ความรอบรู้ด้านโภชนาการและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 / อังธนา จุลสุคนธ์

By: อังธนา จุลสุคนธ์Contributor(s): นพวรรณ เปียซื่อ | วราภรณ์ ทิพย์สุวรรณกุล | จิราพร ไลนิงเกอร์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): โภชนาการ -- ผู้สูงอายุGenre/Form: โรคเบาหวาน Online resources: บทความฉบับเต็มภาษาไทย In: สภาการพยาบาล ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2562) หน้า 120-135Summary: เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตเนื่องจากการหลั่งอินซูลินลดลงหรือความผิดปกติในกลไกการออกฤทธิ์ของอินซูลินหรือทั้งสองสาเหตุ ซึ่งจะพบว่าตับอ่อนมีเซลล์เบตาลดลง การหลั่งอินซูลินลดลงและมีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น ทำให้การนำกลูโคสออกจากกระแสเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อเป้าหมายผิดปกติ5 ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทำปฏิกิริยา non-enzymatic glycation กับโปรตีนฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงอย่างถาวรเกิดเป็น glycosylated hemoglobin หรือฮีโมโกลบิน เอวันซี (HbA1C) มากขึ้น ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้เมแทบอลิซึมของไขมันผิดปกติ มีการสลายไตรกลีเซอร์ไรด์ออกมาจากเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้นกลายเป็นกรดไขมันอิสระและกลีเซอรอลที่เพิ่มขึ้น ยับยั้งการนำกรดไขมันอิสระเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตเนื่องจากการหลั่งอินซูลินลดลงหรือความผิดปกติในกลไกการออกฤทธิ์ของอินซูลินหรือทั้งสองสาเหตุ ซึ่งจะพบว่าตับอ่อนมีเซลล์เบตาลดลง การหลั่งอินซูลินลดลงและมีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น ทำให้การนำกลูโคสออกจากกระแสเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อเป้าหมายผิดปกติ5 ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทำปฏิกิริยา non-enzymatic glycation กับโปรตีนฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงอย่างถาวรเกิดเป็น glycosylated hemoglobin หรือฮีโมโกลบิน เอวันซี (HbA1C) มากขึ้น ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้เมแทบอลิซึมของไขมันผิดปกติ มีการสลายไตรกลีเซอร์ไรด์ออกมาจากเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้นกลายเป็นกรดไขมันอิสระและกลีเซอรอลที่เพิ่มขึ้น ยับยั้งการนำกรดไขมันอิสระเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