การศึกษาเพื่อมวลชน /

บุญเรือง ศรีเหรัญ.

การศึกษาเพื่อมวลชน / บุญเรือง ศรีเหรัญ

มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วย่อมมีความเท่าเทียมกัน มีการดำเนินชีวิตเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงควรยึดถือคุณค่าของความเป็นมนุษย์เป็นที่ตั้ง ระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมาจากระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาแบบทันสมัยที่แยกตัวออกจากการเล่าเรียนแบบแผนโบราณ กิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหลายของชุมชน ชาวบ้านถูกจัดอยู่นอกระบบและถูกละเลย ขาดการสนับสนุนและพัฒนาให้ทันสมัย (มีต่อ) ในปัจจุบันการศึกษามุ่งเน้นที่จะคัดเลือกคนเพื่อการจ้างงานจึงทำให้การศึกษาเกิดความสูญเปล่า และทำให้เกิดความไขว้เขวทางวิชาการและแนวจัดการศึกษา ฉะนั้นจึงต้องมีการจำกัดทางเลือกสำหรับการจัดการศึกษาในอนาคต ย่อมต้องตั้งมุ่งเป้าหมายการจัดการศึกษาไปสู่ทรัพยากรมนุษย์ในระดับพื้นฐานและต้องคำนึงถึงพื้นฐานแวดล้อมของมนุษย์ควบคู่กันไปด้วย หลักสูตรการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กับพื้นฐานแวดล้อม (มีต่อ) และความต้องการในชีวิตของกลุ่มบุคคลเหล่านั้นแต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการตัดขาดออกจากวิชาการ ความรู้สมัยใหม่และการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก ในทางตรงกันข้ามจะประสานความรู้และวิทยาการใหม่ๆ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสามารถพึ่งตนเองได้ โรงเรียนจึงเป็นศูนย์กลางในการศึกษาในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการลงทุนทางการศึกษา มีประเด็นพิจารณาอยู่ 2ประเด็นคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาระบบเศรษฐกิจและความเป็นธรรมทางการศึกษา (มีต่อ) รัฐได้ช่วยอุดหนุนการศึกษาระดับสูง อีกสิ่งหนึ่งที่มีการเล่ากันมากคือ ปัญหาทางด้านจริยธรรมและคุณธรรมซึ่งมีความเห็นกันว่าสมควรบรรจุเนื้อหาเรื่องนี้ไว้ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ เพื่อให้ได้คนดีเป็นที่ต้องการของสังคมในปัจจุบัน แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้วเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมนั้นอาจจะสอนกันได้ระดับหนึ่ง โดยจริงแล้วเกิดจากการเรียนรู้จักตนเองและโลกการดำเนินชีวิตมากกว่าการเรียนในห้องเรียนหรือจากตำรา


SCI-TECH.
การศึกษา.