นโยบายการใช้ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | นโยบายพลังงาน | ถ่านหิน | เชื้อเพลิง In: นโยบายพลังงาน ฉบับที่ 48 (เมษายน-มิถุนายน 2543) หน้า 3-18Summary: ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบของสารประกอบคาร์บอน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก หรือร้อยละ 70 โดยปริมาตร และยังมีสารประกอบอื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อไอน้ำ ในประเทศไทยเรามีแหล่งสำรองถ่านหินมากกว่าน้ำนมัน และก๊าซธรรมชาติ แต่ชนิดของถ่านหินที่สำรวจพบส่วนใหญ่เป็นลิกไนต์ แหล่งที่พบมากที่สุดคือ แหล่งแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (มีต่อ)Summary: ในการกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศจะต้องคำนึงถึงหลักในการจัดหาพลังงานดังต่อไปนี้ 1.ต้องมีแหล่งสำรองพลังงานที่มีปริมาณเพียงพอและแน่นอน เพื่อความมั่นคงในการจัดหา 2.ต้องมีการกระจายแหล่งของพลังงาน และชนิดของพลังงานเพื่อลดความเสี่ยง โดยหลีกเลี่ยงการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งเดียวหรือชนิดเดียว 3.ต้องมีราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำ 4.ต้องเป็นพลังงานที่สะอาด ก่อให้เกิดมลพิษน้อย หรืออาจจะเป็นพลังงานที่ไม่สะอาด แต่มีเทคโนโลยีที่ควบคุมมลพิษได้ 5.ต้องใช้ทรัพยากรพลังงานภายในประเทศ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะสมกับคุณค่าของทรัพยากร (มีต่อ)Summary: การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะต้องพิจารณาถึงศักยภาพของแหล่งเชื้อเพลิง ความมั่นคง ในการจัดหาราคาเชื้อเพลิง และปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเชื้อเพลิง รวมถึงประเภทของโรงไฟฟ้าที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา "ถ่านหิน" จึงเป็นเชื้อเพลิงที่มีปริมาณสำรองมากกว่าเชื้อเพลิงอื่น และกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก จึงทำให้ราคาค่อนข้างต่ำ และมีเสถียรภาพ และแม้ว่าถ่านหินเองจะมีความสะอาดน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นก็ตาม แต่ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความก้าวหน้าและพิสูจน์ว่า สามารถลดมลสารจากการเผาไหม้ถ่านหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนพลังงานหมุนเวียนอื่นยังมีต้นทุนสูงอยู่มาก เหมาะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริมเท่านั้น ยังไม่สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบของสารประกอบคาร์บอน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก หรือร้อยละ 70 โดยปริมาตร และยังมีสารประกอบอื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อไอน้ำ ในประเทศไทยเรามีแหล่งสำรองถ่านหินมากกว่าน้ำนมัน และก๊าซธรรมชาติ แต่ชนิดของถ่านหินที่สำรวจพบส่วนใหญ่เป็นลิกไนต์ แหล่งที่พบมากที่สุดคือ แหล่งแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (มีต่อ)

ในการกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศจะต้องคำนึงถึงหลักในการจัดหาพลังงานดังต่อไปนี้ 1.ต้องมีแหล่งสำรองพลังงานที่มีปริมาณเพียงพอและแน่นอน เพื่อความมั่นคงในการจัดหา 2.ต้องมีการกระจายแหล่งของพลังงาน และชนิดของพลังงานเพื่อลดความเสี่ยง โดยหลีกเลี่ยงการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งเดียวหรือชนิดเดียว 3.ต้องมีราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำ 4.ต้องเป็นพลังงานที่สะอาด ก่อให้เกิดมลพิษน้อย หรืออาจจะเป็นพลังงานที่ไม่สะอาด แต่มีเทคโนโลยีที่ควบคุมมลพิษได้ 5.ต้องใช้ทรัพยากรพลังงานภายในประเทศ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะสมกับคุณค่าของทรัพยากร (มีต่อ)

การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะต้องพิจารณาถึงศักยภาพของแหล่งเชื้อเพลิง ความมั่นคง ในการจัดหาราคาเชื้อเพลิง และปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเชื้อเพลิง รวมถึงประเภทของโรงไฟฟ้าที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา "ถ่านหิน" จึงเป็นเชื้อเพลิงที่มีปริมาณสำรองมากกว่าเชื้อเพลิงอื่น และกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก จึงทำให้ราคาค่อนข้างต่ำ และมีเสถียรภาพ และแม้ว่าถ่านหินเองจะมีความสะอาดน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นก็ตาม แต่ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความก้าวหน้าและพิสูจน์ว่า สามารถลดมลสารจากการเผาไหม้ถ่านหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนพลังงานหมุนเวียนอื่นยังมีต้นทุนสูงอยู่มาก เหมาะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริมเท่านั้น ยังไม่สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