ความสัมพันธ์ของปริมาณถุงน้ำดีก่อนการหดตัว และการหดตัวของถุงน้ำดี กับการพบนิ่วในถุงน้ำดีชนิดไม่มีอาการในผู้ป่วยเบาหวานเพศหญิงที่ไม่พึ่งอินสุลิน / จำนงค์ แก้วทับทิม, กัมมาล กุมาร ปาวา

By: จำนงค์ แก้วทับทิมContributor(s): กัมมาล กุมาร ปาวาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เบาหวาน | อินสุลิน In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2542) หน้า 53-56Summary: ในผู้ป่วยเบาหวานมักพบนิ่วในถุงน้ำดีร่วมด้วยค่อนข้างบ่อยและมักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ยังมีข้อถกเถียงด้านพยาธิ กำเนิดของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดี การศึกษาเบื้องต้นนี้เป็นแบบ descriptive cress sectional study ของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน (type # Non insulin dependent) เพศหญิงที่มารักษาที่คลินิคเบาหวานโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540 ถึง 31 มีนาคม 2541 (มีต่อ)Summary: จำนวน 74 คน ทั้งนี้ได้ใช้เครื่องอัลตราซาวด์เพื่อตรวจหาอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี พบว่ามีอุบัติการณ์เท่ากับร้อยละ 22.97 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณถุงน้ำดีก่อนการหดตัว (Fasting gall hadder volume) ที่มีขนาดใหญ่มีสัดส่วนการพบนิ่วถุงน้ำดีเป็น 2.50 เท่า เทียบกับกลุ่มที่มีขนาดถุงน้ำดีปกติ และในกลุ่มที่มีการหดตัวของถุงน้ำดีต่ำกว่ากว่าปกติ พบถุงน้ำดีมากกว่ากลุ่มที่การหดตัวมากปกติ เป็นสัดส่วน 1.74 เท่า (มีต่อ)Summary: นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยของอายุและ Body mass index (BMI) และพบว่าการพบนิ่วถุงน้ำดีในกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า ในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 60 ปี นอกจากนี้ในกลุ่มที่มี BMI มากกว่ามาตรฐาน พบนิ่วถุงน้ำดีมากกว่ากลุ่มที่มี BMI น้อยกว่ามาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี logistic regression พบว่า (มีต่อ)Summary: ปริมาตรถุงน้ำดีก่อนการหดตัวและภาวะการหดตัวของถุงน้ำดีมีผลต่อการพบนิ่วถุงน้ำดีน้อย แต่ปัจจัยด้านอายุและ BMI มีผลมากกว่า ฉะนั้นควรคำนึงตัวนิ่วถุงน้ำดีในผู้ป่วยเบาหวานเพศหญิงที่มีอายุสูงและ BMI มากกว่ามาตรฐาน และการลดน้ำหนักจึงเป็นข้อแนะนำที่สำคัญในการป้องกันนิ่วน้ำดีในผู้ป่วยเบาหวานเพศหญิง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในผู้ป่วยเบาหวานมักพบนิ่วในถุงน้ำดีร่วมด้วยค่อนข้างบ่อยและมักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ยังมีข้อถกเถียงด้านพยาธิ กำเนิดของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดี การศึกษาเบื้องต้นนี้เป็นแบบ descriptive cress sectional study ของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน (type # Non insulin dependent) เพศหญิงที่มารักษาที่คลินิคเบาหวานโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540 ถึง 31 มีนาคม 2541 (มีต่อ)

จำนวน 74 คน ทั้งนี้ได้ใช้เครื่องอัลตราซาวด์เพื่อตรวจหาอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี พบว่ามีอุบัติการณ์เท่ากับร้อยละ 22.97 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณถุงน้ำดีก่อนการหดตัว (Fasting gall hadder volume) ที่มีขนาดใหญ่มีสัดส่วนการพบนิ่วถุงน้ำดีเป็น 2.50 เท่า เทียบกับกลุ่มที่มีขนาดถุงน้ำดีปกติ และในกลุ่มที่มีการหดตัวของถุงน้ำดีต่ำกว่ากว่าปกติ พบถุงน้ำดีมากกว่ากลุ่มที่การหดตัวมากปกติ เป็นสัดส่วน 1.74 เท่า (มีต่อ)

นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยของอายุและ Body mass index (BMI) และพบว่าการพบนิ่วถุงน้ำดีในกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า ในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 60 ปี นอกจากนี้ในกลุ่มที่มี BMI มากกว่ามาตรฐาน พบนิ่วถุงน้ำดีมากกว่ากลุ่มที่มี BMI น้อยกว่ามาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี logistic regression พบว่า (มีต่อ)

ปริมาตรถุงน้ำดีก่อนการหดตัวและภาวะการหดตัวของถุงน้ำดีมีผลต่อการพบนิ่วถุงน้ำดีน้อย แต่ปัจจัยด้านอายุและ BMI มีผลมากกว่า ฉะนั้นควรคำนึงตัวนิ่วถุงน้ำดีในผู้ป่วยเบาหวานเพศหญิงที่มีอายุสูงและ BMI มากกว่ามาตรฐาน และการลดน้ำหนักจึงเป็นข้อแนะนำที่สำคัญในการป้องกันนิ่วน้ำดีในผู้ป่วยเบาหวานเพศหญิง