การศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยไฟ Thrips palmi karny บนกล้วยไม้ = Effects of Temperaturc on productivity of thrips palmi karny on orchid / ปิยรัตน์ เขียนมีสุข, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น

By: ปิยรัตน์ เขียนมีสุขContributor(s): สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่นCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleOther title: Effect of temperature on productivity of thrips palmi karmy on orchid [Portion of title]Subject(s): กล้วยไม้ | กล้วยไม้ -- ศัตรูพืช | เพลี้ยไฟฝ้าย | SCI-TECH In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2541) หน้า 247-253Summary: กล้วยไม้เป็นพืชส่งออกที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ทำรายได้เข้าประเทศสูงมากแต่การผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออกบางครั้งไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากว่ามีแมลงติดไปโดยเฉพาะเพลี้ยไฟฝ้าย thrips palmi karny ทำให้มูลค่าการส่งออกกล้วยไม้ลดลง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายเร่งด่วนให้กล้วยไม้เป็นพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศที่ต้องเร่งรัดงานวิจัยทุกด้านเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว การศึกษาถึงอุณหภูมิต่างๆ ต่อการแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์ของเพลี้ยไฟบนดอกกล้วยไม้จะเป็นการช่วยกำจัดวิธีหนึ่งที่จะไม่ให้เพลี้ยไฟฝ้ายเจริญเติบโตได้ ซึ่งการวิจัยพบว่า การเจริญเติบโตของเพลี้ยไฟ ระยะตัวอ่อน มี 3 ระยะ คือ ตัวอ่อนระยะที่ 1 มีลักษณะขาวใส ยาวเรียวเล็ก ขนาดลำตัวยาว 0.20-0.30 ม.ม. ปลายท้องค่อนข้างแหลม ตารวมขาวใสหนวดมี 7 ปล้อง เคลื่อนไหวตลอดเวลา เริ่มทำลายกลีบดอกกล้วยไม้ทันที่ที่ฟักออกจากไข่ เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 มีขนาดลำตัวยาว 0.30-0.40 ม.ม. สีของลำตัวมีสีเหลืองเข้มขึ้น บริเวณปลายส่วนท้องไม่แหลมเคลื่อนไหวได้เร็วและว่องไวมาก ส่วนตัวอ่อนระยะที่ 3 เป็นระยะก่อนเข้าดักแด้ มีสีเหลืองเข้ม ลำตัวมีขนาด 0.50-0.70 ม.ม. ตารวมสีเทาปนดำ ตาเดียวสีแดงแผ่นปีกบริเวณอกปล้อง 2 และ 3 เริ่มเจริญเติบโต เคลื่อนไหวช้า แต่ยังคงดูดน้ำเลี้ยงจากเนื้อเยื่อกลีบดอกกล้วยไม้ (มีต่อ)Summary: วงจรชีวิตของเพลี้ยไฟ จากไข่ถึงตัวเต็มวัย พบว่ามีอายุสั้นสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เฉลี่ย 13.70 วัน และมีอายุนานขึ้นเมื่ออุณหภูมิต่ำลง อุณหภูมิจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยไฟ คือ เพลี้ยไฟจะมีวงจรชีวิตสั้นลงเมื่ออุณหภูมิสูงขื้น สภาพภูมิอากาศประเทศไทยโดยเฉพาะในฤดูร้อนจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟ ทั้งนี้เพลี้ยไฟจะมีวงจรชีวิตที่สั้นแล้วยังมีอัตราการอยู่รอดที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นสาเหตุทำให้พบว่ามีการระบาดของเพลี้ยไฟชนิดนี้เสมอๆ ในแปลงกล้วยไม้ในช่วงฤดูดังกล่าว
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

กล้วยไม้เป็นพืชส่งออกที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ทำรายได้เข้าประเทศสูงมากแต่การผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออกบางครั้งไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากว่ามีแมลงติดไปโดยเฉพาะเพลี้ยไฟฝ้าย thrips palmi karny ทำให้มูลค่าการส่งออกกล้วยไม้ลดลง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายเร่งด่วนให้กล้วยไม้เป็นพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศที่ต้องเร่งรัดงานวิจัยทุกด้านเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว การศึกษาถึงอุณหภูมิต่างๆ ต่อการแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์ของเพลี้ยไฟบนดอกกล้วยไม้จะเป็นการช่วยกำจัดวิธีหนึ่งที่จะไม่ให้เพลี้ยไฟฝ้ายเจริญเติบโตได้ ซึ่งการวิจัยพบว่า การเจริญเติบโตของเพลี้ยไฟ ระยะตัวอ่อน มี 3 ระยะ คือ ตัวอ่อนระยะที่ 1 มีลักษณะขาวใส ยาวเรียวเล็ก ขนาดลำตัวยาว 0.20-0.30 ม.ม. ปลายท้องค่อนข้างแหลม ตารวมขาวใสหนวดมี 7 ปล้อง เคลื่อนไหวตลอดเวลา เริ่มทำลายกลีบดอกกล้วยไม้ทันที่ที่ฟักออกจากไข่ เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 มีขนาดลำตัวยาว 0.30-0.40 ม.ม. สีของลำตัวมีสีเหลืองเข้มขึ้น บริเวณปลายส่วนท้องไม่แหลมเคลื่อนไหวได้เร็วและว่องไวมาก ส่วนตัวอ่อนระยะที่ 3 เป็นระยะก่อนเข้าดักแด้ มีสีเหลืองเข้ม ลำตัวมีขนาด 0.50-0.70 ม.ม. ตารวมสีเทาปนดำ ตาเดียวสีแดงแผ่นปีกบริเวณอกปล้อง 2 และ 3 เริ่มเจริญเติบโต เคลื่อนไหวช้า แต่ยังคงดูดน้ำเลี้ยงจากเนื้อเยื่อกลีบดอกกล้วยไม้ (มีต่อ)

วงจรชีวิตของเพลี้ยไฟ จากไข่ถึงตัวเต็มวัย พบว่ามีอายุสั้นสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เฉลี่ย 13.70 วัน และมีอายุนานขึ้นเมื่ออุณหภูมิต่ำลง อุณหภูมิจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยไฟ คือ เพลี้ยไฟจะมีวงจรชีวิตสั้นลงเมื่ออุณหภูมิสูงขื้น สภาพภูมิอากาศประเทศไทยโดยเฉพาะในฤดูร้อนจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟ ทั้งนี้เพลี้ยไฟจะมีวงจรชีวิตที่สั้นแล้วยังมีอัตราการอยู่รอดที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นสาเหตุทำให้พบว่ามีการระบาดของเพลี้ยไฟชนิดนี้เสมอๆ ในแปลงกล้วยไม้ในช่วงฤดูดังกล่าว