ย้อนเวลาหาน้ำแม่ข่าในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ แม่น้ำปิงสายเก่า-สายใหม่ และระบบการจัดการน้ำในบริเวณเมืองเชียงใหม่สมัยโบราณ : Finding Kha River in Chiang Mai Tradional Folk Legend, New and Old Courses of Ping River, and Water Management System in Ancient Chiang Mai City Area ไกรสิน อุ่นใจจิตต์

By: ไกรสิน อุ่นใจจิตต์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น | เชียงใหม่ | การจัดการน้ำ In: ศิลปากร ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 (มีนาคม - เมษายน) หน้า 5 - 15Summary: เมืองเชียงใหม่อดีตเมืองหลวงศูนย์กลางของ ราชอาณาจักรล้านนา ถือเป็นหลักฐานการสร้างบ้านแปงเมืองในระยะประวัติศาสตร์ของผู้ปกครองกลุ่มคนไท (ย) ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา โดยก่อนหน้านั้นพบหลักฐานชุมชนบ้านเมืองในระยะที่เรียกว่ากึ่งงประวัติศาสตร์ คือแคว้นสุวรรณโคมคํา โยนกนาคพันธุ์ และหิรัญนครเงินยาง ในพื้นที่แอ่งเชียงราย - เชียงแสน - พะเยา หรือเขต ลุ่มแม่น้ํากก สาย อิง และโขง และแคว้นหริภุญไชย (ระยะก่อนกลางพุทธศตวรรษที่ 17 หรือระยะก่อนอายุของจารึกอักษรมอญ/ภาษามอญของ แคว้นหริภุญไชย) ในพื้นที่แอ่งเชียงใหม่ - ลําพูนเขต ลุ่มแม่น้ําปิงและแม่น้ําสาขา ซึ่งพญามังรายกษัตริย์ แห่งแคว้นหิรัญนครเงินยาง ราชวงศ์ลวจักราช ลําดับที่ 25 ที่สามารถยกทัพมายึดเอาเมืองหริภุญไชย ไว้ได้ในพุทธศักราช 1824 โดยได้ย้ายมาสร้าง เวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองหลวง ศูนย์กลางอํานาจการปกครอง ในพุทธศักราช 1525 และพุทธศักราช 1824 ตามลําดับ ที่พิจารณาว่า เป็นสมัยประวัติศาสตร์ของล้านนา จากการพบความสอดคล้องต้องกันระหว่างหลักฐานด้านเอกสาร ทางประวัติศาสตร์กับหลักฐานด้านโบราณวัตถุและ โบราณสถานมากขึ้น ปัจจุบัน นครเชียงใหม่ที่เป็นอดีตเมืองหลวง ศูนย์กลางของราชอาณาจักรล้านนาแห่งนี้ยังคงเหลือ ร่องรอยหลักฐานด้านโบราณวัตถุสถานให้เห็นเป็นที่ ประจักษ์ต่อสายตาสาธารณชนอยู่มาก จัดเป็นเมือง ประวัติศาสตร์ที่มีการอยู่อาศัยทับซ้อนทํากิจกรรม ของคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะการรับเอาอิทธิพลทางด้าน การปกครองจากกรุงเทพตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ลงมาถึงในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบเสียหายต่อโบราณ สถานที่เป็นกําแพงเมือง - คูเมืองและวัดร้างต่างๆ ของ เมืองเชียงใหม่ จากการเปิดให้ส่วนราชการเข้ามาใช้ ประโยชน์ก่อสร้างสถานที่ราชการและเอกชนเข้ามา เช่าที่ดินในเขตโบราณสถานดังกล่าว ที่เป็นจุดเริ่มต้น ในการบุกรุกทําลายโบราณสถานตั้งแต่ก่อนสมัย พระราชบัญญัติโบราณสถานๆ จะเกิดขึ้นใน พุทธศักราช ๒๕๐๔ แม้ในปัจจุบันราคาที่ดินและ ค่าครองชีพในเขตเมืองมีราคาสูง จึงเกิดการสร้าง บ้านเช่าหรือหอพักหรืออาคารทําประโยชน์อื่น ๆในเขตโบราณสถาน ที่นับว่าจะรุกล้ําทําลายโบราณ สถานกันมากขึ้น ๆ และเกิดคดีความขึ้นโรงขึ้นศาล ตามมาทําให้โบราณสถานกําแพงเมือง คูเมืองและวัดร้าง หรือไม่ร้างของเมืองเชียงใหม่หลาย ๆ แห่งยังมีสภาพ เสื่อมโทรมและถูกบุกรุกทําลาย อันแสดงถึงระดับของ การอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์แห่งนี้ว่ายัง มีปัญหาที่รอการจัดการแก้ไข ดังตัวอย่างเรื่องระบบ การจัดการน้ําในบริเวณเมืองเชียงใหม่ ที่ยังคงเกิด ปัญหาน้ําเน่าเสียของคลองแม่ข่าและน้ําท่วมขังใน เขตชุมชนในหน้าฝนเนื่องจากระบบเส้นทางน้ําโบราณ ตื้นเขินอุดตันอัน เป็นสภาพการณ์ ที่พบเห็นและ เป็นอยู่จนชินชากันเสียแล้วในทุกวันนี้ ดังนั้นการศึกษา ถึงภูมิปัญญาของบรรพชนด้านการจัดการระบบน้ํา ที่มีมาแล้วตั้งแต่ในสมัยโบราณ จึงอาจจะเป็นแนวทาง ในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืนตลอดไป โดยเฉพาะในวาระที่เมืองเชียงใหม่จะได้รับการ ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในอนาคต
