การศึกษามาตรการด้านผังเมืองควบคุมสภาวะแวดล้อมของเมืองท่องเที่ยวชายทะเล กรณีศึกษา : เมืองพัทยา / นพนันท์ ตาปนานนท์, ลือชัย ครุธน้อย

By: นพนันท์ ตาปนานนท์Contributor(s): ลือชัย ครุธน้อยCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พัทยา -- สิ่งแวดล้อม In: วิจัยสภาวะแวดล้อม ปีที่ 21 เล่มที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2542) หน้า 43 - 57Summary: เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีความสวยงามและสำคัญของประเทศ ข้อได้เปรียบของเมืองพัทยาในด้านของภูมิประเทศและความสะดวกในการคมนาคม อีกทั้งระยะทางซึ่งไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เมืองพัทยามีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขยายตัวดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองพัทยาอย่างมาก ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพของการพัฒนาและปัญหาสภาวะแวดล้อมของเมือง แผนและมาตรการการควบคุมในพื้นที่ รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้มาตรการการควบคุมที่ผ่านมา (มีต่อ)Summary: เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมสภาวะแวดล้อมของเมือง การศึกษาครั้งนี้พบว่าปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเมืองพัทยาที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ ปัญหามลพิษต่างๆ นั้นเป็นผลจากความไม่สมดุลย์ของกิจกรรมการใช้ที่ดินกับความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของเมือง ขณะที่เมืองพัทยามีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมกิจกรรมการใช้ที่ดิน (มีต่อ)Summary: ซึ่งประกอบไปด้วย 1.กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2522) ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2471 ว่าด้วยการควบคุมก่อสร้างริมทะเลหาดพัทยา จอมเทียน 2.กฎกระทรวงฉบับที่ 61 (พ.ศ.2531) ออกตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 ปัจจุบันเมืองพัทยากำลังมีการปรับปรุงผังเมืองรวมครั้งที่2 3.พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 4.ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่องการกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการควบคุมสิ่งแวดล้อมบริเวณเมืองพัทยา พ.ศ.2535 (ฉบับที่2 พ.ศ.2540) (มีต่อ)Summary: ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เมืองพัทยาใช้ข้อกฎหมายต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วควบคุมการก่อสร้าง และทิศทางการขยายตัวของเมืองแต่ไม่ปรากฎว่ามีข้อบัญญัติของเมืองในการควบคุมการก่อสร้าง แม้ว่าจะมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายในบริเวณเมืองพัทยา แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจาก 1.ความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการพัฒนาที่ดินของภาคเอกชนกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของเมือง (มีต่อ)Summary: 2. มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ไม่ชัดเจนในการควบคุมและการบังคับใช้ นอกจากนี้แล้วยังพบว่ามาตรการต่างๆ ที่มีอยู่เป็นการกำหนดข้อห้าม และไม่มีมาตรการเสริมเพื่อให้เกิดความชัดเจนในรูปแบบของเมือง และกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการประกอบกิจกรรม 3.ในส่วนของการบังคับใช้และความชัดเจนในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายต่างๆ ควรมีการประสานกันทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติในการร่วมกันกำหนดกรอบแนวปฎิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีความสวยงามและสำคัญของประเทศ ข้อได้เปรียบของเมืองพัทยาในด้านของภูมิประเทศและความสะดวกในการคมนาคม อีกทั้งระยะทางซึ่งไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เมืองพัทยามีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขยายตัวดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองพัทยาอย่างมาก ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพของการพัฒนาและปัญหาสภาวะแวดล้อมของเมือง แผนและมาตรการการควบคุมในพื้นที่ รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้มาตรการการควบคุมที่ผ่านมา (มีต่อ)

เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมสภาวะแวดล้อมของเมือง การศึกษาครั้งนี้พบว่าปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเมืองพัทยาที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ ปัญหามลพิษต่างๆ นั้นเป็นผลจากความไม่สมดุลย์ของกิจกรรมการใช้ที่ดินกับความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของเมือง ขณะที่เมืองพัทยามีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมกิจกรรมการใช้ที่ดิน (มีต่อ)

ซึ่งประกอบไปด้วย 1.กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2522) ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2471 ว่าด้วยการควบคุมก่อสร้างริมทะเลหาดพัทยา จอมเทียน 2.กฎกระทรวงฉบับที่ 61 (พ.ศ.2531) ออกตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 ปัจจุบันเมืองพัทยากำลังมีการปรับปรุงผังเมืองรวมครั้งที่2 3.พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 4.ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่องการกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการควบคุมสิ่งแวดล้อมบริเวณเมืองพัทยา พ.ศ.2535 (ฉบับที่2 พ.ศ.2540) (มีต่อ)

ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เมืองพัทยาใช้ข้อกฎหมายต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วควบคุมการก่อสร้าง และทิศทางการขยายตัวของเมืองแต่ไม่ปรากฎว่ามีข้อบัญญัติของเมืองในการควบคุมการก่อสร้าง แม้ว่าจะมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายในบริเวณเมืองพัทยา แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจาก 1.ความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการพัฒนาที่ดินของภาคเอกชนกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของเมือง (มีต่อ)

2. มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ไม่ชัดเจนในการควบคุมและการบังคับใช้ นอกจากนี้แล้วยังพบว่ามาตรการต่างๆ ที่มีอยู่เป็นการกำหนดข้อห้าม และไม่มีมาตรการเสริมเพื่อให้เกิดความชัดเจนในรูปแบบของเมือง และกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการประกอบกิจกรรม 3.ในส่วนของการบังคับใช้และความชัดเจนในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายต่างๆ ควรมีการประสานกันทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติในการร่วมกันกำหนดกรอบแนวปฎิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน