การใช้ประโยชน์ขี้เลนนากุ้งเพื่อการปรับปรุงดิน / สมศักดิ์ มณีพงศ์

By: สมศักดิ์ มณีพงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): การจัดการดิน | ดิน | ขี้เลนนากุ้ง In: ดินและปุ๋ย ปีที่ 22 เล่มที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน 2543) หน้า 104-116Summary: ขี้เลนนากุ้ง เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการทำนากุ้ง สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี พืชตอบสนองต่อการใช้ขี้เลนอย่างชัดเจน การใช้ขี้เลนในอัตราไม่เกิน 5 ตัน/ไร่ สำหรับดินชุดคอหงส์ พบว่ามีแนวโน้มทำให้ฟอสฟอรัส แคลเซียม และแมกนีเซียม ในดินบนมีความเข้มข้นสูงขึ้น ในขณะที่โพแทสเซียมไม่พบแนวโน้มเช่นนั้น (มีต่อ)Summary: การใช้ขี้เลนนากุ้งยังพบว่าทำให้ดินมีความเค็มสูงขึ้น และมีความเข้มข้นของโซเดียมสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการใช้ขี้เลนนากุ้ง เพื่อการปรับปรุงดินจำเป็นต้องติดตามความเค็มของดินเป็นระยะๆ และควรใช้กับดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี ความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในขี้เลนนากุ้ง (มีต่อ)Summary: ถึงแม้จะมีอยู่สูงกว่าดินที่ใช้เพาะปลูกโดยทั่วไป เมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี ยังพบว่าความเข้มข้นยังต่ำกว่ามาก ดังนั้นจึงต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่าปุ๋ยเคมีมาก จึงจะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน ค่าใช้จ่ายในการขนส่งอาจไม่คุ้มค่า
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ขี้เลนนากุ้ง เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการทำนากุ้ง สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี พืชตอบสนองต่อการใช้ขี้เลนอย่างชัดเจน การใช้ขี้เลนในอัตราไม่เกิน 5 ตัน/ไร่ สำหรับดินชุดคอหงส์ พบว่ามีแนวโน้มทำให้ฟอสฟอรัส แคลเซียม และแมกนีเซียม ในดินบนมีความเข้มข้นสูงขึ้น ในขณะที่โพแทสเซียมไม่พบแนวโน้มเช่นนั้น (มีต่อ)

การใช้ขี้เลนนากุ้งยังพบว่าทำให้ดินมีความเค็มสูงขึ้น และมีความเข้มข้นของโซเดียมสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการใช้ขี้เลนนากุ้ง เพื่อการปรับปรุงดินจำเป็นต้องติดตามความเค็มของดินเป็นระยะๆ และควรใช้กับดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี ความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในขี้เลนนากุ้ง (มีต่อ)

ถึงแม้จะมีอยู่สูงกว่าดินที่ใช้เพาะปลูกโดยทั่วไป เมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี ยังพบว่าความเข้มข้นยังต่ำกว่ามาก ดังนั้นจึงต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่าปุ๋ยเคมีมาก จึงจะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน ค่าใช้จ่ายในการขนส่งอาจไม่คุ้มค่า