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เมืองเชียงใหม่อดีตเมืองหลวงศูนย์กลางของ ราชอาณาจักรล้านนา ถือเป็นหลักฐานการสร้างบ้านแปงเมืองในระยะประวัติศาสตร์ของผู้ปกครองกลุ่มคนไท (ย) ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา โดยก่อนหน้านั้นพบหลักฐานชุมชนบ้านเมืองในระยะที่เรียกว่ากึ่งงประวัติศาสตร์ คือแคว้นสุวรรณโคมคํา โยนกนาคพันธุ์ และหิรัญนครเงินยาง ในพื้นที่แอ่งเชียงราย - เชียงแสน - พะเยา หรือเขต ลุ่มแม่น้ํากก สาย อิง และโขง และแคว้นหริภุญไชย (ระยะก่อนกลางพุทธศตวรรษที่ 17 หรือระยะก่อนอายุของจารึกอักษรมอญ/ภาษามอญของ แคว้นหริภุญไชย) ในพื้นที่แอ่งเชียงใหม่ - ลําพูนเขต ลุ่มแม่น้ําปิงและแม่น้ําสาขา ซึ่งพญามังรายกษัตริย์ แห่งแคว้นหิรัญนครเงินยาง ราชวงศ์ลวจักราช ลําดับที่ 25 ที่สามารถยกทัพมายึดเอาเมืองหริภุญไชย ไว้ได้ในพุทธศักราช 1824 โดยได้ย้ายมาสร้าง เวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองหลวง ศูนย์กลางอํานาจการปกครอง ในพุทธศักราช 1525 และพุทธศักราช 1824 ตามลําดับ ที่พิจารณาว่า เป็นสมัยประวัติศาสตร์ของล้านนา จากการพบความสอดคล้องต้องกันระหว่างหลักฐานด้านเอกสาร ทางประวัติศาสตร์กับหลักฐานด้านโบราณวัตถุและ โบราณสถานมากขึ้น ปัจจุบัน นครเชียงใหม่ที่เป็นอดีตเมืองหลวง ศูนย์กลางของราชอาณาจักรล้านนาแห่งนี้ยังคงเหลือ ร่องรอยหลักฐานด้านโบราณวัตถุสถานให้เห็นเป็นที่ ประจักษ์ต่อสายตาสาธารณชนอยู่มาก จัดเป็นเมือง ประวัติศาสตร์ที่มีการอยู่อาศัยทับซ้อนทํากิจกรรม ของคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะการรับเอาอิทธิพลทางด้าน การปกครองจากกรุงเทพตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ลงมาถึงในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบเสียหายต่อโบราณ สถานที่เป็นกําแพงเมือง - คูเมืองและวัดร้างต่างๆ ของ เมืองเชียงใหม่ จากการเปิดให้ส่วนราชการเข้ามาใช้ ประโยชน์ก่อสร้างสถานที่ราชการและเอกชนเข้ามา เช่าที่ดินในเขตโบราณสถานดังกล่าว ที่เป็นจุดเริ่มต้น ในการบุกรุกทําลายโบราณสถานตั้งแต่ก่อนสมัย พระราชบัญญัติโบราณสถานๆ จะเกิดขึ้นใน พุทธศักราช ๒๕๐๔ แม้ในปัจจุบันราคาที่ดินและ ค่าครองชีพในเขตเมืองมีราคาสูง จึงเกิดการสร้าง บ้านเช่าหรือหอพักหรืออาคารทําประโยชน์อื่น ๆในเขตโบราณสถาน ที่นับว่าจะรุกล้ําทําลายโบราณ สถานกันมากขึ้น ๆ และเกิดคดีความขึ้นโรงขึ้นศาล ตามมาทําให้โบราณสถานกําแพงเมือง คูเมืองและวัดร้าง หรือไม่ร้างของเมืองเชียงใหม่หลาย ๆ แห่งยังมีสภาพ เสื่อมโทรมและถูกบุกรุกทําลาย อันแสดงถึงระดับของ การอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์แห่งนี้ว่ายัง มีปัญหาที่รอการจัดการแก้ไข ดังตัวอย่างเรื่องระบบ การจัดการน้ําในบริเวณเมืองเชียงใหม่ ที่ยังคงเกิด ปัญหาน้ําเน่าเสียของคลองแม่ข่าและน้ําท่วมขังใน เขตชุมชนในหน้าฝนเนื่องจากระบบเส้นทางน้ําโบราณ ตื้นเขินอุดตันอัน เป็นสภาพการณ์ ที่พบเห็นและ เป็นอยู่จนชินชากันเสียแล้วในทุกวันนี้ ดังนั้นการศึกษา ถึงภูมิปัญญาของบรรพชนด้านการจัดการระบบน้ํา ที่มีมาแล้วตั้งแต่ในสมัยโบราณ จึงอาจจะเป็นแนวทาง ในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืนตลอดไป โดยเฉพาะในวาระที่เมืองเชียงใหม่จะได้รับการ ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในอนาคต