โครงการในพระราชดำริ / ชาติบุตร บุณยะจิตติ

By: ชาติบุตร บุณยะจิตติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 120 (กันยายน 2542) หน้า 8-10Summary: โครงการพระราชดำริส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่พสกนิกรในลักษณะสังคมสงเคราะห์ ต่อมาโครงการมีลักษณะผสมผสาน ทรงดำเนินงานในด้านต่างๆ เข้าด้วยกันและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้ประกาศใช้ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2524 เพื่อให้แผนงานทั้งหลายดำเนินอย่างสอดคล้องกัน โดยมีองค์กรกลางประสานงานดครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ (มีต่อ)Summary: กปร. มีหน้าที่ดำเนินการควบคุม กำกับดูแลและประสานการดำเนินงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่คณะกรรมการและคณะทำงานในการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งพิจารณาอนุมัติกิจกรรมและงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการ แนวพระราชดำริที่สำคัญ คือ ทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้าทดลองเพื่อหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชเพื่อการปรับปรุงและพืชสมุนไพร (มีต่อ)Summary: ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช รวมทั้งพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ในราคาถูกและใช้เทคโนโลยีที่ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ อย่างไรก็ตามทรงมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องป่าไม้ ทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาป่าไม้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม จากแนวพระราชดำริของพระองค์ก่อให้เกิดโครงการพัฒนาและปรับปรุงป่าไม้ โดยเฉพาะป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อป้องกันอุทกภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นและใช้ในการเกษตรต่อไป (มีต่อ)Summary: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือว่าน้ำเป็นส่วนของชีวิตคน สัตว์และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นต้นกำเนิดของความอุดมสมบูรณ์ที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตทางการเกษตร ดังพระราชดำรัสว่า "ต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำสำหรับการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น เมื่อมีน้ำเสียอย่างราษฎรก็จะไม่ละทิ้งที่อยู่" ดังนั้น โครงการพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำจึงมีมากกว่าโครงการประเภทอื่นๆ โครงการพระราชดำริสวัสดิการสังคม เป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีที่อยู่อาศัยที่ทำกิน และได้รับสั่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โครงการพระราชดำริส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่พสกนิกรในลักษณะสังคมสงเคราะห์ ต่อมาโครงการมีลักษณะผสมผสาน ทรงดำเนินงานในด้านต่างๆ เข้าด้วยกันและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้ประกาศใช้ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2524 เพื่อให้แผนงานทั้งหลายดำเนินอย่างสอดคล้องกัน โดยมีองค์กรกลางประสานงานดครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ (มีต่อ)

กปร. มีหน้าที่ดำเนินการควบคุม กำกับดูแลและประสานการดำเนินงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่คณะกรรมการและคณะทำงานในการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งพิจารณาอนุมัติกิจกรรมและงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการ แนวพระราชดำริที่สำคัญ คือ ทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้าทดลองเพื่อหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชเพื่อการปรับปรุงและพืชสมุนไพร (มีต่อ)

ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช รวมทั้งพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ในราคาถูกและใช้เทคโนโลยีที่ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ อย่างไรก็ตามทรงมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องป่าไม้ ทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาป่าไม้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม จากแนวพระราชดำริของพระองค์ก่อให้เกิดโครงการพัฒนาและปรับปรุงป่าไม้ โดยเฉพาะป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อป้องกันอุทกภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นและใช้ในการเกษตรต่อไป (มีต่อ)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือว่าน้ำเป็นส่วนของชีวิตคน สัตว์และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นต้นกำเนิดของความอุดมสมบูรณ์ที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตทางการเกษตร ดังพระราชดำรัสว่า "ต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำสำหรับการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น เมื่อมีน้ำเสียอย่างราษฎรก็จะไม่ละทิ้งที่อยู่" ดังนั้น โครงการพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำจึงมีมากกว่าโครงการประเภทอื่นๆ โครงการพระราชดำริสวัสดิการสังคม เป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีที่อยู่อาศัยที่ทำกิน และได้รับสั่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น