พีวีซี กับมุมมองด้านความปลอดภัย / พร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา

By: พร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พลาสติก | อุตสาหกรรมพลาสติก In: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ตุลาคม 2542) หน้า 40-42Summary: ในปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติก ได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เพราะไม่ว่าจะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในบ้านและที่ทำงานก็ล้วนแต่มีส่วนประกอบของพลาสติก พีวีซี (PVC หรือ polyvinyl chloride) เป็นพลาสติกชนิดแรกๆ ที่ถูกค้นพบและใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลก พีวีซีนั้นมีคุณสมบัติที่โดดเด่นจากพลาสติกชนิดอื่นๆ คือ ไม่ติดไฟ แข็งแรง ทนทาน สามารถออกแบบให้มีความแข็ง หรือ นุ่ม ยืดหยุ่น ตลอดจนให้มีความใส ได้ตามต้องการ สามารถป้องกันการซึมผ่านของน้ำ และอากาศได้ดี น้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานยาวนาน (มีต่อ)Summary: ในชีวิตประจำวันหากมองดูรอบตัวเราจะพบว่า พีวีซีอยู่ในวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ในวงการแพทย์ทุกประเทศทั่วโลกได้นำพีวีซีมาใช้ทำเป็นอุปกรณ์การแพทย์มานานแล้ว สำหรับของเด็กเล่น พีวีซีเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตของเด็กเล่นได้หลายรูปแบบรวมไปถึงอุปกรณ์อมเล่น หรือกัดเล่นของเด็กอ่อน จากผลการศึกษาล่าสุด ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ดร.ซี เอฟเวอร์เรสต์ คูป (Dr. C.Evereett Koop) จากคณะกรรมการการศึกษา บลูริบบอน ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสภาวิทยาศาสตร์และสุขศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แถลงว่า ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่า (มีต่อ)Summary: อุปกรณ์ทางการแพทย์ และของเด็กเล่นที่ทำจากพีวีซี ซึ่งมีสารพลาสติกไซเซอร์ 2 ประเภทอยู่คือ DENP (Di-2-Ethylhexyl Phthalate) และ DINP (Di-Isononyl Phthalate) ไม่เป็นอันตรายในสภาพการใช้งานปกติ ซึ่งตรงกันกับความเห็นชอบของสถาบันอาหารและยาของสหรัฐ ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์พีวีซี ถูกนำไปใช้งานบรรจุภัณฑ์จะมีอายุการใช้งานสั้น และก็จะถูกทิ้งเป็นขยะชุมชนต่อไป อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสัดส่วนของพลาสติกที่พบในขยะชุมชน เมื่อมองที่ปริมาตรแล้วจะดูค่อนข้างมีปริมาณสูง แต่เมื่อวัดเป็นน้ำหนักแล้วจะค่อนข้างต่ำ (มีต่อ)Summary: ในส่วนของพีวีซีกับการนำมาใช้ใหม่ เป็นที่รู้จักกันดีในยุโรป ซึ่งมีระบบรองรับในกระบวนการดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2540 ได้มีการนำกลับมาใช้ใหม่ถึงประมาณ 100,000 ตัน จากของที่เหลือใช้จากการผลิตและขยะก่อนบริโภคจากปริมาณ 270,000 ตัน พีวีซีกับเตาเผาขยะชุมชน เป็นระบบการจัดการขยะชุมชนสมัยใหม่ โดยสามารถจัดการกับขยะทุกประเภท ได้โดยกระบวนการนำกลับไปใช้ใหม่ และเตาเผาขยะซึ่งรวมถึงการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยนั้น ก็จัดอยู่ในระบบการจัดการด้วย ได้มีความสำคัญต่อระบบการจัดการนำพลังงานมาใช้ใหม่ และจัดการต่อสิ่งแวดล้อมด้วย (มีต่อ)Summary: ที่สำคัญมากยิ่งไปกว่านั้นมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้ระบุอย่างเด่นชัดว่าปริมาณขยะพีวีซี ที่ป้อนเข้าเตาเผาขยะชุมชนนั้น ไม่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณของไดออกซินที่เกิดขึ้น ในยุโรปได้มีการทดลองและตรวจสอบควบคุมอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการฝังกลบพีวีซี โดยการจัดทำหลุมฝังกลบ ซึ่งภายในได้นำเอาขยะพีวีซีชนิดต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตไว้ในหลุมฝังกลบ โดยครอบคลุมถึงการประยุกต์นำไปใช้ทุกชนิด และสารเติมแต่งทุกประเภท ซึ่งได้ทำการวิจัย โดยสถาบันวิจัยอิสระของประเทศเยอรมัน และสวีเดน โดยมีข้อสรุปว่า ไม่พบค่าที่แสดงว่า ขยะพีวีซีจะมีส่วนในการทำให้ความเข้มข้นของโลหะหนักในด้านบริเวณหลุมฝังกลบเพิ่มขึ้น รวมถึงทาเลตและสารประกอบอินทรีย์ในพีวีซี ก็ไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของน้ำที่อยู่ในบริเวณนั้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติก ได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เพราะไม่ว่าจะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในบ้านและที่ทำงานก็ล้วนแต่มีส่วนประกอบของพลาสติก พีวีซี (PVC หรือ polyvinyl chloride) เป็นพลาสติกชนิดแรกๆ ที่ถูกค้นพบและใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลก พีวีซีนั้นมีคุณสมบัติที่โดดเด่นจากพลาสติกชนิดอื่นๆ คือ ไม่ติดไฟ แข็งแรง ทนทาน สามารถออกแบบให้มีความแข็ง หรือ นุ่ม ยืดหยุ่น ตลอดจนให้มีความใส ได้ตามต้องการ สามารถป้องกันการซึมผ่านของน้ำ และอากาศได้ดี น้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานยาวนาน (มีต่อ)

ในชีวิตประจำวันหากมองดูรอบตัวเราจะพบว่า พีวีซีอยู่ในวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ในวงการแพทย์ทุกประเทศทั่วโลกได้นำพีวีซีมาใช้ทำเป็นอุปกรณ์การแพทย์มานานแล้ว สำหรับของเด็กเล่น พีวีซีเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตของเด็กเล่นได้หลายรูปแบบรวมไปถึงอุปกรณ์อมเล่น หรือกัดเล่นของเด็กอ่อน จากผลการศึกษาล่าสุด ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ดร.ซี เอฟเวอร์เรสต์ คูป (Dr. C.Evereett Koop) จากคณะกรรมการการศึกษา บลูริบบอน ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสภาวิทยาศาสตร์และสุขศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แถลงว่า ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่า (มีต่อ)

อุปกรณ์ทางการแพทย์ และของเด็กเล่นที่ทำจากพีวีซี ซึ่งมีสารพลาสติกไซเซอร์ 2 ประเภทอยู่คือ DENP (Di-2-Ethylhexyl Phthalate) และ DINP (Di-Isononyl Phthalate) ไม่เป็นอันตรายในสภาพการใช้งานปกติ ซึ่งตรงกันกับความเห็นชอบของสถาบันอาหารและยาของสหรัฐ ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์พีวีซี ถูกนำไปใช้งานบรรจุภัณฑ์จะมีอายุการใช้งานสั้น และก็จะถูกทิ้งเป็นขยะชุมชนต่อไป อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสัดส่วนของพลาสติกที่พบในขยะชุมชน เมื่อมองที่ปริมาตรแล้วจะดูค่อนข้างมีปริมาณสูง แต่เมื่อวัดเป็นน้ำหนักแล้วจะค่อนข้างต่ำ (มีต่อ)

ในส่วนของพีวีซีกับการนำมาใช้ใหม่ เป็นที่รู้จักกันดีในยุโรป ซึ่งมีระบบรองรับในกระบวนการดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2540 ได้มีการนำกลับมาใช้ใหม่ถึงประมาณ 100,000 ตัน จากของที่เหลือใช้จากการผลิตและขยะก่อนบริโภคจากปริมาณ 270,000 ตัน พีวีซีกับเตาเผาขยะชุมชน เป็นระบบการจัดการขยะชุมชนสมัยใหม่ โดยสามารถจัดการกับขยะทุกประเภท ได้โดยกระบวนการนำกลับไปใช้ใหม่ และเตาเผาขยะซึ่งรวมถึงการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยนั้น ก็จัดอยู่ในระบบการจัดการด้วย ได้มีความสำคัญต่อระบบการจัดการนำพลังงานมาใช้ใหม่ และจัดการต่อสิ่งแวดล้อมด้วย (มีต่อ)

ที่สำคัญมากยิ่งไปกว่านั้นมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้ระบุอย่างเด่นชัดว่าปริมาณขยะพีวีซี ที่ป้อนเข้าเตาเผาขยะชุมชนนั้น ไม่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณของไดออกซินที่เกิดขึ้น ในยุโรปได้มีการทดลองและตรวจสอบควบคุมอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการฝังกลบพีวีซี โดยการจัดทำหลุมฝังกลบ ซึ่งภายในได้นำเอาขยะพีวีซีชนิดต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตไว้ในหลุมฝังกลบ โดยครอบคลุมถึงการประยุกต์นำไปใช้ทุกชนิด และสารเติมแต่งทุกประเภท ซึ่งได้ทำการวิจัย โดยสถาบันวิจัยอิสระของประเทศเยอรมัน และสวีเดน โดยมีข้อสรุปว่า ไม่พบค่าที่แสดงว่า ขยะพีวีซีจะมีส่วนในการทำให้ความเข้มข้นของโลหะหนักในด้านบริเวณหลุมฝังกลบเพิ่มขึ้น รวมถึงทาเลตและสารประกอบอินทรีย์ในพีวีซี ก็ไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของน้ำที่อยู่ในบริเวณนั้น