2545 อุตสาหกรรมไทย ปรับตัวอย่างไรให้แข่งขันได้ / จิรภัทร ขำญาติ

By: จิรภัทร ขำญาติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การพัฒนาอุตสาหกรรม In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม - มิถุนายน 2545) หน้า 66-70Summary: ภาคอุตสาหกรรมถือเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หากว่าอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อความต้องการของประชาชนได้ จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญยิ่งขึ้น การที่อุตสาหกรรมจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้จะต้องมีการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน (มีต่อ)Summary: โอกาสและภัยคุกคามหรือ SWOT Analysis ของแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภารกิจที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถือว่ามีความจำเป็นต่อการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่ง ในการทำ SWOT Analysis ได้แบ่งหมวดอุตสาหกรรมเป็น 2 หมวด คือ หมวดอุตสาหกรรมประกอบและอุปโภคบริโภค (มีต่อ)Summary: และหมวดอุตสาหกรรมสนับสนุนวัสดุก่อสร้างและวัตถุดิบ โดยมีหลักการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบการด้วยตนเอง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ให้แก่สถานประกอบการ และใช้สถาบันเฉพาะทางเป็นผู้ประสานงาน ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการกับภาครัฐอาทิ สถาบันอาหาร สถาบันยานยนต์ (มีต่อ)Summary: หรือสถาบันสิ่งทอ ประเด็นสำคัญของการแก้ไขปัญหานั้น คือ การแก้ไข ด้วยตนเองโดยการเพิ่มประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี การเงิน การตลาด การจัดการ หรือบุคลากร และส่วนสำคัญ ต่อมาคือ การให้รัฐเป็นผู้ช่วยเหลือในมาตรการต่างๆ เช่น โครงสร้างภาษี โดยทั้งสองส่วนนี้จะต้อง ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ภาคอุตสาหกรรมถือเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หากว่าอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อความต้องการของประชาชนได้ จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญยิ่งขึ้น การที่อุตสาหกรรมจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้จะต้องมีการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน (มีต่อ)

โอกาสและภัยคุกคามหรือ SWOT Analysis ของแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภารกิจที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถือว่ามีความจำเป็นต่อการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่ง ในการทำ SWOT Analysis ได้แบ่งหมวดอุตสาหกรรมเป็น 2 หมวด คือ หมวดอุตสาหกรรมประกอบและอุปโภคบริโภค (มีต่อ)

และหมวดอุตสาหกรรมสนับสนุนวัสดุก่อสร้างและวัตถุดิบ โดยมีหลักการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบการด้วยตนเอง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ให้แก่สถานประกอบการ และใช้สถาบันเฉพาะทางเป็นผู้ประสานงาน ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการกับภาครัฐอาทิ สถาบันอาหาร สถาบันยานยนต์ (มีต่อ)

หรือสถาบันสิ่งทอ ประเด็นสำคัญของการแก้ไขปัญหานั้น คือ การแก้ไข ด้วยตนเองโดยการเพิ่มประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี การเงิน การตลาด การจัดการ หรือบุคลากร และส่วนสำคัญ ต่อมาคือ การให้รัฐเป็นผู้ช่วยเหลือในมาตรการต่างๆ เช่น โครงสร้างภาษี โดยทั้งสองส่วนนี้จะต้อง ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน