เสียงบอกเล่าจากบ่อนอก / นินนคา

By: นินนคาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): โรงไฟฟ้าบ่อนอก | SCI-TECH | สิ่งแวดล้อม, ผลกระทบ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 113 (กุมภาพันธ์ 2542) หน้า 26-29Summary: กรณีปัญหาโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก เป็นประเด็นความขัดแย้งที่ยือเยื้อมานานและยังหาข้อสรุปไม่ได้ ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก ดำเนินการโดยบริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (GPG) ร่วมลงทุนระหว่างบริษัท กัลฟ์ อีเล็กตริก จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอดิสัน มิชชั่น เอ็นเนอร์ยี จากสหรัฐอเมริกา ในสัดส่วนการถือหุ้น 60:40 โรงไฟฟ้าบ่อนอกเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านหินน้ำเข้าคุณภาพดีชนิด ซับบิทูมินัส เหมืองพีที อดาโร รัฐกะลิมันตัน ประเทศอินโดนีเซีย (มีต่อ)Summary: ซึ่งทางบริษัทยืนยันว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี ต่างชนิดกับที่ก่อปัญหายืดเยื้อที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ไม่สร้างมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม และขี้เถ้าจากการเผาถ่านหินก็มีน้อย มีการทำหอหล่อเย็น ซึ่งเป็นระบบปิด ใช้น้ำหมุนเวียนจะทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิของน้ำที่ใช้ในโครงการให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับน้ำทะเลก่อนปล่อยลงสู่ทะเล และมีการติดตั้งระบบดักฝุ่นก่อนจะระบายออกสู่อากาศ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่ทางบริษัทแสดงออก ส่วนชาวบ้านแสดงการคัดค้านไม่อยากให้สร้างโรงไฟฟ้า ถึงแม้บริษัทจะยืนยันหนักแน่นถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ตาม (มีต่อ)Summary: แต่บทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ หรือที่มาบตาพุด ทำให้ชาวบ้านไม่เชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัย ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือ ในเรื่องของผลประโยชน์จากการขายที่ดินพื้นที่ก่อสร้าง รวมทั้งการเมืองท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านยืนยันว่าตัวแทนซื้อที่ดินของบริษัทบอกกับชาวบ้านว่าจะซื้อที่ดินประมาณ 2,000ไร่ เพื่อสร้างรีสอร์ต และสนามกอล์ฟ แต่ถึงเวลาจริงๆ แล้วกลับไปสร้างโรงไฟฟ้า จึงทำให้ชาวบ้านคิดว่าถ้าโครงการสร้างโรงไฟฟ้านี้ดีจริง ทำไมทางราชการจึงไม่ประกาศหรือแจ้งให้ชาวบ้านรู้ว่าคือโครงการอะไร เหตุผลเหล่านี้เป็นเหตุผลของชาวบ้านที่มีต่อโครงการ ซึ่งต่างฝ่ายต่างยืนยันเหตุผลของตนเอง ดังนั้น จึงยังหาข้อสรุปที่ลงตัวไม่ได้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

กรณีปัญหาโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก เป็นประเด็นความขัดแย้งที่ยือเยื้อมานานและยังหาข้อสรุปไม่ได้ ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก ดำเนินการโดยบริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (GPG) ร่วมลงทุนระหว่างบริษัท กัลฟ์ อีเล็กตริก จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอดิสัน มิชชั่น เอ็นเนอร์ยี จากสหรัฐอเมริกา ในสัดส่วนการถือหุ้น 60:40 โรงไฟฟ้าบ่อนอกเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านหินน้ำเข้าคุณภาพดีชนิด ซับบิทูมินัส เหมืองพีที อดาโร รัฐกะลิมันตัน ประเทศอินโดนีเซีย (มีต่อ)

ซึ่งทางบริษัทยืนยันว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี ต่างชนิดกับที่ก่อปัญหายืดเยื้อที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ไม่สร้างมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม และขี้เถ้าจากการเผาถ่านหินก็มีน้อย มีการทำหอหล่อเย็น ซึ่งเป็นระบบปิด ใช้น้ำหมุนเวียนจะทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิของน้ำที่ใช้ในโครงการให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับน้ำทะเลก่อนปล่อยลงสู่ทะเล และมีการติดตั้งระบบดักฝุ่นก่อนจะระบายออกสู่อากาศ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่ทางบริษัทแสดงออก ส่วนชาวบ้านแสดงการคัดค้านไม่อยากให้สร้างโรงไฟฟ้า ถึงแม้บริษัทจะยืนยันหนักแน่นถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ตาม (มีต่อ)

แต่บทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ หรือที่มาบตาพุด ทำให้ชาวบ้านไม่เชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัย ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือ ในเรื่องของผลประโยชน์จากการขายที่ดินพื้นที่ก่อสร้าง รวมทั้งการเมืองท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านยืนยันว่าตัวแทนซื้อที่ดินของบริษัทบอกกับชาวบ้านว่าจะซื้อที่ดินประมาณ 2,000ไร่ เพื่อสร้างรีสอร์ต และสนามกอล์ฟ แต่ถึงเวลาจริงๆ แล้วกลับไปสร้างโรงไฟฟ้า จึงทำให้ชาวบ้านคิดว่าถ้าโครงการสร้างโรงไฟฟ้านี้ดีจริง ทำไมทางราชการจึงไม่ประกาศหรือแจ้งให้ชาวบ้านรู้ว่าคือโครงการอะไร เหตุผลเหล่านี้เป็นเหตุผลของชาวบ้านที่มีต่อโครงการ ซึ่งต่างฝ่ายต่างยืนยันเหตุผลของตนเอง ดังนั้น จึงยังหาข้อสรุปที่ลงตัวไม่ได้