บริหารคุณภาพยุค Globalization ด้วย TQM

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การบริหารธุรกิจ | การจัดการธุรกิจ In: วิศวกรรมสาร ปีที่ 54 เล่มที่ 1 (มกราคม 2544) หน้า 50-55Summary: จากความต้องการที่จะปรับปรุงคุณภาพและผลิตภาพในองค์กร ทำให้ระบบปริหารการจัดการ Total Quality Management (TQM) เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการคุณภาพขององค์กรต่างๆ มากขึ้น ซึ่งระบบการบริหารจัดการ TQM คือ การบริหารธุรกิจโดยยึดหลักความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่ง ชำนาญ รัตนากร กรรมการบริหารผู้อำนวยการโครงการ TQM กล่าวว่า บริษัทหรือองค์กรที่จะนำ TQM มาประยุกต์ใช้มีสองลักษณะ ลักษณะแรกคือ ผู้บริหารขององค์กรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองไปถึงการดำเนินการต่างๆ ในอนาคตข้างหน้า (มีต่อ)Summary: ลักษณะที่สองคือประยุกต์ใช้ TQM เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ซึ่งจะต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำ ในการประยุกต์ใช้ TQM ในองค์กร ปัจจัยที่ใช้วัดความสำเร็จของการนำระบบการบริหารจัดการมาใช้ คือคุณภาพของผลิตภาพและบริการที่ได้ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ลดน้อยลง การตรงต่อเวลา ในการส่งมอบงาน ความปลอดภัย ทั้งของลูกค้าและผู้ให้บริการ ขวัญและกำลังใจของพนักงาน รวมทั้งคุณธรรมในการประกอบธุรกิจ (มีต่อ)Summary: ซึ่งในการนำระบบการบริหารจัดการคุณภาพ TQM มาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรนั้น ผู้บริหารระดับสูงสุดเป็นผู้ที่มีบทบาทและเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งถึงความสำเร็จของการประยุกต์ใช้ TQM ในแต่ละองค์กรและจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงขึ้น จึงต้องเร่งสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้สูงขึ้น จนสามารถแข่งขันกับการค้าเสรีได้ ทั้งนี้ผู้นำ TQM มาประยุกต์ใช้จะต้องเตรียมความพร้อมก่อน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว และที่สำคัญให้เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนในองค์กรทุกระดับส่วนร่วมในการประยุกต์ใช้ TQM ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากความต้องการที่จะปรับปรุงคุณภาพและผลิตภาพในองค์กร ทำให้ระบบปริหารการจัดการ Total Quality Management (TQM) เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการคุณภาพขององค์กรต่างๆ มากขึ้น ซึ่งระบบการบริหารจัดการ TQM คือ การบริหารธุรกิจโดยยึดหลักความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่ง ชำนาญ รัตนากร กรรมการบริหารผู้อำนวยการโครงการ TQM กล่าวว่า บริษัทหรือองค์กรที่จะนำ TQM มาประยุกต์ใช้มีสองลักษณะ ลักษณะแรกคือ ผู้บริหารขององค์กรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองไปถึงการดำเนินการต่างๆ ในอนาคตข้างหน้า (มีต่อ)

ลักษณะที่สองคือประยุกต์ใช้ TQM เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ซึ่งจะต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำ ในการประยุกต์ใช้ TQM ในองค์กร ปัจจัยที่ใช้วัดความสำเร็จของการนำระบบการบริหารจัดการมาใช้ คือคุณภาพของผลิตภาพและบริการที่ได้ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ลดน้อยลง การตรงต่อเวลา ในการส่งมอบงาน ความปลอดภัย ทั้งของลูกค้าและผู้ให้บริการ ขวัญและกำลังใจของพนักงาน รวมทั้งคุณธรรมในการประกอบธุรกิจ (มีต่อ)

ซึ่งในการนำระบบการบริหารจัดการคุณภาพ TQM มาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรนั้น ผู้บริหารระดับสูงสุดเป็นผู้ที่มีบทบาทและเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งถึงความสำเร็จของการประยุกต์ใช้ TQM ในแต่ละองค์กรและจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงขึ้น จึงต้องเร่งสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้สูงขึ้น จนสามารถแข่งขันกับการค้าเสรีได้ ทั้งนี้ผู้นำ TQM มาประยุกต์ใช้จะต้องเตรียมความพร้อมก่อน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว และที่สำคัญให้เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนในองค์กรทุกระดับส่วนร่วมในการประยุกต์ใช้ TQM ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