รู้หรือไม่พลาสติกแก้ปัญหาโรคพืชได้

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พลาสติก | พลาสติกในการเกษตร In: พลาสติก ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2544) หน้า 28 - 28Summary: ปัญหาโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ในดินได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชที่ปลูกในไทยและยังไม่มีวิธีการใดๆ ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคพืชชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรคพืชที่พบมากคือ โรคเหี่ยวและโรคโคนเน่าในมะเขือเทศ พริก และแตงชนิดต่างๆ รศ.ดร.นิวัฒ เสนาะเมือง และทีมงานได้ทำการศึกษาการอบดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โดยการคลุมพลาสติก ผลการศึกษาพบว่า สามารถยับยั้งสาเหตุโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีปัญหาต่อสภาพแวดล้อมและไม่ทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ รศ.ดร.นิวัฒ เสนาะเมือง ได้เสนอแนะว่า ควรสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมมีการผลิตพลาสติกขนาดใหญ่ทนทานและสามารถคลุมดินในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้เพื่อประหยัดเวลาในการคลุมดินก่อนปลูกพืชแต่ละครั้งและควรมีการพัฒนาการใช้พลาสติกคลุมดินนี้ต่อไปเพื่อใช้ในการอบดินในการทดลองเชิงวิชาการแทนการใช้สารเมทธิลโบรไมด์ที่ใช้กันอยู่ ขณะเดียวกันด้วยประสิทธิภาพของการคลุมดินด้วยพลาสติกที่สามารถทำลายรา วัชพืช ไข่หรือตัวอ่อนของแมลงศัตรูได้ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรนำวิธีการนี้ไปปรับใช้ในโครงการปลูกผักปลอดสารพิษได้เช่นกัน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ปัญหาโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ในดินได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชที่ปลูกในไทยและยังไม่มีวิธีการใดๆ ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคพืชชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรคพืชที่พบมากคือ โรคเหี่ยวและโรคโคนเน่าในมะเขือเทศ พริก และแตงชนิดต่างๆ รศ.ดร.นิวัฒ เสนาะเมือง และทีมงานได้ทำการศึกษาการอบดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โดยการคลุมพลาสติก ผลการศึกษาพบว่า สามารถยับยั้งสาเหตุโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีปัญหาต่อสภาพแวดล้อมและไม่ทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ รศ.ดร.นิวัฒ เสนาะเมือง ได้เสนอแนะว่า ควรสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมมีการผลิตพลาสติกขนาดใหญ่ทนทานและสามารถคลุมดินในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้เพื่อประหยัดเวลาในการคลุมดินก่อนปลูกพืชแต่ละครั้งและควรมีการพัฒนาการใช้พลาสติกคลุมดินนี้ต่อไปเพื่อใช้ในการอบดินในการทดลองเชิงวิชาการแทนการใช้สารเมทธิลโบรไมด์ที่ใช้กันอยู่ ขณะเดียวกันด้วยประสิทธิภาพของการคลุมดินด้วยพลาสติกที่สามารถทำลายรา วัชพืช ไข่หรือตัวอ่อนของแมลงศัตรูได้ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรนำวิธีการนี้ไปปรับใช้ในโครงการปลูกผักปลอดสารพิษได้เช่นกัน