การประยุกต์เครือข่ายนิวรอลสำหรับแสดงภาวะที่ผิดปกติของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ / พิพัฒน์ ธนาภรณ์ชินพงษ์, สุพิชชา จันทรโยธา

By: พิพัฒน์ ธนาภรณ์ชินพงษ์Contributor(s): สุพิชชา จันทรโยธาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พลังงานนิวเคลียร์ In: วิศวกรรมสาร ปีที่ 53 เล่มที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2543) หน้า70-75Summary: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของเครือข่ายนิวรอลอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาเครือข่ายนิวรอลชนิด Self-Organizing Feature Maps (SOFM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แสดงฟังก์ชันที่ผิดปกติในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อันเนื่องมาจากภาวะทรานเซียนต์ที่ไม่ต้องการ แบบจำลองโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แคนดู -9 ได้ถูกใช้เป็นที่ฝึกและทดสอบความสามารถของเครือข่ายนิวรอลที่พัฒนาขึ้น พารามิเตอร์ 36 ตัวจะถูกเรียนรู้รูปแบบ (Pattern) ของแต่ละทรานเซียนต์โดยเครือข่าย SOFM และทำการพิสูจน์ว่าเป็นฟังก์ชันที่ผิดปกติอันใดที่มีอยู่ในแบบจำลอง ช่วงเวลาที่มีในการทดสอบการรู้จำคือ 5, 10 และ 15 วินาที พบว่าเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นสามารถบอกภาวะทรานเซียนต์ได้ถูกทั้งหมด ภายในช่วงเวลาการรู้จำ 15 นาที โดยทำการเปรียบเทียบ SOFM ที่เหมือนกันมากที่สุดระหว่าง SOFM อ้างอิงที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลกับ SOFM ที่ได้อย่าง real-time ในระหว่างการเกิดทรานเซียนต์ (มีต่อ)Summary: เครือข่ายนิวรอลที่พัฒนาขึ้นสามารถวิเคราะห์ชนิดของทรานเซียนต์ที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ อย่างอิสระในะระหว่างการเดินเครื่องของแบบจำลองโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แคนดู -9 ได้อย่างถูกต้องทุกชุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ควบคุมการเดินเครื่องที่สามารถทำให้ทราบถึงชนิดของการเกิดทรานเซียนต์และสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างทันกาณ์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อจำกัดในตัวโปรแกรม CASSIM ทำให้การเขียนโปรแกรมไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ดังนั้นในระหว่างนี้จึงอยู่ในระหว่างกำลังพัฒนาโปรแกรมให้มีการใช้งานที่คล่องตัวขึ้นและขยายขอบข่ายของงานให้มีการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของเครือข่ายนิวรอลอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาเครือข่ายนิวรอลชนิด Self-Organizing Feature Maps (SOFM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แสดงฟังก์ชันที่ผิดปกติในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อันเนื่องมาจากภาวะทรานเซียนต์ที่ไม่ต้องการ แบบจำลองโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แคนดู -9 ได้ถูกใช้เป็นที่ฝึกและทดสอบความสามารถของเครือข่ายนิวรอลที่พัฒนาขึ้น พารามิเตอร์ 36 ตัวจะถูกเรียนรู้รูปแบบ (Pattern) ของแต่ละทรานเซียนต์โดยเครือข่าย SOFM และทำการพิสูจน์ว่าเป็นฟังก์ชันที่ผิดปกติอันใดที่มีอยู่ในแบบจำลอง ช่วงเวลาที่มีในการทดสอบการรู้จำคือ 5, 10 และ 15 วินาที พบว่าเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นสามารถบอกภาวะทรานเซียนต์ได้ถูกทั้งหมด ภายในช่วงเวลาการรู้จำ 15 นาที โดยทำการเปรียบเทียบ SOFM ที่เหมือนกันมากที่สุดระหว่าง SOFM อ้างอิงที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลกับ SOFM ที่ได้อย่าง real-time ในระหว่างการเกิดทรานเซียนต์ (มีต่อ)

เครือข่ายนิวรอลที่พัฒนาขึ้นสามารถวิเคราะห์ชนิดของทรานเซียนต์ที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ อย่างอิสระในะระหว่างการเดินเครื่องของแบบจำลองโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แคนดู -9 ได้อย่างถูกต้องทุกชุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ควบคุมการเดินเครื่องที่สามารถทำให้ทราบถึงชนิดของการเกิดทรานเซียนต์และสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างทันกาณ์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อจำกัดในตัวโปรแกรม CASSIM ทำให้การเขียนโปรแกรมไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ดังนั้นในระหว่างนี้จึงอยู่ในระหว่างกำลังพัฒนาโปรแกรมให้มีการใช้งานที่คล่องตัวขึ้นและขยายขอบข่ายของงานให้มีการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง