การออกแบบและทดสอบระบบการกลั่นน้ำมันปาล์มขนาดเล็กแบบฟิล์มบาง / สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): สัณห์ชัย กลิ่นพิกุลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น้ำมันปาล์ม | อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 22 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2543) หน้า 507-514Summary: โครการวิจัยเพื่อออกแบบระบบการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธ์ขนาดเล็กเป็นโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการแปรรูปน้ำมันปาล์มต่อเนื่องครบวงจรของโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จำนวน 3.2771 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2540-2542 โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนากระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์แบบต่อเนื่อง ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบกะ และจากการที่ได้สำรวจเอกสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีการกลั่นน้ำมัน (มีต่อ)Summary: รวมทั้งการศึกษาดูงานได้พิจารณาเลือกกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์แบบต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีฟิล์มบาง (thin film) จากนั้นก็ได้ทำการออกแบบคำนวณเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยกำหนดขนาดกำลังผลิตที่ 9 ลิตร/นาที หรือประมาณ 12 ตัน CPO/วัน ทำการสร้างเครื่องจักรจัดซื้ออุปกรณ์และติดตั้งทดสอบการรั่วซึม และทำการทดลองกลั่น พร้อมทั้งปรับปรุง แก้ไข จนกระทั่งได้ผลสรุปว่าหอกลั่นฟิล์มบางจะทำงานได้ดีที่สุดที่อัตราการไหล 5 ลิตร/นาที หรือ 6.6 ตัน CPO/วัน โดยเร่งอุณหภูมิน้ำมันปาล์มในหอกลั่นได้ 250-290 องศาเซลเซียส สร้างสุญญากาศได้ 740 มม.ปรอท น้ำมันปาล์มใช้เวลาอยู่ในหอกลั่น 21-35 นาที (มีต่อ)Summary: จากการทดลองพบว่า ถ้าพ่นไอน้ำเข้าทั้งในถึงดูดกลิ่น และพ่นเข้าโดยตรงใต้หอกลั่นที่อุณหภูมิ 230 องศาเซลเซียส และความดัน 3 บาร์ จะสามารถลดกรด FFA จาก 5-9% เหลือ 0.5% จากการวิเคราะห์ต้นทุนการแปรรูปน้ำมันปาล์มได้เท่ากับ 0.87 บาทต่อกก. น้ำมัน RBD และเมื่อทำการวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน สรุปได้ว่าโรงงานขนาดกำลังผลิต 6.6 ตัน/วัน ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 7.28 ล้านบาท และมีผลตอบแทนการลงทุนเพียง 24.40% ซึ่งยังไม่สมควรลงทุนในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (มีต่อ)Summary: ที่คิดว่า MARR ไว้ที่ 30% อย่างไรก็ดีถ้าหากจะทำการลงทุนก็ควรจะสร้างโรงงานที่มีขนาดกำลังผลิต 16.5 CPO/วัน จะมีผลตอบแทนการลงทุน 34.80% โดยมีส่วนต่างๆ ของราคาน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมัน RBD ประมาณ 7.00 บาท ในการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการปรับปรุงแก้ไขอุปกรณ์กลั่นน้ำมันปาล์มให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น โดยยกระดับความสูงของหอกลั่นและออกแบบถังดูดกลิ่นใหม่ และควรมีการวิจัยเพื่อนำเอากรดไขมันซึ่งเป็นผลพลอยได้ของโรงงานมาพัฒนาแปรรูปเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมโอเลโอเคมิคัลต่อไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โครการวิจัยเพื่อออกแบบระบบการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธ์ขนาดเล็กเป็นโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการแปรรูปน้ำมันปาล์มต่อเนื่องครบวงจรของโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จำนวน 3.2771 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2540-2542 โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนากระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์แบบต่อเนื่อง ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบกะ และจากการที่ได้สำรวจเอกสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีการกลั่นน้ำมัน (มีต่อ)

รวมทั้งการศึกษาดูงานได้พิจารณาเลือกกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์แบบต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีฟิล์มบาง (thin film) จากนั้นก็ได้ทำการออกแบบคำนวณเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยกำหนดขนาดกำลังผลิตที่ 9 ลิตร/นาที หรือประมาณ 12 ตัน CPO/วัน ทำการสร้างเครื่องจักรจัดซื้ออุปกรณ์และติดตั้งทดสอบการรั่วซึม และทำการทดลองกลั่น พร้อมทั้งปรับปรุง แก้ไข จนกระทั่งได้ผลสรุปว่าหอกลั่นฟิล์มบางจะทำงานได้ดีที่สุดที่อัตราการไหล 5 ลิตร/นาที หรือ 6.6 ตัน CPO/วัน โดยเร่งอุณหภูมิน้ำมันปาล์มในหอกลั่นได้ 250-290 องศาเซลเซียส สร้างสุญญากาศได้ 740 มม.ปรอท น้ำมันปาล์มใช้เวลาอยู่ในหอกลั่น 21-35 นาที (มีต่อ)

จากการทดลองพบว่า ถ้าพ่นไอน้ำเข้าทั้งในถึงดูดกลิ่น และพ่นเข้าโดยตรงใต้หอกลั่นที่อุณหภูมิ 230 องศาเซลเซียส และความดัน 3 บาร์ จะสามารถลดกรด FFA จาก 5-9% เหลือ 0.5% จากการวิเคราะห์ต้นทุนการแปรรูปน้ำมันปาล์มได้เท่ากับ 0.87 บาทต่อกก. น้ำมัน RBD และเมื่อทำการวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน สรุปได้ว่าโรงงานขนาดกำลังผลิต 6.6 ตัน/วัน ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 7.28 ล้านบาท และมีผลตอบแทนการลงทุนเพียง 24.40% ซึ่งยังไม่สมควรลงทุนในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (มีต่อ)

ที่คิดว่า MARR ไว้ที่ 30% อย่างไรก็ดีถ้าหากจะทำการลงทุนก็ควรจะสร้างโรงงานที่มีขนาดกำลังผลิต 16.5 CPO/วัน จะมีผลตอบแทนการลงทุน 34.80% โดยมีส่วนต่างๆ ของราคาน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมัน RBD ประมาณ 7.00 บาท ในการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการปรับปรุงแก้ไขอุปกรณ์กลั่นน้ำมันปาล์มให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น โดยยกระดับความสูงของหอกลั่นและออกแบบถังดูดกลิ่นใหม่ และควรมีการวิจัยเพื่อนำเอากรดไขมันซึ่งเป็นผลพลอยได้ของโรงงานมาพัฒนาแปรรูปเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมโอเลโอเคมิคัลต่อไป