จับตาบทบาท มว. ในอนาคตสร้างความเชื่อมั่นระดับนานาชาติพร้อมขยาย Lab เครือข่ายให้มากขึ้น / ส.วงศ์ศรีตระกูล

By: ส.วงศ์ศรีตระกูลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การพัฒนาอุตสาหกรรม | สถาบันมาตรวิทยา In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2544) หน้า 73 - 77Summary: โครงการมาตรวิทยาสัญจร นับเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญๆ ของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติที่จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงความสำคัญของการนำระบบมาตรวิทยามาเป็นเครื่องมือสำคัญตรวจวัดประสิทธิภาพของในกระบวนการผลิต ทำให้ผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศแล้วยังชี้ให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระบบมาตรวิทยากับระบบคุณภาพ ISO 9000 ที่ต้องทำคู่ขนานกันไปทั้งระบบ (มีต่อ)Summary: ซึ่งสอดคล้องตามแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน การถ่ายทอด มว.จะเริ่มที่กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เนื่องจากได้รับผลกระทบค่อนข้างมากและมีความพร้อมมากกว่า หลังจากที่กระทรวงอุตสาหกรรมแนะนำโครงการให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น SME มีการรวมตัวเป็นกลุ่มเริ่มแก้ปัญหาพื้นฐาน เช่น ปัญหาตลาด ปัญหาทางด้านบัญชีต่างๆ ได้แล้ว มว.ถึงจะเข้าไปมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ (มีต่อ)Summary: และให้ความรู้ทางด้านเทคนิค โดยสถานะของ มว.จะต้องเป็นสถาบันฯ สูงสุดที่ให้บริการ Lab ทดสอบระดับลางเพื่อที่ Lab ทดสอบจะได้ขยายบริการทดสอบเครื่องมือระดับแสนชิ้นและสร้างความเชื่อถือระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันมี Lab ให้บริการทางด้านนี้ประมาณ 10-20 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าทำให้มีการส่งเครื่องมือไปสอบเทียบยังต่างประเทศ (มีต่อ)Summary: มว. จึงเข้ามามีบทบาทในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดและทดสอบจนถึงปัจจุบัน สามารถให้บริการสอบเทียบเครื่องมือประมาณ 3,000-4,000 ชิ้น มีโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้ามาขอรับบริการประมาณ 500-600 แห่ง โดยโรงงานขนาดใหญ่ๆ ที่เข้ารับบริการได้แก่ โตชิบา ปตท. องค์การเภสัชกรรม การสื่อสารแห่งประเทศไทย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โครงการมาตรวิทยาสัญจร นับเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญๆ ของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติที่จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงความสำคัญของการนำระบบมาตรวิทยามาเป็นเครื่องมือสำคัญตรวจวัดประสิทธิภาพของในกระบวนการผลิต ทำให้ผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศแล้วยังชี้ให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระบบมาตรวิทยากับระบบคุณภาพ ISO 9000 ที่ต้องทำคู่ขนานกันไปทั้งระบบ (มีต่อ)

ซึ่งสอดคล้องตามแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน การถ่ายทอด มว.จะเริ่มที่กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เนื่องจากได้รับผลกระทบค่อนข้างมากและมีความพร้อมมากกว่า หลังจากที่กระทรวงอุตสาหกรรมแนะนำโครงการให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น SME มีการรวมตัวเป็นกลุ่มเริ่มแก้ปัญหาพื้นฐาน เช่น ปัญหาตลาด ปัญหาทางด้านบัญชีต่างๆ ได้แล้ว มว.ถึงจะเข้าไปมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ (มีต่อ)

และให้ความรู้ทางด้านเทคนิค โดยสถานะของ มว.จะต้องเป็นสถาบันฯ สูงสุดที่ให้บริการ Lab ทดสอบระดับลางเพื่อที่ Lab ทดสอบจะได้ขยายบริการทดสอบเครื่องมือระดับแสนชิ้นและสร้างความเชื่อถือระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันมี Lab ให้บริการทางด้านนี้ประมาณ 10-20 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าทำให้มีการส่งเครื่องมือไปสอบเทียบยังต่างประเทศ (มีต่อ)

มว. จึงเข้ามามีบทบาทในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดและทดสอบจนถึงปัจจุบัน สามารถให้บริการสอบเทียบเครื่องมือประมาณ 3,000-4,000 ชิ้น มีโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้ามาขอรับบริการประมาณ 500-600 แห่ง โดยโรงงานขนาดใหญ่ๆ ที่เข้ารับบริการได้แก่ โตชิบา ปตท. องค์การเภสัชกรรม การสื่อสารแห่งประเทศไทย