แต่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ประชาชนทั่วไป ควรมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อด้วย (มีต่อ)Summary: เมื่อมีการประสานความร่วมมือ จากทุกฝ่ายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแล้ว อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อจะหมดไปโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

มูลฝอยจากสถานพยาบาล เป็นปัญหาที่รุนแรงกว่ามูลฝอยโดยทั่วไป เนื่องจากอันตรายที่เกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ หรือมูลฝอยที่เกิดจากการรักษาพยาบาล และวัสดุที่เหลือทางการแพทย์ เป็นที่ตระหนัก และมีการกล่าวถึงอยู่เสมอ การจัดการมูลฝอยเป็นภาระความรับผิดชอบของราชการส่วนท้องถิ่น แต่กรณีมูลฝอยติดเชื้อนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดนโยบายการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม (มีต่อ)

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ มาสู่การกำจัดโดยการเผาในเตาเผา กรมอนามัยใช้เตาเผาในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข เป็นการติดตั้ง ณ แหล่งกำเนิด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคระหว่างการขนย้าย การใช้ความร้อนในการทำลายมูลฝอยติดเชื้อ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการว่าเป็นวิธีกำจัดที่ถูกต้องเหมาะสม สถานการณ์ปัจจุบันการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยเตาเผา ถูกแบ่งพื้นที่พิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ส่วนภูมิภาค (มีต่อ)

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการหลายกลยุทธ์ประกอบกัน ทั้งด้านเทคโนโลยี การบริการจัดการได้แก่ คัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ กระบวนการเก็บรวบรวม ขนส่ง และกำจัด รวมถึงการใช้งานและบำรุงรักษาระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้บุคลากรเป็นส่วนสำคัญ ไม่เพียงเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับมูลฝอยติดเชื้อ แต่ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานสถานบริการสาธารณสุข สถานพยาบาลทุกแห่งต้องให้ความสำคัญ ตระหนักถึงอันตรายของมูลฝอยติดเชื้อ แม้แต่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ประชาชนทั่วไป ควรมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อด้วย (มีต่อ)

เมื่อมีการประสานความร่วมมือ จากทุกฝ่ายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแล้ว อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อจะหมดไปโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชน