ดัชนีคุณภาพอากาศ / นพนภาพร พานิช

By: นพนภาพร พานิชCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พยากรณ์อากาศ | อากาศ In: สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3 ฉบับที่ 15 (ตุลาคม-ธันวาคม 2542) หน้า 12 - 27Summary: การรายงานคุณภาพอากาศ โดยทั่วไปมักจะรายงานค่าในรูปของความเข้มข้นของสารมลพิษต่อปริมาณอากาศ มีการเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพอากาศว่าอยู่ในระดับที่เกินหรือไม่เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งประชาชนทั่วไปจะทราบโดยรวมว่าหากค่าความเข้มข้นไม่เกินมาตรฐานก็จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่จะไม่ทราบว่าเป็นอันตรายในระดับมากน้อยแค่ไหน และควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร (มีต่อ)Summary: วิธีการรายงานคุณภาพอากาศอีกแบบหนึ่งจะเป็นการรายงานคุณภาพอากาศให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถจะระบุระดับของความเป็นอันตรายได้หลายระดับโดยใช้การรายงานในรูปของ ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQ) ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดทำแนวทางในการรายงานคุณภาพอากาศในรูปดัชนีคุณภาพอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อแจ้งให้ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์ของภาวะมลพิษอันเกิดจากสารมลพิษแต่ละตัว (มีต่อ)Summary: ในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศและการรายงานควรดำเนินการให้เร็วที่สุดเพื่อประชาชนจะได้หลีกเลี่ยงจากภาวะมลพิษเหล่านั้น ในประเทศไทยก็ได้มีแนวคิดในการที่จะรายงานคุณภาพอากาศในรูปของดัชนีคุณภาพอากาศมาใช้และได้มีการกำหนดค่าดัชนีคุณภาพอากาศขึ้น โดยเน้นเฉพาะกับฝุ่นขนาดเล็กก่อน เนื่องจากปัญหาฝุ่นขนาดเล็กเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร แต่ได้มีการดำเนินการรายงานค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ (มีต่อ)Summary: ในช่วงที่มีปัญหาหมอกควันอันเกิดจากไฟไหม้ป่าในประเทศอินโดนีเซียแล้วอย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรายงานค่าดัชนีคุณภาพอากาศยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน แต่ขณะนี้กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กำลังดำเนินการจัดตั้งสถานีแสดงจอภาพสำหรับการรายงานผลของคุณภาพในรูปของดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบข่าวสารข้อมูลในเรื่องคุณภาพอากาศในรูปของดัชนีคุณภาพอากาศต่อไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การรายงานคุณภาพอากาศ โดยทั่วไปมักจะรายงานค่าในรูปของความเข้มข้นของสารมลพิษต่อปริมาณอากาศ มีการเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพอากาศว่าอยู่ในระดับที่เกินหรือไม่เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งประชาชนทั่วไปจะทราบโดยรวมว่าหากค่าความเข้มข้นไม่เกินมาตรฐานก็จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่จะไม่ทราบว่าเป็นอันตรายในระดับมากน้อยแค่ไหน และควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร (มีต่อ)

วิธีการรายงานคุณภาพอากาศอีกแบบหนึ่งจะเป็นการรายงานคุณภาพอากาศให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถจะระบุระดับของความเป็นอันตรายได้หลายระดับโดยใช้การรายงานในรูปของ ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQ) ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดทำแนวทางในการรายงานคุณภาพอากาศในรูปดัชนีคุณภาพอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อแจ้งให้ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์ของภาวะมลพิษอันเกิดจากสารมลพิษแต่ละตัว (มีต่อ)

ในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศและการรายงานควรดำเนินการให้เร็วที่สุดเพื่อประชาชนจะได้หลีกเลี่ยงจากภาวะมลพิษเหล่านั้น ในประเทศไทยก็ได้มีแนวคิดในการที่จะรายงานคุณภาพอากาศในรูปของดัชนีคุณภาพอากาศมาใช้และได้มีการกำหนดค่าดัชนีคุณภาพอากาศขึ้น โดยเน้นเฉพาะกับฝุ่นขนาดเล็กก่อน เนื่องจากปัญหาฝุ่นขนาดเล็กเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร แต่ได้มีการดำเนินการรายงานค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ (มีต่อ)

ในช่วงที่มีปัญหาหมอกควันอันเกิดจากไฟไหม้ป่าในประเทศอินโดนีเซียแล้วอย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรายงานค่าดัชนีคุณภาพอากาศยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน แต่ขณะนี้กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กำลังดำเนินการจัดตั้งสถานีแสดงจอภาพสำหรับการรายงานผลของคุณภาพในรูปของดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบข่าวสารข้อมูลในเรื่องคุณภาพอากาศในรูปของดัชนีคุณภาพอากาศต่อไป