โดมความร้อนเหนือมหานคร วิธีการตรวจวัดและแนวทางการควบคุม / จริยา บุญญวัฒน์

By: จริยา บุญญวัฒน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สิ่งแวดล้อม | โดมความร้อนเหนือมหานคร In: สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3 ฉบับที่ 14 (กรกฎาคม-กันยายน 2542) หน้า 22 - 31Summary: โดมความร้อนเหนือมหานคร คือ มลภาวะทางความร้อนที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์เป็นปรากฎการณ์ที่อุณหภูมิในเมืองสูงกว่าบริเวณชานเมืองกรุงลอนดอน แสดงปรากฎการณ์นี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และต่อมาก็พบในเมืองใหญ่ทั่วไปในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียตะวันออก เช่น โตเกียวโดมความร้อนเหนือมหานครสังเกตได้ชัดเจนในหน้าหนาว โดยเฉพาะช่วงกลางคืน เมืองที่ตั้งอยู่ในเขตหนาวและเขตอบอุ่น จะได้รับผลประโยชน์จากปรากฎการณ์นี้ เพราะช่วยประหยัดพลังงานและเชื้อเพลิงในหน้าหนาว (มีต่อ)Summary: แต่การพัฒนาเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ทำให้เมืองในภูมิภาคนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กรุงเทพมหานครเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับ "โดมความร้อน" ซึ่งจัดโดยศูฯญ์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิธีการศึกษามีดังนี้ 1.การวิเคราะห์ข้อมูลด้านภูมิอากาศและการขยายตัวของกรุงเทพฯ 2.การติดตั้งระบบการตรวจวัดภาคพื้นดินเพื่อวัดอุณหภูมิ 3.ตรวจวัดอุณหภูมิที่ระดับสูงจากพื้นดินในแนวดิ่งโดยใช้บอลลูน (มีต่อ)Summary: 4.เครื่องวัดพลังงานความร้อน 5.วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและอุณหภูมิของสิ่งปกคลุมดิน 6.นำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ แนวทางการแก้ไขและควบคุมปรากฎการณ์โดมความร้อนของกรุงเทพมหานครคือ 1.เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างสวนสาธารณะ จะสามารถลดอุณหภูมิอากาศในฤดูร้อนได้ 5-6 องศาเซลเซียส 2.อนุรักษ์แหล่งน้ำที่ยังพอมีในกรุงเทพมหานคร และควรขุดเพิ่มเติมและรักษาความสะอาด (มีต่อ)Summary: 3.ขนาดและความสูงของอาคาร ลักษณะการวางแผนถนนจะต้องอยู่ในการควบคุมไม่ให้กีดขวางทางลม 4.ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนพลังงานเชื้อเพลิง ควรมีการให้ความรู้ความเข้าใจในด้านผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและอนาคต โดยอาศัยระบบการศึกษาที่เปิดกว้างจะเป็นกลไกที่ช่วยให้สังคมดูแลสิ่งแวดล้อม ด้วยความสำนึกในคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โดมความร้อนเหนือมหานคร คือ มลภาวะทางความร้อนที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์เป็นปรากฎการณ์ที่อุณหภูมิในเมืองสูงกว่าบริเวณชานเมืองกรุงลอนดอน แสดงปรากฎการณ์นี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และต่อมาก็พบในเมืองใหญ่ทั่วไปในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียตะวันออก เช่น โตเกียวโดมความร้อนเหนือมหานครสังเกตได้ชัดเจนในหน้าหนาว โดยเฉพาะช่วงกลางคืน เมืองที่ตั้งอยู่ในเขตหนาวและเขตอบอุ่น จะได้รับผลประโยชน์จากปรากฎการณ์นี้ เพราะช่วยประหยัดพลังงานและเชื้อเพลิงในหน้าหนาว (มีต่อ)

แต่การพัฒนาเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ทำให้เมืองในภูมิภาคนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กรุงเทพมหานครเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับ "โดมความร้อน" ซึ่งจัดโดยศูฯญ์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิธีการศึกษามีดังนี้ 1.การวิเคราะห์ข้อมูลด้านภูมิอากาศและการขยายตัวของกรุงเทพฯ 2.การติดตั้งระบบการตรวจวัดภาคพื้นดินเพื่อวัดอุณหภูมิ 3.ตรวจวัดอุณหภูมิที่ระดับสูงจากพื้นดินในแนวดิ่งโดยใช้บอลลูน (มีต่อ)

4.เครื่องวัดพลังงานความร้อน 5.วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและอุณหภูมิของสิ่งปกคลุมดิน 6.นำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ แนวทางการแก้ไขและควบคุมปรากฎการณ์โดมความร้อนของกรุงเทพมหานครคือ 1.เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างสวนสาธารณะ จะสามารถลดอุณหภูมิอากาศในฤดูร้อนได้ 5-6 องศาเซลเซียส 2.อนุรักษ์แหล่งน้ำที่ยังพอมีในกรุงเทพมหานคร และควรขุดเพิ่มเติมและรักษาความสะอาด (มีต่อ)

3.ขนาดและความสูงของอาคาร ลักษณะการวางแผนถนนจะต้องอยู่ในการควบคุมไม่ให้กีดขวางทางลม 4.ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนพลังงานเชื้อเพลิง ควรมีการให้ความรู้ความเข้าใจในด้านผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและอนาคต โดยอาศัยระบบการศึกษาที่เปิดกว้างจะเป็นกลไกที่ช่วยให้สังคมดูแลสิ่งแวดล้อม ด้วยความสำนึกในคุณค่าของสิ่งแวดล้อม