หนึ่งมุมมอง สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม ในศตวรรษที่ 21 / สถิรกานต์

By: สถิรกานต์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สิ่งแวดล้อม | มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม | การพัฒนาอุตสาหกรรม In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 112 (มกราคม 2542) หน้า 20 - 22Summary: ปัจจุบันไทยอยู่ในช่วง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (ปี พ.ศ. 2540-2544) แผนนี้ให้ความสำคัญ ด้านการลงทุน ในการควบคุม และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วม ของภาคเอกชน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 จึงเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่จะมีการใส่ใจปัญหา และเตรียมความพร้อม (มีต่อ)Summary: เรื่องสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจาก ช่วงเศรษฐกิจดีแล้ว ไปให้ความสำคัญกับการลงทุนการผลิต โดยที่ละเลย ต่อปัญหา ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และในที่สุด จึงนำ ISO 1400 มาปฏิบัติ และรวมเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการค้า ข้อตกลง ระหว่างประเทศ ในการเลิกใช้สารซีเอฟซี ที่มีผลบังคับใช้ (มีต่อ)Summary: การส่งเสริมสนับสนุน สินค้าฉลากเขียว และการออกกฎหมาย ที่เข้มงวดขึ้น ของรัฐบาล จึงน่าจะเป็น ช่วงเวลาที่องค์กรธุรกิจไทย หน่วยงานภาครัฐบาล และประชาชน ร่วมมือร่วมใจกัน ตระหนักป้องกัน และช่วยกันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และในความสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดของสถาบัน อุตสาหกรรมฯ ที่ช่วยป้องกัน และลดผลกระทบ (มีต่อ)Summary: ต่อสิ่งแวดล้อม คือ การนำแนวคิด เทคโนโลยีสะอาด : Cleaner Technology (CT) หรือ Cleaner Production (CP) มาสู่อุตสาหกรรมและสังคมไทย ซึ่งมุ่งเน้นที่ การป้องกันการเกิดมลพิษ ที่แหล่งกำเนิดมากกว่า การบำบัดมลพิษ ที่เกิดแล้วส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสะอาด จะให้ความสำคัญกับทัศนคติ การบริหารจัดการ (มีต่อ)Summary: พฤติกรรมการทำงาน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า เทคโนโลยีที่เป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีสะอาด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติในทางที่ถูกต้อง โดยการที่กลับมาหาจุดบกพร่อง กระบวนการผลิต และผลผลิต หรือการยอมรับคำติชม ข้อเสนอแนะจากผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้ พบหนทางที่ ลดการสูญเสีย (มีต่อ)Summary: ที่เคยเกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าเทคโนโลยี หรือเครื่องจักร มีการประยุกต์ รับเอาความรู้ วิทยาการ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับปรุงประสิทธิภาพ กระบวนการผลิต การนำเอาระบบการบริหารจัดการที่ดีกว่า มาใช้มาปรับปรุง นโยบาย หรือขั้นตอนการทำงาน เท่าที่จะทำได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี (มีต่อ)Summary: สามารถทำได้หลายวิธี เช่นเปลี่ยนกระบวนการผลิต วัตถุดิบ หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์การนำกลับมาใช้ใหม่ จากประสบการณ์ การตรวจประเมินการนำเทคโนโลยีสะอาดของอุตสาหกรรมสิ่งทอ พบว่าสามารถ (มีต่อ)Summary: ประหยัดการใช้สารเคมีถึง 50% ประหยัดการใช้น้ำ 70% และประหยัดการใช้พลังงาน 40% และในอุตสาหกรรมสิ่งแปรรูปอาหาร ลดการใช้น้ำได้ถึง 805 ลดการใช้ไอน้ำ 50% ลดกากของเสีย 28% ลดปริมาณค่าความสกปรก (มีต่อ)Summary: ในรูปของ BOD ได้ถึง 50% ขณะเดียวกัน ก็เพิ่ม ผลผลิตได้ 3% ในกรณี ศึกษา อุตสาหกรรม กุ้งแช่แข็ง รวมระยะเวลา คืนทุนทาง เทคโนโลยีสะอาด ข้างต้นนั้น อยู่ระหว่าง 1 สัปดาห์ จนถึง 4 ปี ผลประโยชน์ ที่ได้รับ มีทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐศาสตร์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ปัจจุบันไทยอยู่ในช่วง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (ปี พ.ศ. 2540-2544) แผนนี้ให้ความสำคัญ ด้านการลงทุน ในการควบคุม และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วม ของภาคเอกชน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 จึงเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่จะมีการใส่ใจปัญหา และเตรียมความพร้อม (มีต่อ)

