ความน่าจะเป็นของการศึกษาปฐมวัยไทย / กุลยา ตันติผลาชีวะ

By: กุลยา ตันติผลาชีวะCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): การพัฒนาการศึกษา | การศึกษา In: การศึกษาปฐมวัย ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม 2542) หน้า 9-20Summary: การพัฒนาการศึกษาปฐมวัยจากอดีตจนถึงปัจจุบันของไทย คือ มีจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นโรงเรียนอนุบาล ซึ่งหมายถึง สถานศึกษาที่ให้การดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กอายุ 3-6 ปี ทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และความเป็นวิชาการให้แก่เด็ก ส่วนการศึกษาปฐมวัยไทยตั้งแต่แรกเริ่มจะเน้นเด็กเล็กเป็นต้นมามิใช่เริ่มจากแรกเกิด ดั้งนั้นการจัดการศึกษาจึงเป็นการศึกษาในระบบสถาบัน กล่าวคือ มีสถาบันมาเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียนอนุบาล รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่สมบูรณ์ จะเห็นได้ว่าลักษณะการจัดการศึกษาไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเพียงเป็นจุดเริ่มต้น ส่วนใหญ่ยังเป็นการศึกษาอนุบาล กล่าวคือ 5 ขวบแรกเน้นการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ 5-7 ขวบ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนระดับประถมศึกษา โดยอาจจัดเป็นขั้นเตรียมเพื่อการเรียนรู้ด้วยการเริ่มอ่านคัดเขียนมากขึ้น (มีต่อ)Summary: สถาบันพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย 1. บ้าน ทำหน้าที่ให้กำเนิดให้การเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน สร้างวัฒนธรรมที่ดีให้เกิดขึ้นกับเด็กดูแลการเจริญเติบโต สุขภาพ พัฒนาการ 2. สถานบริการสุขภาพ เป็นหน่วยงานสำคัญที่ให้การดูแลทางสุขภาพของเด็กโดยประสานงานกับผู้ปกครองเด็กและโรงเรียน 3. สถานเลี้ยงเด็ก ทำหน้าที่โดยตรงในการให้การเลี้ยงดูเด็ก อาจมีให้การศึกษาบ้างเล็กน้อย 4. โรงเรียนเด็กเล็ก เป็นสถานที่ให้การเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการร่างกาย จิตใจ สังคมและภาษา 5. โรงเรียนอนุบาล เป็นสถานที่เตรียมพร้อมส่งเสริมพัฒนาการและให้การศึกษาแก่เด็ก 3-6 ขวบ 6. โรงเรียนเตรียมประถมศึกษา เป็นสถานศึกษาที่เตรียมเด็กอ่านคัดเขียน เป็นการเรียนเตรียม ป.1 เด็กควรได้เรียนรู้และขีดเขียนในอายุระหว่าง 5-7 ขวบ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การพัฒนาการศึกษาปฐมวัยจากอดีตจนถึงปัจจุบันของไทย คือ มีจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นโรงเรียนอนุบาล ซึ่งหมายถึง สถานศึกษาที่ให้การดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กอายุ 3-6 ปี ทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และความเป็นวิชาการให้แก่เด็ก ส่วนการศึกษาปฐมวัยไทยตั้งแต่แรกเริ่มจะเน้นเด็กเล็กเป็นต้นมามิใช่เริ่มจากแรกเกิด ดั้งนั้นการจัดการศึกษาจึงเป็นการศึกษาในระบบสถาบัน กล่าวคือ มีสถาบันมาเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยเฉพาะโรงเรียนอนุบาล รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่สมบูรณ์ จะเห็นได้ว่าลักษณะการจัดการศึกษาไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเพียงเป็นจุดเริ่มต้น ส่วนใหญ่ยังเป็นการศึกษาอนุบาล กล่าวคือ 5 ขวบแรกเน้นการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ 5-7 ขวบ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนระดับประถมศึกษา โดยอาจจัดเป็นขั้นเตรียมเพื่อการเรียนรู้ด้วยการเริ่มอ่านคัดเขียนมากขึ้น (มีต่อ)

สถาบันพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย 1. บ้าน ทำหน้าที่ให้กำเนิดให้การเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน สร้างวัฒนธรรมที่ดีให้เกิดขึ้นกับเด็กดูแลการเจริญเติบโต สุขภาพ พัฒนาการ 2. สถานบริการสุขภาพ เป็นหน่วยงานสำคัญที่ให้การดูแลทางสุขภาพของเด็กโดยประสานงานกับผู้ปกครองเด็กและโรงเรียน 3. สถานเลี้ยงเด็ก ทำหน้าที่โดยตรงในการให้การเลี้ยงดูเด็ก อาจมีให้การศึกษาบ้างเล็กน้อย 4. โรงเรียนเด็กเล็ก เป็นสถานที่ให้การเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการร่างกาย จิตใจ สังคมและภาษา 5. โรงเรียนอนุบาล เป็นสถานที่เตรียมพร้อมส่งเสริมพัฒนาการและให้การศึกษาแก่เด็ก 3-6 ขวบ 6. โรงเรียนเตรียมประถมศึกษา เป็นสถานศึกษาที่เตรียมเด็กอ่านคัดเขียน เป็นการเรียนเตรียม ป.1 เด็กควรได้เรียนรู้และขีดเขียนในอายุระหว่าง 5-7 ขวบ