การศึกษาการสกัดไคตินและไคโตแวนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจุของการแลกเปลี่ยนไอออนบวกของไคโตแซน / ศักดา ไตรศักดิ์

By: ศักดา ไตรศักดิ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ไคโตแซน | ไคติน | วิทยาศาสตร์ -- วิจัย | กุ้ง -- วิจัย | SCI-TECH In: วิทยาศาสตร์ลาดกระบัง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม 2540) หน้า 26 - 35Summary: การศึกษาปริมาณของไคตินและไคโตแซนจากเปลือกกุ้งชนิดต่าง ๆ และศึกษาค่าความจุของการแลกเปลี่ยนไอออนบวกของไคโตแซนทั้งในสภาวะที่ไอออนแต่ละชนิดแยกกันอยู่ และสภาพที่ไอออนหลายชนิดอยู่รวมกันในสารละลาย เพื่อศึกษาถึงความจำเพาะและหาข้อสรุปของปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจับไอออนบวกของไคโตแซน โดยไอออนบวกที่เลือกศึกษาได้แก่ Fe Cu Zn Cd และ Pb การศึกษาพบว่ากุ้งกุลาดำมีปริมาณไคตินและไคโตแซนมากที่สุด รองลงมาได้แก่กุ้งลายน้ำตาล กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม กุ้งโอคัก กุ้งลายหิน และกุ้งแชบ๊วย การหาค่าความจุไอออนบวกของไคโตแซนศึกษาโดยใช้เทคนิค Atomic Absorption spectroscopy จากการวิจัยพบว่าไคโตแซนที่ใช้เวลาสกัดนาน 2 ชั่วโมง มีความสามารถในการจับไอออนบวกได้ดีกว่าไคโตแซนที่ใช้เวลาสกัดเพียง 1 ชั่วโมง และพบว่าลำดับของไอออนบวกที่ถูกจับโดยไคโตแซนมีลำดับเป็น Cu > Zn > Pb ~ Cd > Fe โดยลำดับนี้จะเหมือนกันทั้งใรสารละลายของไอออนแต่ละชนิดและสารละลายที่มีไอออนเหล่านี้อยู่รวมกัน นอกจากนี้ข้อมูลของความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกยังบ่งชี้ว่าขนาดและประจุของไอออนโลหะมีอิทธิพลต่อความจุของการแลกเปลี่ยนไอออนบวกของไคโตแซนมากกว่าธรรมชาติของไอออนโลหะ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาปริมาณของไคตินและไคโตแซนจากเปลือกกุ้งชนิดต่าง ๆ และศึกษาค่าความจุของการแลกเปลี่ยนไอออนบวกของไคโตแซนทั้งในสภาวะที่ไอออนแต่ละชนิดแยกกันอยู่ และสภาพที่ไอออนหลายชนิดอยู่รวมกันในสารละลาย เพื่อศึกษาถึงความจำเพาะและหาข้อสรุปของปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจับไอออนบวกของไคโตแซน โดยไอออนบวกที่เลือกศึกษาได้แก่ Fe Cu Zn Cd และ Pb การศึกษาพบว่ากุ้งกุลาดำมีปริมาณไคตินและไคโตแซนมากที่สุด รองลงมาได้แก่กุ้งลายน้ำตาล กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม กุ้งโอคัก กุ้งลายหิน และกุ้งแชบ๊วย การหาค่าความจุไอออนบวกของไคโตแซนศึกษาโดยใช้เทคนิค Atomic Absorption spectroscopy จากการวิจัยพบว่าไคโตแซนที่ใช้เวลาสกัดนาน 2 ชั่วโมง มีความสามารถในการจับไอออนบวกได้ดีกว่าไคโตแซนที่ใช้เวลาสกัดเพียง 1 ชั่วโมง และพบว่าลำดับของไอออนบวกที่ถูกจับโดยไคโตแซนมีลำดับเป็น Cu > Zn > Pb ~ Cd > Fe โดยลำดับนี้จะเหมือนกันทั้งใรสารละลายของไอออนแต่ละชนิดและสารละลายที่มีไอออนเหล่านี้อยู่รวมกัน นอกจากนี้ข้อมูลของความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกยังบ่งชี้ว่าขนาดและประจุของไอออนโลหะมีอิทธิพลต่อความจุของการแลกเปลี่ยนไอออนบวกของไคโตแซนมากกว่าธรรมชาติของไอออนโลหะ