กรีนพีซในเมืองไทย บ้านหลังที่ 3 ในเอเชีย / ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์

By: ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | กรีนพีซ | สิ่งแวดล้อม | มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2543) หน้า 15Summary: นับแต่นี้ไปชื่อ "กรีนพีซ" จะคุ้นหูคุ้นตาและใกล้ชิดกับคนไทยมากไปกว่าการเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่างชาติ เพราะกรีนพีซตัดสินใจแล้วที่จะลงหลักปักฐานในไทย การมาเยือนเมืองไทยของเรือนักรบสายรุ้งในช่วงต้นปีนี้คือ สัญญาณบ่งว่ากรีนพีซได้เลือก (มีต่อ)Summary: ไทยเป็นบ้านหลังต่อไปในเอเชีย ธารา บัวคำศรี เจ้าหน้าที่รณรงค์กรีนพีซ กล่าวถึงเหตุผลที่กรีนพีซสากลเลือกประเทศไทย เป็นที่ตั้งสำนักงานประสานงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า เพราะไทยมีความเหมาะสมในแง่การติดต่อประสานงานเป็นศูนย์กลางการคมนาคม และสื่อมวลชนรวมทั้งกรีนพีซต้องการขยายงานและยกระดับ (มีต่อ)Summary: การรณรงค์ในไทยให้เทียบเท่าฟิลิปปินส์ โดยไทยถือว่าเป็นสำนักงานกรีนพีซแห่งที่3 ในเอเชียต่อจากญี่ปุ่นและฮ่องกง ส่วนประเด็นที่จะเน้นก็ยังคงเป็นงานด้านมลพิษ โดยเฉพาะเรื่องมลพิษอินทรีย์ตกค้าง (Peristent Organic Pollutant : POP) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นหลักของกรีนพีซสากล แต่จะมีการเพิ่มเนื้อหาและขอบข่ายงาน (มีต่อ)Summary: จากเดิมที่ทำเฉพาะแหล่งกำเนิดจากเตาเผาขยะ ธารา กล่าวว่า เมื่อการตั้งสำนักงานเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การทำให้องค์กรเป็นที่รู้จักของสาธารณชนมากขึ้น ในขั้นต้นประเด็นรณรงค์ที่เสริมการระดมทุนคือ การจัดการของเสีย ขยะ ให้คนหันมาสนใจลดขยะ แยกขยะ และ (มีต่อ)Summary: นำมาใช้ใหม่ ในส่วนความคืบหน้าเรื่องการจัดตั้งองค์กรขณะนี้ยังอยู่ในช่วงสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ประจำประเทศไทยและคณะกรรมการมูลนิธิ คาดว่าทุกอย่างจะลงตัวและเริ่มระดมทุนเต็มรูปแบบภายในสิ้นปีนี้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

นับแต่นี้ไปชื่อ "กรีนพีซ" จะคุ้นหูคุ้นตาและใกล้ชิดกับคนไทยมากไปกว่าการเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่างชาติ เพราะกรีนพีซตัดสินใจแล้วที่จะลงหลักปักฐานในไทย การมาเยือนเมืองไทยของเรือนักรบสายรุ้งในช่วงต้นปีนี้คือ สัญญาณบ่งว่ากรีนพีซได้เลือก (มีต่อ)

ไทยเป็นบ้านหลังต่อไปในเอเชีย ธารา บัวคำศรี เจ้าหน้าที่รณรงค์กรีนพีซ กล่าวถึงเหตุผลที่กรีนพีซสากลเลือกประเทศไทย เป็นที่ตั้งสำนักงานประสานงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า เพราะไทยมีความเหมาะสมในแง่การติดต่อประสานงานเป็นศูนย์กลางการคมนาคม และสื่อมวลชนรวมทั้งกรีนพีซต้องการขยายงานและยกระดับ (มีต่อ)

การรณรงค์ในไทยให้เทียบเท่าฟิลิปปินส์ โดยไทยถือว่าเป็นสำนักงานกรีนพีซแห่งที่3 ในเอเชียต่อจากญี่ปุ่นและฮ่องกง ส่วนประเด็นที่จะเน้นก็ยังคงเป็นงานด้านมลพิษ โดยเฉพาะเรื่องมลพิษอินทรีย์ตกค้าง (Peristent Organic Pollutant : POP) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นหลักของกรีนพีซสากล แต่จะมีการเพิ่มเนื้อหาและขอบข่ายงาน (มีต่อ)

จากเดิมที่ทำเฉพาะแหล่งกำเนิดจากเตาเผาขยะ ธารา กล่าวว่า เมื่อการตั้งสำนักงานเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การทำให้องค์กรเป็นที่รู้จักของสาธารณชนมากขึ้น ในขั้นต้นประเด็นรณรงค์ที่เสริมการระดมทุนคือ การจัดการของเสีย ขยะ ให้คนหันมาสนใจลดขยะ แยกขยะ และ (มีต่อ)

นำมาใช้ใหม่ ในส่วนความคืบหน้าเรื่องการจัดตั้งองค์กรขณะนี้ยังอยู่ในช่วงสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ประจำประเทศไทยและคณะกรรมการมูลนิธิ คาดว่าทุกอย่างจะลงตัวและเริ่มระดมทุนเต็มรูปแบบภายในสิ้นปีนี้