ความคืบหน้าและการเตรียมตัวสำหรับมาตรฐาน ISO 9000 : 2000 (Progress and Preparation for ISO 9000 : 2000 Standards) / สุจริต คุณธนกุลวงศ์

By: สุจริต คุณธนกุลวงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | มาตรฐานการผลิต | ISO 9000 In: วิศวกรรมสาร ปีที่ 53 เล่มที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2543) หน้า8-41Summary: การพัฒนามาตรฐานอนุกรม ISO 9000 สำหรับปี 2000 นี้มีขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมด 7 ขั้นตอนตามที่กำหนดไว้ และมีแรงผลักดันให้สามารถประยุกต์ใช้งานมาตรฐานดังกล่าวให้ทันในปี ค.ศ. 2000 นี้ เนื้อหาของมาตรฐานใหม่เน้นความเป็นกระบวนการ บทบาทของผู้บริหารและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนั้นก็พยายามที่จะลดภาระการเขียนคู่มือให้เหลือเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะมีการตรวจประเมินระบบ ISO 9000 และ ISO 14000 ในเกณฑ์เดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อน (มาตรฐาน ISO 19011) จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้มาตรฐานในฐานะต่าง ๆ สมควรติดตามและทำความเข้าใจ เพื่อมาปรับปรุงระบบงานที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อกำหนดใหม่แนวโน้มของการพัฒนาเฉพาะธุรกิจ (Sectroial Standard) โดยมีมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน QS 9000 TL 2000 หรือกลุ่มเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น (มีต่อ)Summary: หลังจากออกมาตรฐาน ISO 9000 : 2000 นี้อย่างเป็นทางการแล้วจึงควรติดตามและเตรียมพร้อมกับคลื่นของความเป็นโลกาภิวัฒน์ต่อธุรกิจของตนเองให้ดี การประชุมคณะกรรมการวิชาการชุดที่ 176 ทำให้เป็นกระบวนการจัดทำมาตรฐาน บทบาทของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ของประเทศอื่น และระหว่างประเทศเช่น กลุ่มจัดทำมาตรฐาน กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มนโยบายในการร่วมกันถกเถียงเพื่อหาจุดที่ตกลงกันได้ ซึ่งแน่นอนแต่ละกลุ่มก็มีความเข้าใจ ความสามารถในการทำ และผลประโยชน์ที่ต้องดูแลอยู่ เมื่อบทบาท WTO มีมากขึ้นในระบบการค้าระหว่างประเทศ ระบบการกำหนดมาตรฐานจะมีความสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวให้มากขึ้น (มีต่อ)Summary: ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวจะกลับมาส่งผลต่ออุตสาหกรรมตนเองในระยะยาวอย่างแน่นอน บทบาทของภาคอุตสาหกรรมไทยในขณะนี้จึงควรติดตามการปรับปรุงมาตรฐาน ศึกษาทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง ให้ข้อคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับจังหวัด ประเทศ และระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมกับสมาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง และจัดทำเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข่าวสาร พร้อมทั้งเผยแพร่ข่าวสารให้กับสมาชิกและพนักงานของตนเองเป็นประจำ เพื่อความพร้อมในการปรับระบบงานให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ได้อย่างราบรื่น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การพัฒนามาตรฐานอนุกรม ISO 9000 สำหรับปี 2000 นี้มีขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมด 7 ขั้นตอนตามที่กำหนดไว้ และมีแรงผลักดันให้สามารถประยุกต์ใช้งานมาตรฐานดังกล่าวให้ทันในปี ค.ศ. 2000 นี้ เนื้อหาของมาตรฐานใหม่เน้นความเป็นกระบวนการ บทบาทของผู้บริหารและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนั้นก็พยายามที่จะลดภาระการเขียนคู่มือให้เหลือเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะมีการตรวจประเมินระบบ ISO 9000 และ ISO 14000 ในเกณฑ์เดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อน (มาตรฐาน ISO 19011) จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้มาตรฐานในฐานะต่าง ๆ สมควรติดตามและทำความเข้าใจ เพื่อมาปรับปรุงระบบงานที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อกำหนดใหม่แนวโน้มของการพัฒนาเฉพาะธุรกิจ (Sectroial Standard) โดยมีมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน QS 9000 TL 2000 หรือกลุ่มเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น (มีต่อ)

หลังจากออกมาตรฐาน ISO 9000 : 2000 นี้อย่างเป็นทางการแล้วจึงควรติดตามและเตรียมพร้อมกับคลื่นของความเป็นโลกาภิวัฒน์ต่อธุรกิจของตนเองให้ดี การประชุมคณะกรรมการวิชาการชุดที่ 176 ทำให้เป็นกระบวนการจัดทำมาตรฐาน บทบาทของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ของประเทศอื่น และระหว่างประเทศเช่น กลุ่มจัดทำมาตรฐาน กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มนโยบายในการร่วมกันถกเถียงเพื่อหาจุดที่ตกลงกันได้ ซึ่งแน่นอนแต่ละกลุ่มก็มีความเข้าใจ ความสามารถในการทำ และผลประโยชน์ที่ต้องดูแลอยู่ เมื่อบทบาท WTO มีมากขึ้นในระบบการค้าระหว่างประเทศ ระบบการกำหนดมาตรฐานจะมีความสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวให้มากขึ้น (มีต่อ)

ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวจะกลับมาส่งผลต่ออุตสาหกรรมตนเองในระยะยาวอย่างแน่นอน บทบาทของภาคอุตสาหกรรมไทยในขณะนี้จึงควรติดตามการปรับปรุงมาตรฐาน ศึกษาทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง ให้ข้อคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับจังหวัด ประเทศ และระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมกับสมาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง และจัดทำเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข่าวสาร พร้อมทั้งเผยแพร่ข่าวสารให้กับสมาชิกและพนักงานของตนเองเป็นประจำ เพื่อความพร้อมในการปรับระบบงานให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ได้อย่างราบรื่น