ประยุกต์ใช้ มอก. 18000, SA 8000 และกฏหมายความปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยในสถานประกอบการ

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม In: วิศวกรรมสาร ปีที่ 53 เล่มที่ 8 (สิงหาคม 2543) หน้า 81-84Summary: จากสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในการทำงานที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทำให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานได้ออกกฏหมายขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อมุ่งหวังให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยในการทำงานลดลง ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ผลักดันให้มีการกำหนดมาตรฐาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ (มีต่อ)Summary: ในการทำงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานให้ดียิ่งขึ้น ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ มอก. 18000 เป็นมาตรฐานที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ มีการพัฒนาระบบการจัดการ ลดปริมาณและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่ง มอก. 18000 เป็นมาตรฐานที่มีเฉพาะในประเทศไทย นอกจากนี้ มอก. 18000 ยังช่วยสร้างขวัญและกำลังใจ (มีต่อ)Summary: ให้กับพนักงานขององค์กรในกรณีเกิดเหตุต่างๆขึ้น เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นสถานประกอบการที่ดีในสายตาของหน่วยงานราชการและเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การแข่งขันกับตลาดโลก ซึ่งจะต้องมีใบรับรองต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานการค้าขายในอนาคตด้วย ส่วนมาตรฐาน SA 8000 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความ (มีต่อ)Summary: รับผิดชอบทางสังคม เน้นสิทธิของแรงงานที่พึงมีพึงได้ในทุกสาขาอาชีพ SA 8000 นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก แต่แนวโน้มในอนาคตจะต้องเร่งสร้าางความรู้จักให้เกิดขึ้นทุกสถานประกอบการ เพื่อให้สถานประกอบการของไทยเป็นที่ยอมรับและได้รับการรับรอง เพื่อผลประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจ (มีต่อ)Summary: ทางด้านการค้าโดยเฉพาะสถานประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ทางการค้าจะทวีความเข้มข้นและรุนแรงยิ่งขึ้น มาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและ SA 8000 จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความแข็งแกร่งของสถานประกอบการไทย ซึ่งหากสถานประกอบการของไทยสามารถควบคุมและ (มีต่อ)Summary: ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยได้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของการผลิตและเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่เวทีการค้าโลกได้อย่างแน่นอน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในการทำงานที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทำให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานได้ออกกฏหมายขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อมุ่งหวังให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยในการทำงานลดลง ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ผลักดันให้มีการกำหนดมาตรฐาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ (มีต่อ)

ในการทำงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานให้ดียิ่งขึ้น ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ มอก. 18000 เป็นมาตรฐานที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ มีการพัฒนาระบบการจัดการ ลดปริมาณและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่ง มอก. 18000 เป็นมาตรฐานที่มีเฉพาะในประเทศไทย นอกจากนี้ มอก. 18000 ยังช่วยสร้างขวัญและกำลังใจ (มีต่อ)

ให้กับพนักงานขององค์กรในกรณีเกิดเหตุต่างๆขึ้น เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นสถานประกอบการที่ดีในสายตาของหน่วยงานราชการและเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การแข่งขันกับตลาดโลก ซึ่งจะต้องมีใบรับรองต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานการค้าขายในอนาคตด้วย ส่วนมาตรฐาน SA 8000 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความ (มีต่อ)

รับผิดชอบทางสังคม เน้นสิทธิของแรงงานที่พึงมีพึงได้ในทุกสาขาอาชีพ SA 8000 นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก แต่แนวโน้มในอนาคตจะต้องเร่งสร้าางความรู้จักให้เกิดขึ้นทุกสถานประกอบการ เพื่อให้สถานประกอบการของไทยเป็นที่ยอมรับและได้รับการรับรอง เพื่อผลประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจ (มีต่อ)

ทางด้านการค้าโดยเฉพาะสถานประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ทางการค้าจะทวีความเข้มข้นและรุนแรงยิ่งขึ้น มาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและ SA 8000 จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความแข็งแกร่งของสถานประกอบการไทย ซึ่งหากสถานประกอบการของไทยสามารถควบคุมและ (มีต่อ)

ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยได้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของการผลิตและเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่เวทีการค้าโลกได้อย่างแน่นอน