ไทยกับอุปสรรคในการใช้ประโยชน์จากพิมพ์เขียวมนุษย์ / สมพัฒน์ ศรีเมฆารัตน์

By: สมพัฒน์ ศรีเมฆารัตน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พันธุกรรม | พันธุศาสตร์ -- มนุษย์ In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2543) หน้า 13 - 14Summary: หลังอเมริกาและอังกฤษประกาศความสำเร็จในการลำดับรหัสพันธุกรรม ปัญหาที่น่ากังวลที่ติดตามมาก็คือ จะป้องกันการผูกขาดเทคโนโลยีและการเอาเปรียบทางเศรษฐกิจจากความรู้นี้ได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการไทยร่วมกันวางแผนเตรียมตั้งรับเรื่องนี้แล้ว ความสำเร็จดังกล่าวเป็นความสำเร็จในนามของโครงการจัดทำ (มีต่อ)Summary: แผนที่รหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human Genome Project HGP) ของสถาบันวิจัยจีโนมนุษย์แห่งชาติ (National Human Genome Research Institute-NHGRI) ภายใต้การนำของ ดร.ฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการโครงการ ความสำคัญของความสำเร็จในการลำดับพันธุกรรมและโครงสร้างยีนทั้งหมดของมนุษย์ในขั้นนี้เปรียบเสมือนกับการ (มีต่อ)Summary: มีพิมพ์เขียวหรือหนังสือเล่มหนึ่งที่สามารถบอกถึงเรื่องราวของชีวิตมนุษย์คนหนึ่งๆ เพียงแต่รอให้มนุษย์มาอ่านหาความหมายจากยีนตัวต่างๆ ที่มีอยู่ในพิมพ์เขียวหรือจีโนมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งประโยชน์ที่เห็นได้ชัดสุดคือ ความสามารถในการตรวจหาสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมต่างๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้น (มีต่อ)Summary: ความรู้ในแง่นี้จะทำให้บริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์สามารถสังเคราะห์ยาขึ้นมาใช้รักษาผู้เป็นโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้โดยตรง ซึ่งนี่กลายเป็นประเด็นถกเถียงแสดงความหวั่นเกรงกันว่า จะเกิดการกีดกันและการผูกขาดทางเทคโนโลยี ด้วยการขอจดสิทธิบัตรข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านหน่วยงานวิทยาศาสตร์การแพทย์และ (มีต่อ)Summary: ด้านพันธุกรรมของประเทศไทย มีความเป็นห่วงต่อปัญหานี้เช่นกัน ในการจัดมีเดียฟอรั่ม เพื่อพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และนักวิชาการในหัวข้อ "การถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์" เนื้อหาส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงความกังวลในเรื่อง ดร.เกรก และเซเรลา จีโนมิกส์คอร์ป ต้องการถือครองการค้นพบครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์นี้ (มีต่อ)Summary: ไว้เป็นสมบัติทางปัญญาของตน และหาทางเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลนี้ ซึ่งขัดกับความต้องการของรัฐซึ่งต้องการให้การค้นพบครั้งนี้เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ ในปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของประเทศไทย วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยาจุลชีววิทยาโมเลกุล คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (มีต่อ)Summary: เปิดเผยว่า ในส่วนที่ยากลำบากที่สุดคือ การแปรรหัสพันธุกรรมนั้น ในขณะนี้ทางไบโอเทคและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เน็คเทค) มีโครงการร่วมมือกันพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบพิเศษ เพื่อใช้ในการอ่านและถอดความหมายของรหัสพันธุกรรม นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้เตรียมการด้านบุคลากร เพื่อรองรับ (มีต่อ)Summary: เรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการไทย เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับทิศทางการศึกษา การดึงข้อมูลพันธุกรรมมาใช้เป็นประโยชน์ในส่วนของประเทศไทยก็คือ ควรคำนึงถึงสิ่งที่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุด โดยการศึกษายีนที่เป็นตัวกำหนดโรคที่คนไทยเป็นกันมากและยังไม่ทราบสาเหตุมานาน เช่น โรคไหลตาย อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการลำดับรหัส (มีต่อ)Summary: พันธุกรรมมนุษย์ได้ตามที่ผู้นำของสองชาติมหาอำนาจได้ประกาศไปนั้น เป็นเพียงเจนเนอร์เรชั่นแรกเริ่มเท่านั้น ไม่ควรหวาดวิตกจนเกินไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือการสามารถสืบค้น หายีนที่มีอยู่ในพิมพ์เขียว (มีต่อ)Summary: ทั้งหมดได้แล้วกับขั้นตอนสำคัญขั้นสุดท้ายคือ ความสามารถในการดึงยีนที่ค้นพบนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งคงต้องใช้เวลานับจากนี้ไปอีกถึงยี่สิบปี
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

หลังอเมริกาและอังกฤษประกาศความสำเร็จในการลำดับรหัสพันธุกรรม ปัญหาที่น่ากังวลที่ติดตามมาก็คือ จะป้องกันการผูกขาดเทคโนโลยีและการเอาเปรียบทางเศรษฐกิจจากความรู้นี้ได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการไทยร่วมกันวางแผนเตรียมตั้งรับเรื่องนี้แล้ว ความสำเร็จดังกล่าวเป็นความสำเร็จในนามของโครงการจัดทำ (มีต่อ)

แผนที่รหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human Genome Project HGP) ของสถาบันวิจัยจีโนมนุษย์แห่งชาติ (National Human Genome Research Institute-NHGRI) ภายใต้การนำของ ดร.ฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการโครงการ ความสำคัญของความสำเร็จในการลำดับพันธุกรรมและโครงสร้างยีนทั้งหมดของมนุษย์ในขั้นนี้เปรียบเสมือนกับการ (มีต่อ)

มีพิมพ์เขียวหรือหนังสือเล่มหนึ่งที่สามารถบอกถึงเรื่องราวของชีวิตมนุษย์คนหนึ่งๆ เพียงแต่รอให้มนุษย์มาอ่านหาความหมายจากยีนตัวต่างๆ ที่มีอยู่ในพิมพ์เขียวหรือจีโนมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งประโยชน์ที่เห็นได้ชัดสุดคือ ความสามารถในการตรวจหาสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมต่างๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้น (มีต่อ)

ความรู้ในแง่นี้จะทำให้บริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์สามารถสังเคราะห์ยาขึ้นมาใช้รักษาผู้เป็นโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้โดยตรง ซึ่งนี่กลายเป็นประเด็นถกเถียงแสดงความหวั่นเกรงกันว่า จะเกิดการกีดกันและการผูกขาดทางเทคโนโลยี ด้วยการขอจดสิทธิบัตรข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านหน่วยงานวิทยาศาสตร์การแพทย์และ (มีต่อ)

ด้านพันธุกรรมของประเทศไทย มีความเป็นห่วงต่อปัญหานี้เช่นกัน ในการจัดมีเดียฟอรั่ม เพื่อพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และนักวิชาการในหัวข้อ "การถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์" เนื้อหาส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงความกังวลในเรื่อง ดร.เกรก และเซเรลา จีโนมิกส์คอร์ป ต้องการถือครองการค้นพบครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์นี้ (มีต่อ)

ไว้เป็นสมบัติทางปัญญาของตน และหาทางเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลนี้ ซึ่งขัดกับความต้องการของรัฐซึ่งต้องการให้การค้นพบครั้งนี้เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ ในปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของประเทศไทย วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยาจุลชีววิทยาโมเลกุล คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (มีต่อ)

เปิดเผยว่า ในส่วนที่ยากลำบากที่สุดคือ การแปรรหัสพันธุกรรมนั้น ในขณะนี้ทางไบโอเทคและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เน็คเทค) มีโครงการร่วมมือกันพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบพิเศษ เพื่อใช้ในการอ่านและถอดความหมายของรหัสพันธุกรรม นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้เตรียมการด้านบุคลากร เพื่อรองรับ (มีต่อ)

เรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการไทย เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับทิศทางการศึกษา การดึงข้อมูลพันธุกรรมมาใช้เป็นประโยชน์ในส่วนของประเทศไทยก็คือ ควรคำนึงถึงสิ่งที่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุด โดยการศึกษายีนที่เป็นตัวกำหนดโรคที่คนไทยเป็นกันมากและยังไม่ทราบสาเหตุมานาน เช่น โรคไหลตาย อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการลำดับรหัส (มีต่อ)

พันธุกรรมมนุษย์ได้ตามที่ผู้นำของสองชาติมหาอำนาจได้ประกาศไปนั้น เป็นเพียงเจนเนอร์เรชั่นแรกเริ่มเท่านั้น ไม่ควรหวาดวิตกจนเกินไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือการสามารถสืบค้น หายีนที่มีอยู่ในพิมพ์เขียว (มีต่อ)

ทั้งหมดได้แล้วกับขั้นตอนสำคัญขั้นสุดท้ายคือ ความสามารถในการดึงยีนที่ค้นพบนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งคงต้องใช้เวลานับจากนี้ไปอีกถึงยี่สิบปี