การค้นหาภาพถ่ายทางอากาศจากคลังภาพถ่ายโดย GIS / อิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์, อนุเทพ ภาณุมาศตระกูล

By: อิทธิ ตริสริสัตยวงศ์Contributor(s): อนุเทพ ภาณุมาศตระกูลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ภาพถ่ายทางอากาศ In: วิศวกรรมสาร ฉบับ ว.ส.ท. เทคโนโลยี ปีที่ 52 เล่มที่ 11 (พฤศจิกายน 2542) หน้า 64-68Summary: ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นสภาพข้อเท็จจริงและความเป็นไปในพื้นที่ จึงเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นหน่วยงานเดียวตามกฎหมายที่มีภารกิจในการบินถ่ายภาพทางอากาศเป็นผู้เก็บรักษา และให้บริการภาพถ่ายทางอากาศแก่หน่วยงานอื่นทั้งทางด้านทหาร ภาครัฐและเอกชน แต่เนื่องจากการบินถ่ายภาพทางอากาศเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานอื่นเป็นภารกิจที่กรมแผนที่ทหารต้องดำเนินการอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปริมาณภาพที่อยู่ในพลังภาพถ่ายทางอากาศไม่น้อยกว่า 1,920,000 ภาพ (มีต่อ)Summary: ผลที่ตามมาคือเมื่อมีความจำเป็นต้องสืบค้นหาภาพถ่ายทางอากาศที่ต้องการ การค้นหาด้วยวิธีการเชิงเอกสารดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองเวลาเป็นอย่างมาก การค้นหาภาพถ่ายทางอากาศจะอาศัยกลุ่มของดัชนี (Index) ซึ่งประกอบด้วย มาตราส่วนภาพถ่าย ชื่อโครงการบินถ่ายภาพ ปีที่ทำการบินถ่ายภาพ หมายเลขแนวบิน หมายเลขม้วนฟิล์ม และหมายเลขภาพ (มีต่อ)Summary: นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าภาพถ่ายทางอากาศแต่ละภาพจะครอบคลุมพื้นที่บางส่วนบนผิวโลกอยู่ จึงทำให้เป็นดัชนีสำคัญในการค้นหาภาพถ่ายทางอากาศที่ครอบคลุมบริเวณที่สนใจได้ บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาการใช้ระบบ GIS (Geographic Information System) ในการสร้างดัชนีเชิงตำแหน่งเพื่อประกอบกับดัชนีตัวอื่น ๆ ในการค้นหาภาพถ่ายทางอากาศที่ต้องการจากคลังภาพถ่าย ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า GIS เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนา เพื่อเป็นระบบค้นหาภาพถ่ายทางอากาศ และพร้อมกันนี้ยังได้เสนอแนวทางการผนวก GIS กับเทคโนโลยีสารนิเทศอื่น ๆ เพื่อพัฒนาให้เป็นระบบให้บริการภาพถ่ายทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้ในวงกว้างต่อไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นสภาพข้อเท็จจริงและความเป็นไปในพื้นที่ จึงเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นหน่วยงานเดียวตามกฎหมายที่มีภารกิจในการบินถ่ายภาพทางอากาศเป็นผู้เก็บรักษา และให้บริการภาพถ่ายทางอากาศแก่หน่วยงานอื่นทั้งทางด้านทหาร ภาครัฐและเอกชน แต่เนื่องจากการบินถ่ายภาพทางอากาศเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานอื่นเป็นภารกิจที่กรมแผนที่ทหารต้องดำเนินการอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปริมาณภาพที่อยู่ในพลังภาพถ่ายทางอากาศไม่น้อยกว่า 1,920,000 ภาพ (มีต่อ)

ผลที่ตามมาคือเมื่อมีความจำเป็นต้องสืบค้นหาภาพถ่ายทางอากาศที่ต้องการ การค้นหาด้วยวิธีการเชิงเอกสารดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองเวลาเป็นอย่างมาก การค้นหาภาพถ่ายทางอากาศจะอาศัยกลุ่มของดัชนี (Index) ซึ่งประกอบด้วย มาตราส่วนภาพถ่าย ชื่อโครงการบินถ่ายภาพ ปีที่ทำการบินถ่ายภาพ หมายเลขแนวบิน หมายเลขม้วนฟิล์ม และหมายเลขภาพ (มีต่อ)

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าภาพถ่ายทางอากาศแต่ละภาพจะครอบคลุมพื้นที่บางส่วนบนผิวโลกอยู่ จึงทำให้เป็นดัชนีสำคัญในการค้นหาภาพถ่ายทางอากาศที่ครอบคลุมบริเวณที่สนใจได้ บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาการใช้ระบบ GIS (Geographic Information System) ในการสร้างดัชนีเชิงตำแหน่งเพื่อประกอบกับดัชนีตัวอื่น ๆ ในการค้นหาภาพถ่ายทางอากาศที่ต้องการจากคลังภาพถ่าย ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า GIS เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนา เพื่อเป็นระบบค้นหาภาพถ่ายทางอากาศ และพร้อมกันนี้ยังได้เสนอแนวทางการผนวก GIS กับเทคโนโลยีสารนิเทศอื่น ๆ เพื่อพัฒนาให้เป็นระบบให้บริการภาพถ่ายทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้ในวงกว้างต่อไป