ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน / ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์

By: ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | น้ำเสีย -- การบำบัด In: โรงงาน ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2541-มกราคม 2542) หน้า 24 - 28Summary: น้ำเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยไม่มีการบำบัด ทำให้แหล่งน้ำต่างๆ ไม่สามารถฟอกตัวเองโดยธรรมชาติได้ เนื่องจากความสกปรกของน้ำเสียมีมากขึ้นตามความเจริญของเมือง และจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว การแก้ไขปัญหาน้ำเสียให้ถูกจุดหรือตรงประเด็นจะต้องลดความสกปรกของน้ำเสียหรือระงับไม่ให้การปล่อยทิ้งน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย สามารถทำได้โดยการลดปริมาณ และความสกปรกของน้ำเสียที่แหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น การลดใช้นำ การนำน้ำกลับไปใช้ใหม่ การนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร การสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น (มีต่อ)Summary: ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนมีอยู่หลายประเภท การเลือกใช้จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมหลายด้าน เช่น ปริมาณและความสกปรกของน้ำเสีย สภาพพื้นที่ชุมชน ราคาที่ดิน และค่าก่อสร้าง เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาคัดเลือกระบบน้ำเสียที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารถควบคุมดูแลและบำรุงรักษาได้ แหล่งกำเนิดของน้ำเสียแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ น้ำเสียชุมชน, น้ำเสียอุตสาหกรรม น้ำเสียเกษตรกรรม (มีต่อ)Summary: การศึกษาความเหมาะสมของระบบบำบัดน้ำเสีย คือ สำรวจ ศึกษาสภาพของน้ำเสีย, ประเมินน้ำเสีย, วิเคราะห์, หาสถานที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย, ศึกษาเปรียบเทียบกำหนดแผนการก่อสร้าง การรวบรวมน้ำเสียมี 2 แบบ คือ ระบบแยก (Separated System) ระบบรวม (Combined System) ระบบบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธี เช่น การกรองด้วยตะแกรง การตกตะกอน โดยจะแบ่งการทำงานออกเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจาก การบำบัดขั้นต้น (Screening) การบำบัดขั้นที่ 2 (Secondary Tretment) เป็นวิธีทางชีววิทยา, การบำบัดขั้นสูง เป็นระบบที่แยก กำจัดธาตุอาหาร, การบำบัดสลัดจ์ เพื่อลดปริมาณของน้ำในการตกตะกอน ทำลายเชื้อโรคและลดกลิ่น วิธีเลือกระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ดูที่ราคาประหยัดที่สุด สภาพท้องถิ่น ราคาที่ดิน น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

น้ำเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยไม่มีการบำบัด ทำให้แหล่งน้ำต่างๆ ไม่สามารถฟอกตัวเองโดยธรรมชาติได้ เนื่องจากความสกปรกของน้ำเสียมีมากขึ้นตามความเจริญของเมือง และจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว การแก้ไขปัญหาน้ำเสียให้ถูกจุดหรือตรงประเด็นจะต้องลดความสกปรกของน้ำเสียหรือระงับไม่ให้การปล่อยทิ้งน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย สามารถทำได้โดยการลดปริมาณ และความสกปรกของน้ำเสียที่แหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น การลดใช้นำ การนำน้ำกลับไปใช้ใหม่ การนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร การสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น (มีต่อ)

ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนมีอยู่หลายประเภท การเลือกใช้จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมหลายด้าน เช่น ปริมาณและความสกปรกของน้ำเสีย สภาพพื้นที่ชุมชน ราคาที่ดิน และค่าก่อสร้าง เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาคัดเลือกระบบน้ำเสียที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารถควบคุมดูแลและบำรุงรักษาได้ แหล่งกำเนิดของน้ำเสียแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ น้ำเสียชุมชน, น้ำเสียอุตสาหกรรม น้ำเสียเกษตรกรรม (มีต่อ)

การศึกษาความเหมาะสมของระบบบำบัดน้ำเสีย คือ สำรวจ ศึกษาสภาพของน้ำเสีย, ประเมินน้ำเสีย, วิเคราะห์, หาสถานที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย, ศึกษาเปรียบเทียบกำหนดแผนการก่อสร้าง การรวบรวมน้ำเสียมี 2 แบบ คือ ระบบแยก (Separated System) ระบบรวม (Combined System) ระบบบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธี เช่น การกรองด้วยตะแกรง การตกตะกอน โดยจะแบ่งการทำงานออกเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจาก การบำบัดขั้นต้น (Screening) การบำบัดขั้นที่ 2 (Secondary Tretment) เป็นวิธีทางชีววิทยา, การบำบัดขั้นสูง เป็นระบบที่แยก กำจัดธาตุอาหาร, การบำบัดสลัดจ์ เพื่อลดปริมาณของน้ำในการตกตะกอน ทำลายเชื้อโรคและลดกลิ่น วิธีเลือกระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ดูที่ราคาประหยัดที่สุด สภาพท้องถิ่น ราคาที่ดิน น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก