ฟื้นภูมิปัญญาไทยใส่ใจศึกษาสมุนไพรไล่แมลง / เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์

By: เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สมุนไพร In: โลกสีเขียว ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2542) หน้า 9 - 11Summary: แมลงไม่เพียงแต่เป็นพาหะนำโรคและสร้างความเสียหายแก่ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำอันตรายต่อศิลปโบราณวัตถุประเภทอินทรียสารด้วย แม้ว่าการควบคุมแมลงเหล่านี้ก็มีด้วยกันหลายวิธีเช่น การดักจับ การใช้ความเย็นหรือลดอุณหภูมิและการฉายรังสี แต่วิธีการที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย สะดวก และดูเหมือนมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงมากที่สุดคือ ใช้สารเคมีสังเคราะห์ฉีดพ่น แต่มีข้อเสียคือ หลังจากการใช้ยาฆ่าแมลงพวกนี้ไปสักพัก แมลงจะเริ่มดื้อยา (มีต่อ)Summary: ทำให้ต้องใช้สารเคมีในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมสูง จึงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้และผู้ที่มาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ ดร.วิชัย หวังเจริญตระกูล นักวิทยาศาสตร์ในส่วนวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จึงทำการศึกษาวิจัยว่า มีสมุนไพรไทยตัวไหนบ้างที่สามารถนำมาใช้ไล่และฆ่าแมลงแทนสารเคมีสังเคราะห์ได้ โดยในเบื้องต้นเน้นศึกษาสมุนไพรที่จะนำมาใช้ควบคุมแมลงสามหางและแมลงสาบก่อน (มีต่อ)Summary: เพราะเป็นตัวก่อกวนสำคัญในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จากการวิจัยปรากฎว่ามีสมุนไพร 4ชนิดคือ ไพล กะทือ กะเพรา และดีปลี ที่สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยแล้วมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงได้ดี โดยเหง้าของไพลมีประสิทธิภาพสูงในการไล่และฆ่าแมลงสามหาง ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าของกะทือและน้ำมันหอมระเหยจากต้นและใบกะเพราแสดงคุณสมบัติไล่แมลงสาบได้ดีถึงร้อยละ 90-100 ภายในเวลา 24ชม. ดังนั้นจึงน่าที่จะนำมาไล่แมลงสาบต่อไป ส่วนสารสกัดด้วยเฮกเซนจากเหง้าของไพลและดีปลีมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงสาบ จึงเหมาะที่จะนำมาผสมกับอาหารวางเป็นเหยื่อ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

แมลงไม่เพียงแต่เป็นพาหะนำโรคและสร้างความเสียหายแก่ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำอันตรายต่อศิลปโบราณวัตถุประเภทอินทรียสารด้วย แม้ว่าการควบคุมแมลงเหล่านี้ก็มีด้วยกันหลายวิธีเช่น การดักจับ การใช้ความเย็นหรือลดอุณหภูมิและการฉายรังสี แต่วิธีการที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย สะดวก และดูเหมือนมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงมากที่สุดคือ ใช้สารเคมีสังเคราะห์ฉีดพ่น แต่มีข้อเสียคือ หลังจากการใช้ยาฆ่าแมลงพวกนี้ไปสักพัก แมลงจะเริ่มดื้อยา (มีต่อ)

ทำให้ต้องใช้สารเคมีในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมสูง จึงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้และผู้ที่มาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ ดร.วิชัย หวังเจริญตระกูล นักวิทยาศาสตร์ในส่วนวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จึงทำการศึกษาวิจัยว่า มีสมุนไพรไทยตัวไหนบ้างที่สามารถนำมาใช้ไล่และฆ่าแมลงแทนสารเคมีสังเคราะห์ได้ โดยในเบื้องต้นเน้นศึกษาสมุนไพรที่จะนำมาใช้ควบคุมแมลงสามหางและแมลงสาบก่อน (มีต่อ)

เพราะเป็นตัวก่อกวนสำคัญในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จากการวิจัยปรากฎว่ามีสมุนไพร 4ชนิดคือ ไพล กะทือ กะเพรา และดีปลี ที่สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยแล้วมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงได้ดี โดยเหง้าของไพลมีประสิทธิภาพสูงในการไล่และฆ่าแมลงสามหาง ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าของกะทือและน้ำมันหอมระเหยจากต้นและใบกะเพราแสดงคุณสมบัติไล่แมลงสาบได้ดีถึงร้อยละ 90-100 ภายในเวลา 24ชม. ดังนั้นจึงน่าที่จะนำมาไล่แมลงสาบต่อไป ส่วนสารสกัดด้วยเฮกเซนจากเหง้าของไพลและดีปลีมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงสาบ จึงเหมาะที่จะนำมาผสมกับอาหารวางเป็นเหยื่อ