การศึกษาปริมาณฝุ่นที่มีผลกระทบต่อการหายใจ / อรุบล โชติพงศ์

By: อรุบล โชติพงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สิ่งแวดล้อม -- ฝุ่น | ฝุ่น In: วิจัยสภาวะแวดล้อม ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2542) หน้า 16-28Summary: การศึกษาปริมาณฝุ่นที่มีผลกระทบต่อการหายใจ โดยการทำการตรวจวัดฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน และปริมาณฝุ่นรวมพบว่าในบริเวณสถานีตรวจวัดจำนวน 4สถานีคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมประชาสัมพันธ์ ถนนวิภาวดีรังสิต วัดมณฑป เขตตลิ่งชัน และหมวดการทางพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (มีต่อ)Summary: ปริมาณฝุ่นทั้ง 2ประเภท มีแนวโน้มสูงกว่าในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และในสถานีที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการจราจรคือ กรมประชาสัมพันธ์ มีปริมาณเฉลี่ยของฝุ่นรวมและฝุ่นที่ขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน มากกว่าสถานีอื่นทั้ง 2ช่วงมรสุม อัตราการกระจายตัวของฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน ในฝุ่น (มีต่อ)Summary: รวมไม่ได้มีค่าแปรผันตามปริมาณฝุ่นรวมในอัตราเดียวกันในทุกๆ สถานี แต่มีความเฉพาะแตกต่างไปตามลักษณะกิจกรรมของบริเวณนั้นๆ สรุปได้ว่าสัดส่วนของฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน พบว่าในทุกสถานีมีค่ามากกว่า 0.97ขึ้นไป ทั้งสองช่วงลมมรสุม ส่วนการศึกษาการกระจายของโลหะในฝุ่นรวมแลฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า (มีต่อ)Summary: 10 ไมครอน พบว่า ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง มีการกระจายตัวในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนและเมื่อเปรียบเทียบการกระจายตัวของฝุ่นโลหะทั้งตะกั่ว สังกะสี และทองแดง พบว่าการกระจายตัวของโลหะในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มมากกว่าในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนแมงกานีสไม่สามารถระบุได้ชัดเจน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาปริมาณฝุ่นที่มีผลกระทบต่อการหายใจ โดยการทำการตรวจวัดฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน และปริมาณฝุ่นรวมพบว่าในบริเวณสถานีตรวจวัดจำนวน 4สถานีคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมประชาสัมพันธ์ ถนนวิภาวดีรังสิต วัดมณฑป เขตตลิ่งชัน และหมวดการทางพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (มีต่อ)

ปริมาณฝุ่นทั้ง 2ประเภท มีแนวโน้มสูงกว่าในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และในสถานีที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการจราจรคือ กรมประชาสัมพันธ์ มีปริมาณเฉลี่ยของฝุ่นรวมและฝุ่นที่ขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน มากกว่าสถานีอื่นทั้ง 2ช่วงมรสุม อัตราการกระจายตัวของฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน ในฝุ่น (มีต่อ)

รวมไม่ได้มีค่าแปรผันตามปริมาณฝุ่นรวมในอัตราเดียวกันในทุกๆ สถานี แต่มีความเฉพาะแตกต่างไปตามลักษณะกิจกรรมของบริเวณนั้นๆ สรุปได้ว่าสัดส่วนของฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10ไมครอน พบว่าในทุกสถานีมีค่ามากกว่า 0.97ขึ้นไป ทั้งสองช่วงลมมรสุม ส่วนการศึกษาการกระจายของโลหะในฝุ่นรวมแลฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า (มีต่อ)

10 ไมครอน พบว่า ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง มีการกระจายตัวในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนและเมื่อเปรียบเทียบการกระจายตัวของฝุ่นโลหะทั้งตะกั่ว สังกะสี และทองแดง พบว่าการกระจายตัวของโลหะในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มมากกว่าในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนแมงกานีสไม่สามารถระบุได้ชัดเจน