ระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต / กนกอร ลีปรีชานนท์ ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): กนกอร ลีปรีชานนท์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ความเครียด (จิตวิทยา) | ความวิตกกังวล In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2542 ) หน้า 16-23Summary: ความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสถานการณ์ ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน และนักศึกษาหอพักก็น่าจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเครียดอันเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคณะผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับความเครียดและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาหอพัก (มีต่อ)Summary: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยส่งแบบสอบถามให้กับนักศึกษาหอพัก จำนวน 250 คน แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละของปัจจัยต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านการเรียนและสาธารณูปโภค ผลปรากฎว่านักศึกษาหอพักส่วนใหญ่มีความเครียดระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 61.20 แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่านักศึกษาหอพัก (มีต่อ)Summary: มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยร้อยละ 26.40 และพบว่านักศึกษาหอพักทั้งหมดไม่มีปัญหาด้านการเรียนแต่มีปัญหาด้านสาธารณูปโภคภายในหอพัก จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดพบว่า เพศหญิงมีความเครียดมากกว่าเพศชาย (p - value เท่ากับ 0.041) ปัจจัยทางด้านการเรียน คือสื่อการสอนที่ไม่สื่อให้เข้าใจ (p - value เท่ากับ 0.004) (มีต่อ)Summary: วิชาที่เรียนติดต่อกัน 3 ชั่วโมง โดยไม่พัก (p - value เท่ากับ 0.014 ) สภาพที่ร้อนในห้องเรียน (p - value เท่ากับ 0.018) และความไม่ถนัดในสาขาวิชาเรียน (p - value เท่ากับ 0.034) ทำให้เกิดความเครียด ส่วนปัจจัยด้านสาธารณูปโภค พบว่าปัญหาไฟฟ้าดับหรือแรงดันลดลง และความล่าช้าในการซ่อมแซมแก้ไข ทำให้เกิดความเครียด (มีต่อ)Summary: ดังนั้น ควรมีการลดความเครียดโดย การออกกำลังกาย พักผ่อน ถ้ามีปัญหาควรปรึกษากับคนที่เราไว้ใจที่สุด หรือโทรไปปรึกษากับบริการสายด่วนเพื่อสุขภาพของกรมสุขภาพจิต
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสถานการณ์ ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน และนักศึกษาหอพักก็น่าจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเครียดอันเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคณะผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับความเครียดและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาหอพัก (มีต่อ)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยส่งแบบสอบถามให้กับนักศึกษาหอพัก จำนวน 250 คน แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละของปัจจัยต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านการเรียนและสาธารณูปโภค ผลปรากฎว่านักศึกษาหอพักส่วนใหญ่มีความเครียดระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 61.20 แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่านักศึกษาหอพัก (มีต่อ)

มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยร้อยละ 26.40 และพบว่านักศึกษาหอพักทั้งหมดไม่มีปัญหาด้านการเรียนแต่มีปัญหาด้านสาธารณูปโภคภายในหอพัก จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดพบว่า เพศหญิงมีความเครียดมากกว่าเพศชาย (p - value เท่ากับ 0.041) ปัจจัยทางด้านการเรียน คือสื่อการสอนที่ไม่สื่อให้เข้าใจ (p - value เท่ากับ 0.004) (มีต่อ)

วิชาที่เรียนติดต่อกัน 3 ชั่วโมง โดยไม่พัก (p - value เท่ากับ 0.014 ) สภาพที่ร้อนในห้องเรียน (p - value เท่ากับ 0.018) และความไม่ถนัดในสาขาวิชาเรียน (p - value เท่ากับ 0.034) ทำให้เกิดความเครียด ส่วนปัจจัยด้านสาธารณูปโภค พบว่าปัญหาไฟฟ้าดับหรือแรงดันลดลง และความล่าช้าในการซ่อมแซมแก้ไข ทำให้เกิดความเครียด (มีต่อ)

ดังนั้น ควรมีการลดความเครียดโดย การออกกำลังกาย พักผ่อน ถ้ามีปัญหาควรปรึกษากับคนที่เราไว้ใจที่สุด หรือโทรไปปรึกษากับบริการสายด่วนเพื่อสุขภาพของกรมสุขภาพจิต