แม่ละเรียง-เดะปูโหนะ กะเหรี่ยงสาละวิน สุชาดา ลิมป์

By: สุชาดา ลิมป์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): กลุ่มชาติพันธุ์Genre/Form: กะเหรี่ยง In: สารคดี ฉบับที่ 436 (กรกฎาคม 2564) หน้า 35-71Summary: กะเหรี่ยง หรือปกาเกอญอ เป็นชาวเขาที่มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มชาวเขาในประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นคนกลุ่มที่อาศัย อยู่ในพื้นที่ประเทศไทยมานานหลายร้อยปี ดังปรากฏในตำนานหลาย ๆ เรื่องที่กล่าวถึงชนพื้นเมืองดั้งเดิม ทั้งลัวะและยางหรือกะเหรี่ยงในภาคเหนือ ชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มคนที่รักความสงบ ผูกพันกับธรรมชาติและไม่ชอบการต่อสู้หรือความรุนแรง ในอดีตชาวกะเหรี่ยงจึงมักหลีกเลี่ยงที่จะไม่ข้องเกี่ยวกับคนภายนอกชุมชนของตนและมักตั้งหมู่บ้านอยู่ห่างไกลชุมชนอื่น ชาวกะเหรี่ยงพูดภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้มากในประเทศไทย คือ ภาษากะเหรี่ยงโปวและภาษากะเหรี่ยงสะกอซึ่งแม้จะเป็นกะเหรี่ยงเหมือนกันแต่ไม่สามารถเข้าใจ กันได้ทั้งหมด เพราะทั้งสองภาษามีความแตกต่างกันในเรื่องระบบเสียงและคำศัพท์ค่อนข้างมาก นักภาษาศาสตร์จึงจัดเป็นคนละภาษา ชาวกะเหรี่ยงแบ่งตามภาษาที่พูดเป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ 1.กะเหรี่ยงโปว 2.กะเหรี่ยงสะกอ 3.กะเหรี่ยงบเว เรียกตัวเองว่าคยา หรือ ยางแดง 4.กะเหรี่ยงพะโอ หรือตองสู่
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

กะเหรี่ยง หรือปกาเกอญอ เป็นชาวเขาที่มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มชาวเขาในประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นคนกลุ่มที่อาศัย อยู่ในพื้นที่ประเทศไทยมานานหลายร้อยปี ดังปรากฏในตำนานหลาย ๆ เรื่องที่กล่าวถึงชนพื้นเมืองดั้งเดิม ทั้งลัวะและยางหรือกะเหรี่ยงในภาคเหนือ ชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มคนที่รักความสงบ ผูกพันกับธรรมชาติและไม่ชอบการต่อสู้หรือความรุนแรง ในอดีตชาวกะเหรี่ยงจึงมักหลีกเลี่ยงที่จะไม่ข้องเกี่ยวกับคนภายนอกชุมชนของตนและมักตั้งหมู่บ้านอยู่ห่างไกลชุมชนอื่น ชาวกะเหรี่ยงพูดภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้มากในประเทศไทย คือ ภาษากะเหรี่ยงโปวและภาษากะเหรี่ยงสะกอซึ่งแม้จะเป็นกะเหรี่ยงเหมือนกันแต่ไม่สามารถเข้าใจ
กันได้ทั้งหมด เพราะทั้งสองภาษามีความแตกต่างกันในเรื่องระบบเสียงและคำศัพท์ค่อนข้างมาก นักภาษาศาสตร์จึงจัดเป็นคนละภาษา ชาวกะเหรี่ยงแบ่งตามภาษาที่พูดเป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ 1.กะเหรี่ยงโปว 2.กะเหรี่ยงสะกอ 3.กะเหรี่ยงบเว เรียกตัวเองว่าคยา หรือ ยางแดง 4.กะเหรี่ยงพะโอ
หรือตองสู่