โรคหิด / วัฒนา จารณศรี

By: วัฒนา จารณศรีCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | หิด In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2542) หน้า 289 - 290Summary: หิดเกิดจากไรตัวเล็กๆ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sarcoptes scabiel var hominis (De Geer) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไรชนิดนี้จะต้องอาศัยดูดกินอยู่บริเวณพื้นผิวหนังภายนอกของคน ตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะเจาะโพรงเข้าไปอาศัยดูดกินและวางไข่อยู่ในโพรงภายใต้ผิวหนังชั้นนอก ตัวอ่อนเมื่อฟักออกจาก (มีต่อ)Summary: ไข่จะขึ้นมาหากินอยู่บริเวณพื้นผิวด้านนอกและเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย โดยมีการลอกคราบ 3ครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโต นับจากไข่ - ตัวเต็มวัยประมาณ 10วัน ตำแหน่งของหิดที่พบมากในคนคือ บริเวณง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อพับแขน ไหล่ หลัง ข้อมือ ข้อศอก ตามร่มผ้าและอวัยวะสืบพันธุ์ บริเวณผิวหนังที่เป็นจะมี (มีต่อ)Summary: ลักษณะเป็นตุ่มสีแดงนูนขึ้นมาเล็กน้อย บางครั้งจะเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ มีน้ำใสๆ ผู้ป่วยจะมีอาการคันมาก การแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคหิดโดยตรง ยาดีที่สุดสำหรับรักษาหิดคือ แกมมา เบนซิน เฮกซาคลอร์ไรด์ 1% ใช้ทาหลังอาบน้ำเสร็จทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วจึงล้างออก ยาที่นิยมใช้กับ (มีต่อ)Summary: เด็กและสตรีมีครรภ์ คือ ขี้ผึ้งกำมะถัน โดยทาที่เป็นหิดวันละ 2-3ครั้ง แต่เพื่อความแน่ใจควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรใช้ยาเอง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังอาจใช้วิธีการขูดผิวหนังบริเวณที่เป็นเพื่อตรวจดูใต้กล้องจุลทรรศน์ วิธีนี้อาจพบไข่หรือตัวไรได้ประมาณ 50% ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ผู้รักษาสามารถสั่งยาได้อย่างถูกต้อง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

หิดเกิดจากไรตัวเล็กๆ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sarcoptes scabiel var hominis (De Geer) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไรชนิดนี้จะต้องอาศัยดูดกินอยู่บริเวณพื้นผิวหนังภายนอกของคน ตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะเจาะโพรงเข้าไปอาศัยดูดกินและวางไข่อยู่ในโพรงภายใต้ผิวหนังชั้นนอก ตัวอ่อนเมื่อฟักออกจาก (มีต่อ)

ไข่จะขึ้นมาหากินอยู่บริเวณพื้นผิวด้านนอกและเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย โดยมีการลอกคราบ 3ครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโต นับจากไข่ - ตัวเต็มวัยประมาณ 10วัน ตำแหน่งของหิดที่พบมากในคนคือ บริเวณง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อพับแขน ไหล่ หลัง ข้อมือ ข้อศอก ตามร่มผ้าและอวัยวะสืบพันธุ์ บริเวณผิวหนังที่เป็นจะมี (มีต่อ)

ลักษณะเป็นตุ่มสีแดงนูนขึ้นมาเล็กน้อย บางครั้งจะเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ มีน้ำใสๆ ผู้ป่วยจะมีอาการคันมาก การแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคหิดโดยตรง ยาดีที่สุดสำหรับรักษาหิดคือ แกมมา เบนซิน เฮกซาคลอร์ไรด์ 1% ใช้ทาหลังอาบน้ำเสร็จทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วจึงล้างออก ยาที่นิยมใช้กับ (มีต่อ)

เด็กและสตรีมีครรภ์ คือ ขี้ผึ้งกำมะถัน โดยทาที่เป็นหิดวันละ 2-3ครั้ง แต่เพื่อความแน่ใจควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรใช้ยาเอง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังอาจใช้วิธีการขูดผิวหนังบริเวณที่เป็นเพื่อตรวจดูใต้กล้องจุลทรรศน์ วิธีนี้อาจพบไข่หรือตัวไรได้ประมาณ 50% ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ผู้รักษาสามารถสั่งยาได้อย่างถูกต้อง