ผลการปลูกยางพาราต่อสมบัติอุทกวิทยาดินบางประการในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยชายฝั่งทะเลตะวันออก จังหวัดระยอง สุภัทรา ถึกสถิตย์ และ วีนัส ต่วนเครือ

By: สุภัทรา ถึกสถิตย์Contributor(s): วีนัส ต่วนเครือCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ยางพารา In: วนศาสตร์ไทย ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2563) หน้า 135 - 146Summary: ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นอันดับสองของดลกรองจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ทีึ่ดินจากรูปแบบอื่น ๆ เพื่อนำมาเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทยในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ซึ่งจังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีการปลูกยางพารามากที่สุด โดยพื้นที่การปลูกยางพาราที่ขยายมากขึ้นนั้นสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสมบัติดินโดยเฉพาะสมบัติอุทกวิทยาของดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการซึมน้ำ การกักเก็บน้ำไว้ในดิน และการปลดปล่อยน้ำลงสู่ลำธาร อันส่งผลต่อเนื่องไปสู่ปริมาณน้ำท่า ช่วงเวลาการไหลของน้ำท่า และคุณภาพน้ำของท่าน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำนั้น ๆ ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภคทรัพยากรน้ำในด้านต่าง ๆ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งที่มีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นอันดับสองของดลกรองจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ทีึ่ดินจากรูปแบบอื่น ๆ เพื่อนำมาเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทยในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ซึ่งจังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีการปลูกยางพารามากที่สุด โดยพื้นที่การปลูกยางพาราที่ขยายมากขึ้นนั้นสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสมบัติดินโดยเฉพาะสมบัติอุทกวิทยาของดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการซึมน้ำ การกักเก็บน้ำไว้ในดิน และการปลดปล่อยน้ำลงสู่ลำธาร อันส่งผลต่อเนื่องไปสู่ปริมาณน้ำท่า ช่วงเวลาการไหลของน้ำท่า และคุณภาพน้ำของท่าน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำนั้น ๆ ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภคทรัพยากรน้ำในด้านต่าง ๆ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งที่มีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน