การใช้จุลินทรีย์สำหรับการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธี / กรประภา เครือวัลย์

By: กรประภา เครือวัลย์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สิ่งแวดล้อม | จุลินทรีย์ | ชีววิธี In: วิทยาศาสตร์ ปีที่ 54 ฉบับที่ 1 (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2543) หน้า 7-9Summary: การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธี (Bioremediation) เป็นกระบวนการที่นำจุลินทรีย์มาใช้ในการป้องกันกำจัด หรือ ลดปริมาณสารมลพิษ ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธีนี้กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธี (มีต่อ)Summary: ที่มีประสิทธิภาพสูง เสียค่าใช้จ่ายน้อยและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวิธีการนี้ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายสารมลพิษต่างๆได้ ดังนั้นจึงมีทางเป็นไปได้ที่จะนำจุลินทรีย์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อกำจัดสารมลพิษ จุลินทรีย์จึงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง วิธีนี้ (มีต่อ)Summary: มีข้อดีหลายประการ เช่น มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดค่าใช้จ่าย การย่อยสลายมลพิษเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธีนี้ต้องอาศัยความรู้ทางสรีรวิทยา ชีวเคมี นิเวศวิทยา และพันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์มาประกอบกัน นอกจากนี้ความเข้าใจถึงปัจจัยทางกายภาพ (มีต่อ)Summary: และชีวภาพจะช่วยให้การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์เป็นสหวิทยาการ (Multidisciplinary) จึงต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างนักจุลชีววิทยา นักเคมีและวิศวกร ซึ่งจะทำให้การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธีประสบความสำเร็จในอนาคต
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธี (Bioremediation) เป็นกระบวนการที่นำจุลินทรีย์มาใช้ในการป้องกันกำจัด หรือ ลดปริมาณสารมลพิษ ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธีนี้กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธี (มีต่อ)

ที่มีประสิทธิภาพสูง เสียค่าใช้จ่ายน้อยและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวิธีการนี้ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายสารมลพิษต่างๆได้ ดังนั้นจึงมีทางเป็นไปได้ที่จะนำจุลินทรีย์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อกำจัดสารมลพิษ จุลินทรีย์จึงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง วิธีนี้ (มีต่อ)

มีข้อดีหลายประการ เช่น มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดค่าใช้จ่าย การย่อยสลายมลพิษเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธีนี้ต้องอาศัยความรู้ทางสรีรวิทยา ชีวเคมี นิเวศวิทยา และพันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์มาประกอบกัน นอกจากนี้ความเข้าใจถึงปัจจัยทางกายภาพ (มีต่อ)

และชีวภาพจะช่วยให้การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์เป็นสหวิทยาการ (Multidisciplinary) จึงต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างนักจุลชีววิทยา นักเคมีและวิศวกร ซึ่งจะทำให้การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยชีววิธีประสบความสำเร็จในอนาคต