ความต้องการผู้ดูแลในบ้านในมุมมองของผู้สูงอายุ เมื่อขาดความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันโดยใช้อุปกรณ์ เมธาพร เมธาพิศาล, อาคม บุญเลิศ และ เสาวนันท์ บำเรอราช

By: เมธาพร เมธาพิศาลContributor(s): อาคม บุญเลิศ | เสาวนันท์ บำเรอราชCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ผู้สูงอายุ | ผู้สูงอายุ -- การดูแล In: ศรีนครินทร์เวชสาร ปีที่ 32 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน - ธันวาคม 2560) หน้า 591 - 595Summary: การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เป็นงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเนื่องจากประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพ่ิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าอายุยืนยาวขึ้นเช่นกัน ทำให้อัตราความต้องการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันผู้ดูแลที่เป็นญาติก็มีภาระ ทำให้การจัดหาผู้ดูแลต่อความต้องการของผู้สูงอายุอาจเป็นปัญหาในอนาคต การให้ผู้สูงอายุประเมินมุมมองความต้องการผู้ดูแลจะทำให้การดูแลในอนาคตสอดคล้องกับความจำเป็นของผู้สูงอายุมากที่สุด ผู้สูงอายุได้มีการจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม (พึ่งตนเองได้) ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ดีสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมดถึงแม้ว่าจะมีโรคประจำตัวก็สามารถควบคุมได้ กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน (พึ่งตนเองได้น้อย) ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง มีโรคเรื้อรัง อาจพิการ/ทุพพลภาพบางส่วนต้องการความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันและกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง (พึ่งตนเองไม่ได้) ผู้สูงอายุที่ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ/ทุพพลภาพ ต้องการความชวยเหลือในกิจวัตรประจำวันและดูแลสุขภาพต่อเนื่อง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เป็นงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเนื่องจากประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพ่ิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าอายุยืนยาวขึ้นเช่นกัน ทำให้อัตราความต้องการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันผู้ดูแลที่เป็นญาติก็มีภาระ ทำให้การจัดหาผู้ดูแลต่อความต้องการของผู้สูงอายุอาจเป็นปัญหาในอนาคต การให้ผู้สูงอายุประเมินมุมมองความต้องการผู้ดูแลจะทำให้การดูแลในอนาคตสอดคล้องกับความจำเป็นของผู้สูงอายุมากที่สุด ผู้สูงอายุได้มีการจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม (พึ่งตนเองได้) ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ดีสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมดถึงแม้ว่าจะมีโรคประจำตัวก็สามารถควบคุมได้ กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน (พึ่งตนเองได้น้อย) ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง มีโรคเรื้อรัง อาจพิการ/ทุพพลภาพบางส่วนต้องการความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันและกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง (พึ่งตนเองไม่ได้) ผู้สูงอายุที่ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ/ทุพพลภาพ ต้องการความชวยเหลือในกิจวัตรประจำวันและดูแลสุขภาพต่อเนื่อง