ก้าวตามรอยเท้าพ่อ / สถิรกานต์

By: สถิรกานต์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 113 (กุมภาพันธ์ 2542) หน้า 20-24Summary: โครงการหลวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ มีด้วยกันหลายพื้นที่ เริ่มต้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการห้วยลึก ที่ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว ที่นี่ได้จัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยฝั่งตะวันออก 200 ไร่ จัดสร้างอ่างเก็บน้อและพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันตก 408 ไร่ ส่งเสริมอาชีพแก่ชาวเขาเผ่าม้ง กระเหรี่ยงและคนเมืองในหมู่บ้านห้วยลึก โดยยึดหลักช่วยให้เขาช่วยตัวเอง มีโครงการนำร่องก่อน การดำเนินการส่วนใหญ่จะเน้นการส่งเสริม (มีต่อ)Summary: ขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยควบคู่ไปด้วย ทั้งส่วนพืชผักเมืองหนาว พัฒนาเทคนิคการผลิตผักให้ได้คุณภาพด้วยการให้ปุ๋ยทางน้ำ รวมทั้งงานวิจัยไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ และไม้ผล โครงการหลวงโครงการต่อมาคือที่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้ม ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง ที่นี่มีเขตติดชายแดนพม่าและอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีการทดลองพันธุ์ไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ เพื่อนำไปส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกแทนฝิ่น เป็นสถานที่ฝึกอบรมและเผยแพร่ผลงานแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรรวมทั้งผลิตและขยายพันธุ์พืช (มีต่อ)Summary: และนอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ศึกษาวิจัยไม้ผลเขตหนาวที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย มีทั้งไม้ผล พืชเครื่องดื่ม พืชผัก สมุนไพร พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ ระบบงานเกษตรและงานวิจัยแมลงศัตรูป่าไม้ ต่อมาคือ "นอแล" เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าปะหล่องชายแดนไทยพม่า ซึ่งอพยพมาเมื่อครั้งอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดที่อยู่และที่ทำกิน รวมทั้งบัตรอนุญาตอยู่อาศัย ปัจจุบันมีลูกบ้าน 763 คน อาชีพหลักของชาวบ้านคือ การปลูกไม้ผล สตอบอรี่ โรงเรือนไม้ตัดดอกและทำไร่ข้าว (มีต่อ)Summary: จุดต่อมาคือ "สวนบอนไซ" เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สน ไม้แคระ เมืองหนาวและไม้ประดับ รวมทั้งพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นอาหารและยาของชาวเขาประมาณ 90 ชนิด ในสวนหินธรรมชาติ และนอกจากนี้ยังมีโดมอนุรักษ์และจัดแสดงพืชภูเขาเขตร้อน ซึ่งมีกล้วยไม้ที่เล็กที่สุดในโลกอยู่ด้วย และโครงการสุดท้ายคือ "ศูนย์พัฒนาโครงการหนองคอย" ซึ่งเป็นโครงการหลวงที่เข้าไปมีบทบาท เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาการปลูกฝิ่น จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2527 เป็นต้นมา ชาวบ้านที่มีทั้งชาวเขาเผ่าม้ง ลีซอและคนพื้นเมือง ศูนย์ฯ นี้เป็นโครงการหลวงที่ปลูกผักมากที่สุด ทำรายได้ในปีที่ผ่านมา ถึงสิบกว่าล้านบาท นอกจากผักแล้วยังมีไม้ผลพวกพืช พลับ บ๊วย อโวกาโด และสตอเบอรี่ ไม้ดอกและพืชสมุนไพรนานาพันธุ์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โครงการหลวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ มีด้วยกันหลายพื้นที่ เริ่มต้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการห้วยลึก ที่ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว ที่นี่ได้จัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยฝั่งตะวันออก 200 ไร่ จัดสร้างอ่างเก็บน้อและพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันตก 408 ไร่ ส่งเสริมอาชีพแก่ชาวเขาเผ่าม้ง กระเหรี่ยงและคนเมืองในหมู่บ้านห้วยลึก โดยยึดหลักช่วยให้เขาช่วยตัวเอง มีโครงการนำร่องก่อน การดำเนินการส่วนใหญ่จะเน้นการส่งเสริม (มีต่อ)

ขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยควบคู่ไปด้วย ทั้งส่วนพืชผักเมืองหนาว พัฒนาเทคนิคการผลิตผักให้ได้คุณภาพด้วยการให้ปุ๋ยทางน้ำ รวมทั้งงานวิจัยไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ และไม้ผล โครงการหลวงโครงการต่อมาคือที่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้ม ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง ที่นี่มีเขตติดชายแดนพม่าและอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีการทดลองพันธุ์ไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ เพื่อนำไปส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกแทนฝิ่น เป็นสถานที่ฝึกอบรมและเผยแพร่ผลงานแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรรวมทั้งผลิตและขยายพันธุ์พืช (มีต่อ)

และนอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ศึกษาวิจัยไม้ผลเขตหนาวที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย มีทั้งไม้ผล พืชเครื่องดื่ม พืชผัก สมุนไพร พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ ระบบงานเกษตรและงานวิจัยแมลงศัตรูป่าไม้ ต่อมาคือ "นอแล" เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าปะหล่องชายแดนไทยพม่า ซึ่งอพยพมาเมื่อครั้งอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดที่อยู่และที่ทำกิน รวมทั้งบัตรอนุญาตอยู่อาศัย ปัจจุบันมีลูกบ้าน 763 คน อาชีพหลักของชาวบ้านคือ การปลูกไม้ผล สตอบอรี่ โรงเรือนไม้ตัดดอกและทำไร่ข้าว (มีต่อ)

จุดต่อมาคือ "สวนบอนไซ" เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สน ไม้แคระ เมืองหนาวและไม้ประดับ รวมทั้งพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นอาหารและยาของชาวเขาประมาณ 90 ชนิด ในสวนหินธรรมชาติ และนอกจากนี้ยังมีโดมอนุรักษ์และจัดแสดงพืชภูเขาเขตร้อน ซึ่งมีกล้วยไม้ที่เล็กที่สุดในโลกอยู่ด้วย และโครงการสุดท้ายคือ "ศูนย์พัฒนาโครงการหนองคอย" ซึ่งเป็นโครงการหลวงที่เข้าไปมีบทบาท เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาการปลูกฝิ่น จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2527 เป็นต้นมา ชาวบ้านที่มีทั้งชาวเขาเผ่าม้ง ลีซอและคนพื้นเมือง ศูนย์ฯ นี้เป็นโครงการหลวงที่ปลูกผักมากที่สุด ทำรายได้ในปีที่ผ่านมา ถึงสิบกว่าล้านบาท นอกจากผักแล้วยังมีไม้ผลพวกพืช พลับ บ๊วย อโวกาโด และสตอเบอรี่ ไม้ดอกและพืชสมุนไพรนานาพันธุ์