มาลาเรียต่อชีวิตดีดีที / สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์

By: สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ดีดีที (ยาฆ่าแมลง) In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มีนาคม - เมษายน 2543) หน้า 6-7Summary: นับแต่เรเชล คาร์สัน (Rachel Carson) นักชีววิทยาและนักอนุรักษ์รุ่นบุกเบิกชาวอเมริกัน รายงานถึงอันตรายจากสารดีดีที หรือ Dichlorodiphenyltrichloroethane (DDT)ต่อสภาพแวดล้อมสัตว์ป่าและมนุษย์เป็นครั้งแรกในหนังสือ "Silent Spring" เมื่อปี ค.ศ.1962 จนกลายเป็นตำนานประวัติศาสตร์แห่งวงการอนุรักษ์สร้างกระแสความตระหนักสั่นสะเทือนไปทั่วโลก ประเทศพัฒนาหลายประเทศก็เริ่มออกกฎหมายยกเลิกการผลิตและการใช้ดีดีที (มีต่อ)Summary: โดยที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ทยอยกันออกกฎหมายยกเลิกดีดีทีเช่นกัน อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยที่ยังคงผลิตและ/หรือใช้ดีดีที แม้ว่าจะมีการรณรงค์ผลักดันให้ประกาศยกเลิกกันมาโดยตลอด ด้วยเหตุผลทางสาธารณสุขว่าดีดีทีเป็นสารฆ่ายุงลายพาหะนำโรคมาลาเรียที่มีราคาถูกที่สุดและได้ผลดีที่สุด แต่ผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ของคนและสิ่งแวดล้อมจากดีดีทีไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในประเทศที่ใช้ดีดีทีเท่านั้น (มีต่อ)Summary: เพราะสารตกค้างจากดีดีทีถ่ายทอดตามห่วงโซ่อาหาร การส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรจากประเทศที่ใช้ดีดีที จึงส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลกโดยตรง ยิ่งกว่านั้นดีดีทียังสลายตัวได้ช้ามากในสภาพแวดล้อม กระทั่งดินในอเมริกาซึ่งเลิกใช้ดีดีทีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1972 ยังคงพบสารตกค้างอยู่ในปัจุจบันนี้ ด้วยเหตุนี้ องค์กรอนุรักษ์และองค์กรสาธารณประโยชน์หลายองค์กร จึงรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้สารเคมีร้ายแรง 12ตัว ซึ่งรวมทั้งดีดีทีกันทั่วโลก
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

นับแต่เรเชล คาร์สัน (Rachel Carson) นักชีววิทยาและนักอนุรักษ์รุ่นบุกเบิกชาวอเมริกัน รายงานถึงอันตรายจากสารดีดีที หรือ Dichlorodiphenyltrichloroethane (DDT)ต่อสภาพแวดล้อมสัตว์ป่าและมนุษย์เป็นครั้งแรกในหนังสือ "Silent Spring" เมื่อปี ค.ศ.1962 จนกลายเป็นตำนานประวัติศาสตร์แห่งวงการอนุรักษ์สร้างกระแสความตระหนักสั่นสะเทือนไปทั่วโลก ประเทศพัฒนาหลายประเทศก็เริ่มออกกฎหมายยกเลิกการผลิตและการใช้ดีดีที (มีต่อ)

โดยที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ทยอยกันออกกฎหมายยกเลิกดีดีทีเช่นกัน อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยที่ยังคงผลิตและ/หรือใช้ดีดีที แม้ว่าจะมีการรณรงค์ผลักดันให้ประกาศยกเลิกกันมาโดยตลอด ด้วยเหตุผลทางสาธารณสุขว่าดีดีทีเป็นสารฆ่ายุงลายพาหะนำโรคมาลาเรียที่มีราคาถูกที่สุดและได้ผลดีที่สุด แต่ผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ของคนและสิ่งแวดล้อมจากดีดีทีไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในประเทศที่ใช้ดีดีทีเท่านั้น (มีต่อ)

เพราะสารตกค้างจากดีดีทีถ่ายทอดตามห่วงโซ่อาหาร การส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรจากประเทศที่ใช้ดีดีที จึงส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลกโดยตรง ยิ่งกว่านั้นดีดีทียังสลายตัวได้ช้ามากในสภาพแวดล้อม กระทั่งดินในอเมริกาซึ่งเลิกใช้ดีดีทีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1972 ยังคงพบสารตกค้างอยู่ในปัจุจบันนี้ ด้วยเหตุนี้ องค์กรอนุรักษ์และองค์กรสาธารณประโยชน์หลายองค์กร จึงรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้สารเคมีร้ายแรง 12ตัว ซึ่งรวมทั้งดีดีทีกันทั่วโลก