เรื่องสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจาก ช่วงเศรษฐกิจดีแล้ว ไปให้ความสำคัญกับการลงทุนการผลิต โดยที่ละเลย ต่อปัญหา ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และในที่สุด จึงนำ ISO 1400 มาปฏิบัติ และรวมเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการค้า ข้อตกลง ระหว่างประเทศ ในการเลิกใช้สารซีเอฟซี ที่มีผลบังคับใช้ (มีต่อ)

การส่งเสริมสนับสนุน สินค้าฉลากเขียว และการออกกฎหมาย ที่เข้มงวดขึ้น ของรัฐบาล จึงน่าจะเป็น ช่วงเวลาที่องค์กรธุรกิจไทย หน่วยงานภาครัฐบาล และประชาชน ร่วมมือร่วมใจกัน ตระหนักป้องกัน และช่วยกันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และในความสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดของสถาบัน อุตสาหกรรมฯ ที่ช่วยป้องกัน และลดผลกระทบ (มีต่อ)

ต่อสิ่งแวดล้อม คือ การนำแนวคิด เทคโนโลยีสะอาด : Cleaner Technology (CT) หรือ Cleaner Production (CP) มาสู่อุตสาหกรรมและสังคมไทย ซึ่งมุ่งเน้นที่ การป้องกันการเกิดมลพิษ ที่แหล่งกำเนิดมากกว่า การบำบัดมลพิษ ที่เกิดแล้วส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสะอาด จะให้ความสำคัญกับทัศนคติ การบริหารจัดการ (มีต่อ)

พฤติกรรมการทำงาน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า เทคโนโลยีที่เป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีสะอาด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติในทางที่ถูกต้อง โดยการที่กลับมาหาจุดบกพร่อง กระบวนการผลิต และผลผลิต หรือการยอมรับคำติชม ข้อเสนอแนะจากผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้ พบหนทางที่ ลดการสูญเสีย (มีต่อ)

ที่เคยเกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าเทคโนโลยี หรือเครื่องจักร มีการประยุกต์ รับเอาความรู้ วิทยาการ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับปรุงประสิทธิภาพ กระบวนการผลิต การนำเอาระบบการบริหารจัดการที่ดีกว่า มาใช้มาปรับปรุง นโยบาย หรือขั้นตอนการทำงาน เท่าที่จะทำได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี (มีต่อ)

สามารถทำได้หลายวิธี เช่นเปลี่ยนกระบวนการผลิต วัตถุดิบ หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์การนำกลับมาใช้ใหม่ จากประสบการณ์ การตรวจประเมินการนำเทคโนโลยีสะอาดของอุตสาหกรรมสิ่งทอ พบว่าสามารถ (มีต่อ)

ประหยัดการใช้สารเคมีถึง 50% ประหยัดการใช้น้ำ 70% และประหยัดการใช้พลังงาน 40% และในอุตสาหกรรมสิ่งแปรรูปอาหาร ลดการใช้น้ำได้ถึง 805 ลดการใช้ไอน้ำ 50% ลดกากของเสีย 28% ลดปริมาณค่าความสกปรก (มีต่อ)

ในรูปของ BOD ได้ถึง 50% ขณะเดียวกัน ก็เพิ่ม ผลผลิตได้ 3% ในกรณี ศึกษา อุตสาหกรรม กุ้งแช่แข็ง รวมระยะเวลา คืนทุนทาง เทคโนโลยีสะอาด ข้างต้นนั้น อยู่ระหว่าง 1 สัปดาห์ จนถึง 4 ปี ผลประโยชน์ ที่ได้รับ มีทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐศาสตร์