ปาฐกถาเรื่อง เทคโนโลยี นวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ / สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

By: เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): การพัฒนาประเทศ | เทคโนโลยี | นวัตกรรม | SCI-TECH In: วิศวกรรมสาร ปีที่ 52 เล่มที่ 12 (ธันวาคม 2542) หน้า 90-94Summary: นวัตกรรมแปลจากภาษาอังกฤษว่า Innovation หมายถึง การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ให้เกิดผลทางเศรษฐกิจและสังคม คนเรานั้นจะต้องมีนวัตกรรมคือ ต้อง Innovative หรือ ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่ ยิ่งในภาวะวิกฤตยิ่งต้องการนวัตกรรม (มีต่อ)Summary: ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมกล่าวคือ ต้องปรับทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นคงต้องเล่าเป็นเรื่องเหมือนนิทาน นิยายว่า คนเราตั้งแต่เกิดขึ้นมาก็ต้องสั่งสมความรู้ขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด (มีต่อ)Summary: ซึ่งก็ต้องเข้าใจวิทยาศาสตร์ของสิ่งแวดล้อมรอบตัว อันนี้ก็คือวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้นั้นก็คือ เทคโนโลยี ความหมายของวิทยาศาสตร์นั้น หมายถึง โครงสร้างและพฤติกรรมของสรรพสิ่งในโลก คนเรามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกต การทดลอง การบันทึก การตั้งเป็นทฤษฎี บ่อเกิดของวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากคือ ความอยากเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยการทดลอง (มีต่อ)Summary: ถ้าไม่มีส่วนนี้ประเทศก็ไม่เจริญ ประเทศต้องสร้างนักวิทยาศาสตร์ ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ให้การศึกษาก็ต้องปลูกสำนึกของครูและนักเรียนให้อยากรู้ อยากหาคำตอบ ส่วนเรื่องเทคโนโลยีก็คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสมัยนี้การที่จะได้มานั้นนับวันยิ่งต้องใช้ทุนทรัพย์งบประมาณมากขึ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

นวัตกรรมแปลจากภาษาอังกฤษว่า Innovation หมายถึง การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ให้เกิดผลทางเศรษฐกิจและสังคม คนเรานั้นจะต้องมีนวัตกรรมคือ ต้อง Innovative หรือ ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่ ยิ่งในภาวะวิกฤตยิ่งต้องการนวัตกรรม (มีต่อ)

ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมกล่าวคือ ต้องปรับทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นคงต้องเล่าเป็นเรื่องเหมือนนิทาน นิยายว่า คนเราตั้งแต่เกิดขึ้นมาก็ต้องสั่งสมความรู้ขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด (มีต่อ)

ซึ่งก็ต้องเข้าใจวิทยาศาสตร์ของสิ่งแวดล้อมรอบตัว อันนี้ก็คือวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้นั้นก็คือ เทคโนโลยี ความหมายของวิทยาศาสตร์นั้น หมายถึง โครงสร้างและพฤติกรรมของสรรพสิ่งในโลก คนเรามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกต การทดลอง การบันทึก การตั้งเป็นทฤษฎี บ่อเกิดของวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากคือ ความอยากเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยการทดลอง (มีต่อ)

ถ้าไม่มีส่วนนี้ประเทศก็ไม่เจริญ ประเทศต้องสร้างนักวิทยาศาสตร์ ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ให้การศึกษาก็ต้องปลูกสำนึกของครูและนักเรียนให้อยากรู้ อยากหาคำตอบ ส่วนเรื่องเทคโนโลยีก็คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสมัยนี้การที่จะได้มานั้นนับวันยิ่งต้องใช้ทุนทรัพย์งบประมาณมากขึ้น