เราเกี่ยวข้องกับ (ค่า) ไฟฟ้ากันอย่างไร / กมล ดวงนิล

By: กมล ดวงนิลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ไฟฟ้า -- การคำนวณ | ไฟฟ้า | พลังงานไฟฟ้า | SCI-TECH In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (มีนาคม 2542) หน้า 20 - 23Summary: จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAI) เกี่ยวกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่มากกว่า 70% ของความต้องการทั้งหมดในปี 2539 พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 14% จากที่คาดการณ์ใช้ 10% หรือ 1000 w ต่อปี และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ติดอันดับต้นๆของโลกในเรื่องการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง สาเหตุที่เกิดปัญหานี้ก็เพราะคนไทยยังขาดความรู้พื้นฐานเรื่องพลังงาน จิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจและปฏิบัติได้ การไฟฟ้าทุกแห่งในโลกต่างถือธรรมเนียมปฏิบัติว่าราคาของหน่วยไฟฟ้าจะไม่เท่ากันยิ่งใช้ไฟฟ้ามากเท่าไร ราคาต่อหน่วย ณ จุดที่ใช้ไฟฟ้ามากๆจะยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ การคิดค่าไฟฟ้าจะคิดถึงจำนวนหน่วยที่ใช้ตลอดวันนั้นคูณด้วยอัตราราคาของจุดที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า จากโครงสร้างเดิมคือระบบ TOD (Time of Day) คือการกำหนดราคาใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลา 18.30-21.30 น. มาเป็นระบบ TOU (Time of Used) แทน โดยที่โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU จะมีลักษณะดังนี้ 1. กำหนดให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าสอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของระบบเปลี่ยนจาก 18.30 น.-21.30 น. ไปอยู่ช่วง 09.00-22.00น. ของวันจันทร์-เสาร์ และใช้ช่วงเวลา 22.00-09.00 น. ของวันจันทร์-เสาร์ และวันอาทิตย์ทั้งวันเป็น off peak 2. ลดค่า demand charge ในช่วง peak และกำหนดให้ energy charge เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลามากขึ้น 3. เพิ่มประเภทอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 115 กิโลวัตต์ซึ่งปกติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ แบ่งแยกประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้าเป็น 9 ประเภทได้แก่ (มีต่อ)Summary: บ้านอยู่อาศัย, กิจการทั่วไปขนาดเล็ก, ส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร, การสูบน้ำเพื่อการเกษตร, กิจการทั่วไปขนาดกลาง, กิจการเฉพาะอย่าง, กิจการทั่วไปขนาดกลางที่ใช้ไฟระหว่าง 30-2,000 กิโลวัตต์, กิจการทั่วไปขนาดใหญ่ที่ใช้ไฟเกิน 2,000 กิโลวัตต์, กิจการเฉพาะอย่างที่ใช้ไฟเกิน 36,500 กิโลวัตต์ ในต่างประเทศรัฐใช้มาตรการจูงใจให้เกิดการย้ายการทำงานจากช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงหรือช่วง peak มาทำในช่วงความต้องการต่ำหรือช่วง off peak กรณีประเทศมาเลเซียก็มีการคิดค่าไฟฟ้าในช่วง peak สูงกว่าช่วง off peak ถึง 4 เท่า ดังนั้นอุสาหกรรมที่มีการทำงาน 2-3 กะ ก็จะไปทำงานในช่วงหลังเที่ยงคืน ซึ่งแม้ว่าต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มแต่ก็ประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่า หรือที่ออสเตรเลียในช่วง off peak จะเสียค่าไฟเพียง 1 ใน 5 ของช่วง peak ในขณะที่ฝรั่งเศสสามารถใช้มาตรการเพื่อลดความต่างในการใช้ไฟในช่วงของ peak และ off peak เหลือเพียง 10 % (มีต่อ)Summary: การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วง peak ต่างจากลดความต่างระหว่างช่วง peak กับ off peak เพราะการมุ่งไปที่การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วง peak จะสอดคล้องอย่างยิ่งกับแนวทางการอนุรักษ์และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งจะมีผลต่อการเลื่อนเวลาหรือลดการหาพลังงาน ลดงบประมาณการก่อสร้าง รวมทั้งลดผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นจากการหาพลังงานในขณะที่การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วง peak และ off peak อาจไม่จำเป็นต้องไปลดหรือมีผลต่อความต้องการใช้พลังงานสูงสุด เพราะการสร้างความต้องการใหม่ในช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำก็ถือเป็นการลดความต่างดังกล่าวเช่นกัน แต่จะมีผลต่อการแก้ปัญหาพลังงานหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งจากเรื่องค่าไฟฟ้าที่เปลียนแปลงตามความเหมาะสมของยุคสมัย และความพยายามที่จะลดการใช้ไฟฟ้าเพื่ออนาคตนั้น เราทุกคนเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้โดยตรงหากเรายังคงใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ยั้งคิดกันต่อไปไม่เพียงแต่เราเท่านั้นที่จะเจอกับปัญหาค่าไฟฟ้าที่สูงเกินไปแต่ยังกระทบถึงประเทศเราทั้งหมด หยุดคิดสักนิดก่อนใช้พลังงานเพราะท่านไม่สามารถเรียกมันกลับคืนมาได้.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAI) เกี่ยวกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่มากกว่า 70% ของความต้องการทั้งหมดในปี 2539 พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 14% จากที่คาดการณ์ใช้ 10% หรือ 1000 w ต่อปี และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ติดอันดับต้นๆของโลกในเรื่องการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง สาเหตุที่เกิดปัญหานี้ก็เพราะคนไทยยังขาดความรู้พื้นฐานเรื่องพลังงาน จิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจและปฏิบัติได้ การไฟฟ้าทุกแห่งในโลกต่างถือธรรมเนียมปฏิบัติว่าราคาของหน่วยไฟฟ้าจะไม่เท่ากันยิ่งใช้ไฟฟ้ามากเท่าไร ราคาต่อหน่วย ณ จุดที่ใช้ไฟฟ้ามากๆจะยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ การคิดค่าไฟฟ้าจะคิดถึงจำนวนหน่วยที่ใช้ตลอดวันนั้นคูณด้วยอัตราราคาของจุดที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า จากโครงสร้างเดิมคือระบบ TOD (Time of Day) คือการกำหนดราคาใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลา 18.30-21.30 น. มาเป็นระบบ TOU (Time of Used) แทน โดยที่โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU จะมีลักษณะดังนี้ 1. กำหนดให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าสอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของระบบเปลี่ยนจาก 18.30 น.-21.30 น. ไปอยู่ช่วง 09.00-22.00น. ของวันจันทร์-เสาร์ และใช้ช่วงเวลา 22.00-09.00 น. ของวันจันทร์-เสาร์ และวันอาทิตย์ทั้งวันเป็น off peak 2. ลดค่า demand charge ในช่วง peak และกำหนดให้ energy charge เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลามากขึ้น 3. เพิ่มประเภทอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 115 กิโลวัตต์ซึ่งปกติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ แบ่งแยกประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้าเป็น 9 ประเภทได้แก่ (มีต่อ)

