สู้ภัยร้อนหน้าแล้ง / นินนคา

By: นินนคาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ภัยธรรมชาติ | ไฟป่า | วาตภัย In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 แบับที่ 114 (มีนาคม 2542) หน้า 28-31Summary: ไฟป่า เป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่ทำลายพื้นที่ป่าได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องไม่แพ้น้ำมือมนุษย์ ซึ่งในแต่ละปีมีผืนป่าถูกไฟเผาวอดวายเป็นพื้นที่จำนวนมหาศาล การป้องกันจึงเป็นแนวทางที่จำเป็นต้องมีเพราะไม่สามารถตามดับไฟป่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ ด้วยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณจำนวนบุคลากรและประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยกรมป่าไม้มีแผนการควบคุมไฟป่า ปีงบประมาณ 2542 ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 384,532,400 สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ (มีต่อ)Summary: ได้แก่ ศูนย์ควบคุมไฟป่า 12 ศูนย์ สถานีควบคุมไฟป่า 75 สถานี ค่ายพัฒนาการควบคุมไฟป่า 2 ค่าย สำนักงานป่าไม้ 21เขต สำนักงานป่าไม้จังหวัด 66 จังหวัด ซึ่งงบประมาณนี้สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ 29,243,652 ไร่ หรือคิดเป็น 35.65% ของพื้นที่ป่าทั่วประเทศ แต่แผนการปฏิบัติงานของกรมป่าไม้คงไม่เพียงพอสำหรับการปกป้องและรักษาผืนป่าต้นน้ำสำคัญได้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากมวลชนและชุมชน โดยแก้ปัญหาไฟป่าที่ต้นเหตุ คือให้ประชาชนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อปัญหา (มีต่อ)Summary: มีวินัยและความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งเป็นขบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและใช้เวลายาวนานเป็นชั่วอายุคน นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่าของเขตรักษาพันธุ์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันท่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะชุมชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และฝึกเพื่อดูแลผืนป่าของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย นอกจากความร่วมมือจากกรมป่าไม้และประชาชนแล้ว ทางด้านกฎหมายก็มีส่วนสำคัญ คือ มีการป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ป้องกันการรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำกิน มีนโยบายรื้อฟื้นการให้สัมปทานปลูกป่าขึ้นมาใหม่ ซึ่งหากทุกฝ่ายมีส่วนช่วยกันป้องกันและแก้ไขแล้วปัญหาไฟป่าก็คงจะเป็นปัญหาที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ไฟป่า เป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่ทำลายพื้นที่ป่าได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องไม่แพ้น้ำมือมนุษย์ ซึ่งในแต่ละปีมีผืนป่าถูกไฟเผาวอดวายเป็นพื้นที่จำนวนมหาศาล การป้องกันจึงเป็นแนวทางที่จำเป็นต้องมีเพราะไม่สามารถตามดับไฟป่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ ด้วยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณจำนวนบุคลากรและประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยกรมป่าไม้มีแผนการควบคุมไฟป่า ปีงบประมาณ 2542 ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 384,532,400 สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ (มีต่อ)

ได้แก่ ศูนย์ควบคุมไฟป่า 12 ศูนย์ สถานีควบคุมไฟป่า 75 สถานี ค่ายพัฒนาการควบคุมไฟป่า 2 ค่าย สำนักงานป่าไม้ 21เขต สำนักงานป่าไม้จังหวัด 66 จังหวัด ซึ่งงบประมาณนี้สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ 29,243,652 ไร่ หรือคิดเป็น 35.65% ของพื้นที่ป่าทั่วประเทศ แต่แผนการปฏิบัติงานของกรมป่าไม้คงไม่เพียงพอสำหรับการปกป้องและรักษาผืนป่าต้นน้ำสำคัญได้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากมวลชนและชุมชน โดยแก้ปัญหาไฟป่าที่ต้นเหตุ คือให้ประชาชนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อปัญหา (มีต่อ)

มีวินัยและความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งเป็นขบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและใช้เวลายาวนานเป็นชั่วอายุคน นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่าของเขตรักษาพันธุ์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันท่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะชุมชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และฝึกเพื่อดูแลผืนป่าของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย นอกจากความร่วมมือจากกรมป่าไม้และประชาชนแล้ว ทางด้านกฎหมายก็มีส่วนสำคัญ คือ มีการป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ป้องกันการรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำกิน มีนโยบายรื้อฟื้นการให้สัมปทานปลูกป่าขึ้นมาใหม่ ซึ่งหากทุกฝ่ายมีส่วนช่วยกันป้องกันและแก้ไขแล้วปัญหาไฟป่าก็คงจะเป็นปัญหาที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป