การศึกษาการใช้สารสกัดสะเดาสำเร็จรูปของกรมวิชาการเกษตรในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะลำต้นในถั่วเขียว / สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, พัชราพร หนูวิสัย, สุทธิพงษ์ ฉลาดธัญกิจ

By: สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุงContributor(s): พัชราพร หนูวิสัย | สุทธิพงษ์ ฉลาดธัญกิจCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ถั่วเขียว -- ศัตรูพืช | SCI-TECH In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2542) หน้า 167 - 174Summary: หนอนแมลงวันเจาะลำต้นเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วเขียวในระยะต้นอ่อน การระบาดอาจทำให้ต้นกล้าตายได้ ถ้าระบาดไม่รุนแรง ต้นจะแคระแกรนและผลผลิตลดลง ในเมล็ดสะเดาไทย จะมีสาร Azadirachtin ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง การใช้สารสกัดสะเดาด้วยน้ำมีวิธีการเตรียมที่ยุ่งยาก ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ผลิตสารสกัดสะเดาสำเร็จรูป เกษตรกรสามารถนำไปผสมน้ำและฉีดพ่นได้ทันที การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสะเดาสำเร็จรูปของกรมวิชาการเกษตร ในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะลำต้นในถั่วเขียว (มีต่อ)Summary: ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ระหว่างมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ.2542 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 3ซ้ำ มี 7กรรมวิธีคือ การพ่นสารสกัดสะเดาของกรมวิชาการเกษตรที่มี AZa เข้มข้น 20, 40, 60, 80 และ 100ppm ทุก 4วัน รวม 3ครั้ง ในถั่วเขียว โดยเริ่มพ่นหลังถั่วเขียวงอกหรือเมื่อใบจริงคู่แรกแผ่ขยาย (VC stage) เปรียบเทียบกับการพ่นสารฆ่าแมลง triazophos อัตรา 40มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 7 วัน รวม 2ครั้ง และการไม่พ่นสาร พบว่า เมื่อถั่วเขียวอายุ 3สัปดาห์หลังงอก (มีต่อ)Summary: การพ่นด้วยสารสกัดสะเดาเข้มข้น 40-100 ppm มีปริมาณหนอนและดักแด้ของหนอนแมลงวันเจาะลำต้น เฉลี่ย 0-0.7 ตัว/ถั่วเขียว 40ต้น และมีต้นถูกทำลาย 0.8-4.2% ไม่แตกต่างทางสถิติกับการพ่นสารฆ่าแมลง triazophos ซึ่งไม่พบหนอนและดักแด้เลย ส่วนต้นถั่วเขียวที่ถูกทำลายพบเพียง 2.5% และแตกต่างทางสถิติกับถั่วเขียวที่ไม่พ่นสารมีปริมาณหนอนและดักแด้เฉลี่ย 32.3 ตัว/ 40ต้น ขณะที่ต้นถูกทำลายถึง 80.8% แสดงว่าสารสกัดสะเดาสำเร็จรูปของกรมวิชาการเกษตรที่มี Aza (มีต่อ)Summary: ตั้งแต่ 40ppm มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว เท่าเทียมกับการพ่นสารฆ่าแมลง triazophos อัตรา 40มิลลิลิตร/น้ำ 20ลิตร ซึ่งเป็นสารที่แนะนำ นอกจากนี้กลิ่นของสารสกัดสะเดายังทำให้ปริมาณประชากรของตัวเต็มวัยหนอนแมลงวันเจาะลำต้นลดลงได้ อย่างไรก็ตามสารสกัดสะเดาที่ใช้ทดลองเข้มข้น 20-60 ppm ทำให้เกิด phytotoxic กับใบถั่วเขียว 10.6-31.4% เช่นเดียวกับการใช้สารฆ่าแมลง triazophos ซึ่งพบ 16.9%
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

หนอนแมลงวันเจาะลำต้นเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วเขียวในระยะต้นอ่อน การระบาดอาจทำให้ต้นกล้าตายได้ ถ้าระบาดไม่รุนแรง ต้นจะแคระแกรนและผลผลิตลดลง ในเมล็ดสะเดาไทย จะมีสาร Azadirachtin ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง การใช้สารสกัดสะเดาด้วยน้ำมีวิธีการเตรียมที่ยุ่งยาก ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ผลิตสารสกัดสะเดาสำเร็จรูป เกษตรกรสามารถนำไปผสมน้ำและฉีดพ่นได้ทันที การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสะเดาสำเร็จรูปของกรมวิชาการเกษตร ในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะลำต้นในถั่วเขียว (มีต่อ)

ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ระหว่างมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ.2542 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 3ซ้ำ มี 7กรรมวิธีคือ การพ่นสารสกัดสะเดาของกรมวิชาการเกษตรที่มี AZa เข้มข้น 20, 40, 60, 80 และ 100ppm ทุก 4วัน รวม 3ครั้ง ในถั่วเขียว โดยเริ่มพ่นหลังถั่วเขียวงอกหรือเมื่อใบจริงคู่แรกแผ่ขยาย (VC stage) เปรียบเทียบกับการพ่นสารฆ่าแมลง triazophos อัตรา 40มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 7 วัน รวม 2ครั้ง และการไม่พ่นสาร พบว่า เมื่อถั่วเขียวอายุ 3สัปดาห์หลังงอก (มีต่อ)

การพ่นด้วยสารสกัดสะเดาเข้มข้น 40-100 ppm มีปริมาณหนอนและดักแด้ของหนอนแมลงวันเจาะลำต้น เฉลี่ย 0-0.7 ตัว/ถั่วเขียว 40ต้น และมีต้นถูกทำลาย 0.8-4.2% ไม่แตกต่างทางสถิติกับการพ่นสารฆ่าแมลง triazophos ซึ่งไม่พบหนอนและดักแด้เลย ส่วนต้นถั่วเขียวที่ถูกทำลายพบเพียง 2.5% และแตกต่างทางสถิติกับถั่วเขียวที่ไม่พ่นสารมีปริมาณหนอนและดักแด้เฉลี่ย 32.3 ตัว/ 40ต้น ขณะที่ต้นถูกทำลายถึง 80.8% แสดงว่าสารสกัดสะเดาสำเร็จรูปของกรมวิชาการเกษตรที่มี Aza (มีต่อ)

ตั้งแต่ 40ppm มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว เท่าเทียมกับการพ่นสารฆ่าแมลง triazophos อัตรา 40มิลลิลิตร/น้ำ 20ลิตร ซึ่งเป็นสารที่แนะนำ นอกจากนี้กลิ่นของสารสกัดสะเดายังทำให้ปริมาณประชากรของตัวเต็มวัยหนอนแมลงวันเจาะลำต้นลดลงได้ อย่างไรก็ตามสารสกัดสะเดาที่ใช้ทดลองเข้มข้น 20-60 ppm ทำให้เกิด phytotoxic กับใบถั่วเขียว 10.6-31.4% เช่นเดียวกับการใช้สารฆ่าแมลง triazophos ซึ่งพบ 16.9%