ขยะอุตสาหกรรม ของเสียอันตรายอีกปัญหาที่ต้องเร่งหาทางแก้ไข

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ขยะ | อุตสาหกรรม -- การกำจัดของเสีย In: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ตุลาคม 2542) หน้า 25-26Summary: สมัยก่อนหากมีการสร้างโรงงานขึ้นในชุมชน หลายคนในชุมชนคงดีใจ เพราะสามารถทำมาค้าขาย หรือหารายได้และทำให้ชุมชนคึกคัก แต่สมัยนี้ทุกคนต้องผวาและรีบหาข้อมูลว่าเป็นโรงงานประเภทไหน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปล่อยสารพิษหรือเปล่า จะทำให้แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง เน่าเหม็น หรือไม่ แต่ขณะเดียวกัน จำนวนโรงงานที่มีอยู่กว่า 126,800 โรงงานทั่วประเทศ และมีโรงงานถึง 16,000 โรงงานที่ผลิตของเสียที่เป็นอันตราย เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมพลาสติก ฯลฯ (มีต่อ)Summary: ถึงแม้จะมีพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นๆ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ครอบคลุมได้ถึง รัฐบาลได้พยายามกำหนดเขตอุตสาหกรรม และสนับสนุนให้โรงงานต่างๆ ไปอยู่รวมกันในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อสะดวกต่อการควบคุมและดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม ขยะอุตสาหกรรมเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนับวันของเสียอันตราย ประเภทนี้ได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว (มีต่อ)Summary: ภาครัฐมีแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดสร้างศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมขึ้น 2 แห่ง คือ ศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมราชบุรี ในปี 2531 และ 2535 ตามลำดับ เพื่อให้บริการการบำบัด และกำจัดน้ำเสียที่มีสารพิษ จากกลุ่มโรงงานชุบโลหะ และฟอกย้อมขนาดเล็ก และกากของเสียจากโรงงานทุกประเภท หน่วยงานที่ดูแลและควบคุม ของเสียจากภาคอุตสาหกรรมจะมีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (มีต่อ)Summary: เป็นผู้ดูแล ส่วนกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะเป็นผู้ดูแลในภาพรวมของประเทศ แต่เมื่อใดก็ตามเมื่อมีการร้องเรียกเกี่ยวกับของเสียอันตราย กรมควบคุมมลพิษจะเป็นผู้ทำการตรวจสอบ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานรัฐบาลอีกหลายแห่งที่ช่วยดูแลในด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม อาทิ สำนักอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อ.บ.ต.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

สมัยก่อนหากมีการสร้างโรงงานขึ้นในชุมชน หลายคนในชุมชนคงดีใจ เพราะสามารถทำมาค้าขาย หรือหารายได้และทำให้ชุมชนคึกคัก แต่สมัยนี้ทุกคนต้องผวาและรีบหาข้อมูลว่าเป็นโรงงานประเภทไหน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปล่อยสารพิษหรือเปล่า จะทำให้แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง เน่าเหม็น หรือไม่ แต่ขณะเดียวกัน จำนวนโรงงานที่มีอยู่กว่า 126,800 โรงงานทั่วประเทศ และมีโรงงานถึง 16,000 โรงงานที่ผลิตของเสียที่เป็นอันตราย เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมพลาสติก ฯลฯ (มีต่อ)

ถึงแม้จะมีพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นๆ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ครอบคลุมได้ถึง รัฐบาลได้พยายามกำหนดเขตอุตสาหกรรม และสนับสนุนให้โรงงานต่างๆ ไปอยู่รวมกันในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อสะดวกต่อการควบคุมและดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม ขยะอุตสาหกรรมเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนับวันของเสียอันตราย ประเภทนี้ได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว (มีต่อ)

ภาครัฐมีแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดสร้างศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมขึ้น 2 แห่ง คือ ศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมราชบุรี ในปี 2531 และ 2535 ตามลำดับ เพื่อให้บริการการบำบัด และกำจัดน้ำเสียที่มีสารพิษ จากกลุ่มโรงงานชุบโลหะ และฟอกย้อมขนาดเล็ก และกากของเสียจากโรงงานทุกประเภท หน่วยงานที่ดูแลและควบคุม ของเสียจากภาคอุตสาหกรรมจะมีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (มีต่อ)

เป็นผู้ดูแล ส่วนกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะเป็นผู้ดูแลในภาพรวมของประเทศ แต่เมื่อใดก็ตามเมื่อมีการร้องเรียกเกี่ยวกับของเสียอันตราย กรมควบคุมมลพิษจะเป็นผู้ทำการตรวจสอบ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานรัฐบาลอีกหลายแห่งที่ช่วยดูแลในด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม อาทิ สำนักอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เทศบาลนคร เทศบาลเมือง สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อ.บ.ต.