เพิ่มผลผลิตด้วยการลดเสียงดัง / วิฑูรย์ สิมะโชคดี

By: วิฑูรย์ สิมะโชคดีCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เสียง | มลพิษทางเสียง In: วิศวกรรมสาร ปีที่ 54 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2544) หน้า 70Summary: เสียงดัง (Noise) หมายถึงเสียงที่ไม่พึงปรารถนา ซึ่งเป็นอันตรายต่อการได้ยิน(หู) และมีผลต่อสุขภาพของคนในด้านอื่นๆด้วย เสียงที่ดังเกินควรจะทำให้สูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน สร้างความเครียดต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะระบบการทำงานของหัวใจ ผลกระทบต่อสุขภาพจากเสียงดังส่วนใหญ่จะไม่มีทางรักษาได้ ซึ่งอันตรายจากเสียงดังขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ 1. ระดับความดัง 2. ระยะเวลาในการสัมผัสเสียง ผลกระทบของเสียงดังมิใช่เพียงการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินเท่านั้น แต่มีผลกระทบอื่นๆด้วย เช่น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หลอดเลือดตีบเล็กลง การหลั่งฮอร์โมนประเภทต่างๆผิดปกติ การยืดหดตัวของกล้ามเนื้อแปรปรวน ทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตทั้งสิ้น (มีต่อ)Summary: ฉะนั้นการควบคุมเสียงดังอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและจิตใจแก่ผู้ปฏิบัติงานแล้ว ยังจะเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตโดยรวมแก่องค์กรด้วย การควบคุมและลดเสียงดังที่ได้ผลมี 3 วิธี ได้แก่ 1. การกำจัดหรือลดเสียงดังที่ต้นตอหรือแหล่งกำเนิดเสียงดัง 2. การเพิ่มระยะห่างระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับแหล่งกำเนิดเสียงดัง 3. การให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ที่อุดหูลดเสียง เป็นต้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เสียงดัง (Noise) หมายถึงเสียงที่ไม่พึงปรารถนา ซึ่งเป็นอันตรายต่อการได้ยิน(หู) และมีผลต่อสุขภาพของคนในด้านอื่นๆด้วย เสียงที่ดังเกินควรจะทำให้สูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน สร้างความเครียดต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะระบบการทำงานของหัวใจ ผลกระทบต่อสุขภาพจากเสียงดังส่วนใหญ่จะไม่มีทางรักษาได้ ซึ่งอันตรายจากเสียงดังขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ 1. ระดับความดัง 2. ระยะเวลาในการสัมผัสเสียง ผลกระทบของเสียงดังมิใช่เพียงการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินเท่านั้น แต่มีผลกระทบอื่นๆด้วย เช่น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หลอดเลือดตีบเล็กลง การหลั่งฮอร์โมนประเภทต่างๆผิดปกติ การยืดหดตัวของกล้ามเนื้อแปรปรวน ทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตทั้งสิ้น (มีต่อ)

ฉะนั้นการควบคุมเสียงดังอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและจิตใจแก่ผู้ปฏิบัติงานแล้ว ยังจะเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตโดยรวมแก่องค์กรด้วย การควบคุมและลดเสียงดังที่ได้ผลมี 3 วิธี ได้แก่ 1. การกำจัดหรือลดเสียงดังที่ต้นตอหรือแหล่งกำเนิดเสียงดัง 2. การเพิ่มระยะห่างระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับแหล่งกำเนิดเสียงดัง 3. การให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ที่อุดหูลดเสียง เป็นต้น