เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์...หนึ่งในน้ำพระราชหฤทัยจากใจพ่อ / ชูมานน์

By: ชูมานน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เขื่อน | เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 121 (ตุลาคม 2542) หน้า 18 - 21Summary: เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2541 ซึ่งนับเป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศ กั้นแม่น้ำป่าสักซึ่งมีความยาว 513 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด 14,520 ตารางกิโลเมตร แต่ตัวเขื่อนจะตั้งอยู่บริเวณอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เป็นเขื่อนแกนดินเหนียว และมีอาคารประกอบเขื่อน 2 แห่งคือ อาคารระบายน้ำล้น อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเค็ม และอาคารท่อระบายน้ำฉุกเฉิน (มีต่อ)Summary: อ่างเก็บน้ำมีระดับเก็บกักน้ำที่ +42.00 ม.รทก. และเก็บกักน้ำสูงสุดที่ +43.00 ม.รทก. ปริมาณน้ำเก็บกับ 785 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด 960 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสัก ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี มีชาวบ้านได้รับผลกระทบ 4 อำเภอ คือ พัฒนานิคม ท่าหลวง ชัยบาดาล และวังม่วง ทั้งนี้พื้นที่น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างเพราะว่าตัวเขื่อนไม่ใช่การกั้นระหว่างหุบเขาเช่นเขื่อนอื่นๆ มีราษฎรได้รับผลกระทบประมาณ 7,700 ครอบครัว (มีต่อ)Summary: ซึ่งทางการได้จ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินเป็นเงินถึง 8,521 ล้านบาท ทั้งนี้ได้มีการจัดพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำให้ราษฎรฟรีสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและทำกิน แต่ชาวบ้านขอรับเป็นเงินค่าชดเชยพิเศษแทน ผลกระทบอื่นๆ อาทิ ต้องสร้างทางหลวงแผ่นดินทดแทน 2 สาย โรงเรียน 4 แห่ง ถูกยุบ และ 9 แห่งต้องสร้างใหม่ 11 แห่ง ในจำนวนนี้ 3 วัดต้องถูกยุบไป แหล่งโบราณคดี 33 แห่งที่ถูกขุดกู้คืน และสร้างพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสักเพื่อรวบรวม รวมถึงสร้างทางรถไฟทดแทน (มีต่อ)Summary: แม่น้ำป่าสักเดิมที ฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอด แต่ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างประมาณ 2.2 ล้านไร่ และพื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ 3 ดครงการ ประมาณ 135,000 ไร่ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปี 2543 คือโครงการแก่งคอย-บ้านหม้อ 80,000 ไร่ โครงการพัฒนานิคม-แก่งคอย 20,000 ไร่ และโครงการพัฒนานิคม 35,500 ไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบของบริษัทที่ปรึกษา จึงถือว่าเขื่อนป่าสักเป็นตัวเสริมในขณะที่ศูนย์กลางการจัดสรรน้ำคือ กรมชลประทาน และเครือข่ายหลักคือ เขื่อนเจ้าพระยา
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2541 ซึ่งนับเป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศ กั้นแม่น้ำป่าสักซึ่งมีความยาว 513 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด 14,520 ตารางกิโลเมตร แต่ตัวเขื่อนจะตั้งอยู่บริเวณอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เป็นเขื่อนแกนดินเหนียว และมีอาคารประกอบเขื่อน 2 แห่งคือ อาคารระบายน้ำล้น อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเค็ม และอาคารท่อระบายน้ำฉุกเฉิน (มีต่อ)

อ่างเก็บน้ำมีระดับเก็บกักน้ำที่ +42.00 ม.รทก. และเก็บกักน้ำสูงสุดที่ +43.00 ม.รทก. ปริมาณน้ำเก็บกับ 785 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุด 960 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสัก ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี มีชาวบ้านได้รับผลกระทบ 4 อำเภอ คือ พัฒนานิคม ท่าหลวง ชัยบาดาล และวังม่วง ทั้งนี้พื้นที่น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างเพราะว่าตัวเขื่อนไม่ใช่การกั้นระหว่างหุบเขาเช่นเขื่อนอื่นๆ มีราษฎรได้รับผลกระทบประมาณ 7,700 ครอบครัว (มีต่อ)

ซึ่งทางการได้จ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินเป็นเงินถึง 8,521 ล้านบาท ทั้งนี้ได้มีการจัดพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำให้ราษฎรฟรีสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและทำกิน แต่ชาวบ้านขอรับเป็นเงินค่าชดเชยพิเศษแทน ผลกระทบอื่นๆ อาทิ ต้องสร้างทางหลวงแผ่นดินทดแทน 2 สาย โรงเรียน 4 แห่ง ถูกยุบ และ 9 แห่งต้องสร้างใหม่ 11 แห่ง ในจำนวนนี้ 3 วัดต้องถูกยุบไป แหล่งโบราณคดี 33 แห่งที่ถูกขุดกู้คืน และสร้างพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสักเพื่อรวบรวม รวมถึงสร้างทางรถไฟทดแทน (มีต่อ)

แม่น้ำป่าสักเดิมที ฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอด แต่ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับพื้นที่โครงการเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างประมาณ 2.2 ล้านไร่ และพื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ 3 ดครงการ ประมาณ 135,000 ไร่ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปี 2543 คือโครงการแก่งคอย-บ้านหม้อ 80,000 ไร่ โครงการพัฒนานิคม-แก่งคอย 20,000 ไร่ และโครงการพัฒนานิคม 35,500 ไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบของบริษัทที่ปรึกษา จึงถือว่าเขื่อนป่าสักเป็นตัวเสริมในขณะที่ศูนย์กลางการจัดสรรน้ำคือ กรมชลประทาน และเครือข่ายหลักคือ เขื่อนเจ้าพระยา