บ้านอยู่อาศัย, กิจการทั่วไปขนาดเล็ก, ส่วนราชการและองค์กรไม่แสวงหากำไร, การสูบน้ำเพื่อการเกษตร, กิจการทั่วไปขนาดกลาง, กิจการเฉพาะอย่าง, กิจการทั่วไปขนาดกลางที่ใช้ไฟระหว่าง 30-2,000 กิโลวัตต์, กิจการทั่วไปขนาดใหญ่ที่ใช้ไฟเกิน 2,000 กิโลวัตต์, กิจการเฉพาะอย่างที่ใช้ไฟเกิน 36,500 กิโลวัตต์ ในต่างประเทศรัฐใช้มาตรการจูงใจให้เกิดการย้ายการทำงานจากช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงหรือช่วง peak มาทำในช่วงความต้องการต่ำหรือช่วง off peak กรณีประเทศมาเลเซียก็มีการคิดค่าไฟฟ้าในช่วง peak สูงกว่าช่วง off peak ถึง 4 เท่า ดังนั้นอุสาหกรรมที่มีการทำงาน 2-3 กะ ก็จะไปทำงานในช่วงหลังเที่ยงคืน ซึ่งแม้ว่าต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มแต่ก็ประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่า หรือที่ออสเตรเลียในช่วง off peak จะเสียค่าไฟเพียง 1 ใน 5 ของช่วง peak ในขณะที่ฝรั่งเศสสามารถใช้มาตรการเพื่อลดความต่างในการใช้ไฟในช่วงของ peak และ off peak เหลือเพียง 10 % (มีต่อ)

การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วง peak ต่างจากลดความต่างระหว่างช่วง peak กับ off peak เพราะการมุ่งไปที่การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วง peak จะสอดคล้องอย่างยิ่งกับแนวทางการอนุรักษ์และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งจะมีผลต่อการเลื่อนเวลาหรือลดการหาพลังงาน ลดงบประมาณการก่อสร้าง รวมทั้งลดผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นจากการหาพลังงานในขณะที่การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วง peak และ off peak อาจไม่จำเป็นต้องไปลดหรือมีผลต่อความต้องการใช้พลังงานสูงสุด เพราะการสร้างความต้องการใหม่ในช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำก็ถือเป็นการลดความต่างดังกล่าวเช่นกัน แต่จะมีผลต่อการแก้ปัญหาพลังงานหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งจากเรื่องค่าไฟฟ้าที่เปลียนแปลงตามความเหมาะสมของยุคสมัย และความพยายามที่จะลดการใช้ไฟฟ้าเพื่ออนาคตนั้น เราทุกคนเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้โดยตรงหากเรายังคงใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ยั้งคิดกันต่อไปไม่เพียงแต่เราเท่านั้นที่จะเจอกับปัญหาค่าไฟฟ้าที่สูงเกินไปแต่ยังกระทบถึงประเทศเราทั้งหมด หยุดคิดสักนิดก่อนใช้พลังงานเพราะท่านไม่สามารถเรียกมันกลับคืนมาได้.